เข่าแทบทรุด ซื้อบ้านมือสอง แต่กลับได้หนี้ที่ไม่ได้ก่อเกือบแสน
advertisement
ในการซื้อบ้านมือสอง นอกจากเราจะต้องตรวจสอบสภาพของบ้าน และราคาที่ต้องเหมาะสมแล้ว เรายังต้องดูอีกว่า บ้านหลังนี้มีพันธะ หรือภาระผูกพันหรือไม่ ซึ่งจะต้องไม่มาเป็นภาระของเราหลังจากซื้อ
แต่สำหรับกรณีนี้ถือว่าน่าเห็นใจสุดๆ เมื่อได้ซื้อบ้าน และสอบถามอย่างแน่ใจแล้วว่าไม่มีพันธะใดๆ แต่จู่ๆกลับมีหนี้จากค่าส่วนกลาง ที่เจ้าของเก่าค้างไว้ มูลค่าเกือบแสนบาท โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ เมย์ มณี ได้เผยว่า….
advertisement
"ขออนุญาติสอบถามนะคะ พ่อบ้าน แม่บ้าน ใครเคยเจอปัญหานี่บ้างไหมคะ เราซื้อบ้านมือ 2 มา (ผ่านบริษัทนายหน้าขายบ้าน) โอนเรียบร้อยเมื่อปีที่แล้ว
ตอนทำสัญญาซื้อ วันโอน ทางบริษัทแจ้งว่าเจ้าของบ้านได้เคลียร์ในส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้อยู่ในช่วงกำลังรีโนเวทบ้าน แล้วมาวันนี้มีใบมาแปะหน้าบ้าน ว่าบ้านนี้เป็นหนี้ส่วนกลาง 100 เดือน เป็นเงิน 80,000+ ทางโครงการยืนยันว่าเราต้องเป็นผู้ชำระหนี้สินที่ค้างไว้ทั้งหมด เราควรทำยังไงดี
*หมู่บ้านนี้ไม่มีนิติบุคคล
*ตอนนี้กำลังให้บริษัทนายหน้าติดต่อเจ้าของบ้านอยู่ค่ะ"
advertisement
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
advertisement
คำพิพากษาฎีกาที่ 3188/2561
พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในชำระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและลงโทษผู้มีหนี้ที่ชำระแต่ชำระเงินดังกล่าวล่าช้าเฉพาะสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในขณะที่เกิดค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากสาธารณูปโภคดังกล่าวอย่างแท้จริงเท่านั้น โดยไม่ได้บัญญัติให้รวมไปถึงผู้รับโอนที่ดินต่อมาจากเจ้าของเดิมที่เป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้รับผิดในค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคอันเกิดก่อนที่จะได้รับโอนหรือเข้าครอบครองที่ดิน และไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้เมื่อที่ดินดังกล่าวปลอดจากหนี้อันเกิดจากค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคโดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้จากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมาแสดง เมื่อเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเกิดขึ้นก่อนโจทก์เข้าเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่ต้องชำระเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคที่เกิดขึ้นก่อนที่โจทก์รับโอนที่ดินมา จำเลยที่ 1 ผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ย่อมเรียกเอาจากเจ้าของที่ดินคนเดิมในขณะเกิดหนี้ได้โดยตรง
advertisement
เจ้าของใหม่เริ่มคิดตั้งแต่วันโอนเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้สินเดิมที่เกิดจากเจ้าของเก่า สบายใจล่วงหน้าได้เลย แต่อาจจะเสียเวลาเสียอะไรจุกจิกหน่อยถ้าถึงขั้นขึ้นศาล
advertisement
ทางด้านชาวเน็ตต่างให้ความเห็นว่าไม่ควรจ่าย เพราะไม่ใช่หนี้สินที่เราก่อ และเรามีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุวันเวลาชัดเจน
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก เมย์ มณี