เตือน!!คนนอนกรน..เสี่ยงหยุดหายใจ ขณะหลับ!!
advertisement
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย คนนอนกรน ส่งผลให้มีภาวะเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับจาก การอุดกั้น หากมีอาการรุนแรง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา
advertisement
วันนี้ (22 มีนาคม 2560) นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “วันนอนหลับโลก” (World Sleep Day) ณ ห้องประชุมใหญ่ ตึกเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 10 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ว่า อาการนอนที่เกิดในขณะหลับ เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือนของลมหายใจ ผ่านช่องทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบลงและหายใจออก และอาจจะนำไปสู่การเกิดการหยุดหายใจในขณะหลับได้ ซึ่งผู้ที่มีอาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) จะนอนกรนเสียงดัง หยุดหายใจ หายใจสะดุด หรือเฮือกสำลัก ซึ่งทำให้สมองพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ เมื่อตื่นนอนจะทำให้ไม่สดชื่น เหมือนนอนไม่อิ่ม มึนศีรษะ ระหว่างวันรู้สึกง่วงนอน อาจมีเผลอหลับ เพลีย หงุดหงิดง่าย ความจำไม่ดี ซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น มีสาเหตุจากภาวะอ้วน หรือความหย่อนของกล้ามเนื้อในช่องคอหรือโครงสร้างกระดูกใบหน้าที่เล็กผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยบางคนมีปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง[ads]
advertisement
โดยพบว่าผู้ป่วยที่ผอมก็มีอาการหยุดหายใจขณะหลับได้ อีกทั้ง การสูบบุหรี่ก็ทำให้เมือกในช่องคอเหนียวข้นมากขึ้น และการดื่มสุราทำให้กล้ามเนื้อช่องคอหย่อนขึ้น รวมถึงผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ความผิดปกติทางอารมณ์ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย เหล่านี้ล้วงเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน[ads]
“ทั้งนี้ การรักษา ต้องรับการตรวจวินิจฉัยจากห้องปฏิบัติการการนอนหลับก่อน เพื่อประเมินความรุนแรงและปัจจัยที่มีผลต่อการกรน ส่วนผู้ที่นอนกรนมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นนั้น อาจต้องใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก เพื่อลดปัญหาการอุดตันของทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นการรักษาการหายใจผิดปกติได้โดยตรง หรืออาจใช้การฝึกท่านอนให้นอนตะแคง เพราะการนอนหงายมีผลทำให้นอนกรน นอกจากนี้อาจใช้ ทันตอุปกรณ์เพื่อกันลิ้นตกหรือปรับตำแหน่งของกรามในขณะที่นอนหลับ ก็จะลดปัญหาการนอนกรนได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ขอขอบคุณข้อมูล : กรมอนามัย