เช็กด่วน จังหวัดไหนบ้าง ที่ควรหรือไม่ควรคลายล็อกเคอร์ฟิว
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/04/จังหวัด-1-1024x512.jpg)
advertisement
หลังจากที่มีมาตรการเคอร์ฟิว เพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาด ทำให้ยอดผู้ป่วยลดลงตามลำดับ ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 เม.ย. ศบค.ให้ข้อมูลระบุว่า มีผู้ป่วยเพิ่มเพียง 27 ราย สะสม 2,792 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นวันที่ 3 แล้ว ทำให้ยอดคงที่อยู่ที่ 47 ราย สถานที่ที่น่าห่วงมากสุดคือ "ตลาดนัด" โดยตอนนี้สามารถแยกแต่ละจังหวัดได้เป็น 3 กลุ่ม
advertisement
![โควิด-2](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/04/โควิด-2.png)
กลุ่ม 1 (สีขาว)จังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยในช่วง 14 วัน 32 จังหวัด ได้แก่ น่าน กำแพงเพชร พิจิตร สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท บึงกาฬ ตราด ระนอง จันทบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด สุโขทัย อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครนายก นครพนม พังงา สกลนคร สตูล หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ลพบุรี สระบุรี
กลุ่ม 2 (สีเขียว)พบผู้ป่วยในรอบ 14 วันแบบประปรายในวงจำกัดไม่เกิน 5 ราย ต่อสัปดาห์ สามารถหาความเชื่อมโยงของผู้ป่วยได้ รวม 38 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี เชียงใหม่ นราธิวาส กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พะเยา พัทลุง เพชรบุรี ระยอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สงขลา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี [ads]
และกลุ่มที่ 3 (สีแดง)จังหวัดที่พบผู้ป่วยในช่วง 14 วันย้อนหลัง แบบมีการแพร่เชื้อต่อเนื่องมากว่า 5 รายต่อสัปดาห์และไม่สามารถหาความเชื่อมโยงของผู้ป่วยได้ มี 7 จังหวัด คือ กรุงเทพ ชลบุรี นนทบุรี ภูเก็ต สมุทรปราการ ปัตตานี และยะลา
advertisement
![โควิด-3](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/04/โควิด-3-3-1024x683.jpg)
ขณะเดียวกัน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์จดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการ ศบค. ระบุรายละเอียดว่า
กราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรี จากข่าวที่รัฐได้ออกแถลงการณ์รายวันโดยนำเสนอแนวโน้มการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค COVID-19 พร้อมระบุลักษณะการจัดการระบบการผ่อนคลายรายจังหวัด ตามที่นำเสนอโดยกลุ่มนักวิชาการและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขจำนวนหนึ่งนั้น ผมขอเรียนว่า การดำเนินการตามรูปแบบดังกล่าวนั้นเร่งด่วนเกินไป และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผลกระทบตามมาอย่างรุนแรง จนอาจยากที่จะควบคุม ดังเช่นบทเรียนที่เราเห็นในสิงคโปร์และญี่ปุ่น [ads]
การที่ประเทศไทยสามารถฉุดกราฟการระบาดจาก 33% มาสู่ 8% ในวันที่ 21 เมษายนนี้ได้นั้น เพราะรัฐได้ตัดสินใจถูกต้องในการดำเนินมาตรการเข้มข้นตั้งแต่ 19 มีนาคม 2563 ภายหลังจากที่ทางโรงเรียนแพทย์ได้นำเสนอข้อมูลวิชาการ และการคาดการณ์ภาวะการระบาดให้แก่รัฐบาล ทั้งนี้เป็นไปตามหลักวิชาการที่วิเคราะห์ให้เห็นชัดว่าประเทศที่ระบาดมาก มักดำเนินการไม่ทันต่อเวลา และเกาะกราฟ 33% เช่น อเมริกา เยอรมัน อิตาลี และอื่นๆ โดยที่ในขณะนั้นการควบคุมโรคโดยหน่วยงานรัฐเป็นไปในลักษณะที่แก้เพียงปัญหาเฉพาะหน้า และไม่ได้สนับสนุนให้เกิดมาตรการที่มีประสิทธิภาพดีพอ การตัดสินใจครั้งนั้นจึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไทยเราอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมโรคได้ดีดังปัจจุบัน
advertisement
![โควิด-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/04/โควิด-1-9-745x1024.jpg)
จากการประกาศในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาว่าจะผ่อนคลายให้ประกอบกิจการต่างๆ โดยปลดล็อคแบบรายกลุ่มจังหวัดนั้นเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นธรรม และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Super-migration ของผู้คนที่จะหาทางในการทำมาหากิน และอาจเกิดจลาจลหรือความโกลาหลตามมาได้
ผมจึงขอเรียนเสนอให้ท่านโปรดพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยควรผ่อนคลายมาตรการเมื่อเราพร้อมจริงๆ เพราะหากเกิดปัญหาการระบาดระลอกสองแบบในสิงคโปร์และญี่ปุ่นแล้ว การกลับมาควบคุมใหม่จะยากขึ้นเป็นทวีคูณ
จากสถานการณ์ของประเทศไทยเราตอนนี้ เชื่อว่าจะไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าชะล่าใจ ยังไงก็ป้องกันตนเอง ไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์บ่อยๆ ที่สำคัญอย่าลืมเว้นระยะห่างทางสังคมกันด้วยนะคะ
ขอขอบคุณที่มาจาก : dailynews.co.th