เทียบชัดๆ!! นมผงกับนมกล่อง UHT อย่างไหนมีประโยชน์มากกว่าและควรให้ลูกดื่มนมกล่องตอนอายุเท่าไร?
advertisement
ความรู้เกี่ยวกับคุณแม่และเด็กโดยเฉพาะเลยค่ะ เชื่อว่าหลายๆคนต้องสงสัยว่านมแบบไหนดีที่สุดเพราะแม่ต้องหาสิ่งที่ดีให้กันลูกอยู่แล้ว แล้วยิ่งเป็นคุณแม่มือใหม่ยิ่งไม่รู้ว่าเด็กเหมาะที่จะกินนมแบบไหนและมีประโยชน์อย่างไร ถ้าเลือกแล้วไม่ถูกกับเด็กจะทำให้เด็กท้องเลยหรืไม่สบายได้ เพฉาะนั้นคุณแม่ควรต้องอ่านเรื่องนี้ แชร์จากเพจในเฟสบุ๊ค สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ไปดูรายละเอียดกันเลยดีกว่าคะ
#นมผงดีกว่านมกล่อง UHT จริงหรือ.[ads]
"นมผงกับนมกล่อง UHT อย่างไหนมีประโยชน์มากกว่าและควรให้ลูกดื่มนมกล่องตอนอายุเท่าไร"
นมที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทุกอายุคือ นมแม่ เนื่องจาก ในน้ำนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนที่จำเป็นสำหรับเด็กนำไปใช้ในการเจริญเติบโตและพัฒนาสมอง มีสารภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันการติดเชื้อ และไม่มีโปรตีนแปลกปลอมที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารต่อต้านจนเกิดเป็นโรคภูมิแพ้ในภายหลัง
ส่วนนมวัว (นมสด 100% หรือนม UHT ) มีสัดส่วนทางโภชนาการไม่เหมาะที่จะเป็นอาหารหลักสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ เนื่องจากมีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันที่มากเกินไป ลำไส้และไตของเด็กทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงย่อยและกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นไม่ไหว ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องการย่อย ท้องอืด ท้องเสีย และไตทำงานหนักเกินไป ขณะเดียวกันในนมวัวมีสารอาหารไม่ครบถ้วน เช่นธาตุเหล็ก วิตะมิน และแร่ธาตุต่างๆ และเนื่องจากเด็กยังมีความจำกัดในการย่อยอาหารชนิดอื่นๆ การให้ข้าวบดในช่วงวัยนี้จึงเป็นแค่อาหารเสริม แหล่งอาหารหลักจึงมาจากนม จึงต้องนำมาดัดแปลงลดสารบางอย่าง เพิ่มสารบางอย่าง เพื่อให้นมวัวมีสารหลักต่างๆใกล้เคียงกับที่มีอยู่ในนมแม่ เรียกว่า นมผงดัดแปลงสำหรับใช้เลี้ยงทารก
อย่างไรก็ดีความรู้ในปัจจุบัน เรายังไม่ทราบว่าในนมแม่มีสารทั้งหมดกี่ชนิด จึงยังไม่มีนมผงยี่ห้อใดในโลกที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับนมแม่ ดังนั้นหากให้นมแม่ได้ ควรให้นมแม่ให้นานที่สุด เพราะผลการวิจัยพบว่าเด็กที่ดื่มนมแม่ยิ่งนาน ยิ่งแข็งแรงและไอคิวสูง
อย่าไปเชื่อ คำพูดที่ว่า นมแม่มีประโยชน์เพียงแค่ 3 เดือน 6 เดือน แต่ควรให้นมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัย ไปได้นานเป็นเวลาหลายปี (หากสามารถให้ได้) โดยไม่ต้องมีนมวัวเข้ามาเสริมเลย จนกระทั่งนมแม่หมดไปเอง เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ที่หลังจากที่หย่านมแม่แล้ว ก็กินอาหารตามธรรมชาติของสัตว์ชนิดนั้นๆ ไม่มีการกินนมของสัตว์อื่นต่อแต่อย่างใด
#หลังอายุ 1 ขวบ เด็กทานข้าวเป็นอาหารหลัก นมลดบทบาทลง เป็นเพียงอาหารเสริม นมเป็นเพียงหนึ่งในอาหารที่ให้โปรตีนและแคลเซียม (อาหารที่ให้โปรตีนอื่นๆ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่ว อาหารที่ให้แคลเซียมอื่น ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วชนิดต่างๆ ปลาเล็กปลาน้อย ผักโขม ผักคะน้า บล็อคโคลี่ งาดำ กุ้งแห้ง) การไม่ได้กินนมวัวต่อหลังจากหย่านมแม่ เป็นเรื่องปกติจริงแท้แน่นอน เช่น คนที่กินเจ ชีวจิต มังสวิรัติ คนไทย คนจีน คนญี่ปุ่น คนลาว คนพม่า คนเขมร สมัยที่ฝรั่งยังไม่เข้ามาเผยแพร่อาหารการกินแบบตะวันตก
ถ้าใครไม่แพ้นมวัว จะกินนมวัวกล่องรสจืดไปก่อนก็ได้ ถ้าสังเกตว่าแพ้แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลืองสูตรแคลเซียมสูง และอย่าลืมว่า ไม่เน้นนมค่ะ กินแค่วันละ 15-20 ออนซ์ เน้นอาหาร 5 หมู่ 3 มื้อๆละ 10-15 ชต.
(อาการแพ้นมวัวบางครั้งดูยาก เหมือนอาการไม่สบายทั่วไป แต่ให้สงสัย ถ้าลูกเป็นบ่อยๆ เช่น น้ำมูก ไอ คัดจมูก หายใจเสียงดัง หายใจครืดคราด นอนกรน เลือดกำเดาไหล ขยี้ตา ขยี้จมูก แคะจมูก กระพริบตาบ่อยๆ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวบ่อยๆ ผื่นคันตามตัว ผื่นสากๆตามตัว ผื่นรอบปาก ผื่นตามข้อพับ เป็นต้น)
หากอยากได้สารดีเอชเอ ให้กินจากอาหารธรรมชาติ เช่น อโวคาโด ปลาน้ำจืด ปลาทะเล สาหร่าย น้ำมันคาโนล่า ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดพืช เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดแฟล็กซ์ เมล็ดเจีย เมล็ดงาดำ เมล็ดงาขาว เป็นต้น
ส่วนดีเอชเอสังเคราะห์ที่ใส่ในนมผง แล้วโฆษณาว่า ทำให้เด็กฉลาดขึ้น เป็นเรื่องไม่จริง เพราะงานวิจัยที่ทำโดยผู้ไม่มีส่วนใดส่วนเสียกับบริษัทนมผง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างนมที่ใส่และไม่ใส่สารตัวนี้
ดีเอชเอสังเคราะห์สกัดจากสาหร่าย เชื้อรา โดยสารเคมีชื่อเฮกเซน ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศ และมีรายงานผลข้างเคียงของเด็กที่กินนมผงที่ใส่สารดีเอชเอสังเคราะห์ เช่น ผื่น ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย อาเจียน ตัวเหลือง หยุดหายใจ และชัก ซึ่งอาการหายไปหลังจากที่เปลี่ยนไปเป็นนมที่ไม่มีสารตัวนี้ผสม
ดังนั้นหลัง 1 ขวบ คุณแม่ฝึกให้ลูกทานข้าวให้ได้ครบ 5 หมู่ และทานนมกล่องได้เลยค่ะ ไม่จำเป็นต้องกินนมผง จะได้ไม่ต้องไปเสี่ยงกับสารเคมีสังเคราะห์ที่ยังไม่เห็นประโยชน์ชัดเจน แต่อาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
advertisement
—
advertisement
–[ads]
advertisement
รู้แล้วใช่ไหมค่ะว่า ระหว่างนมผงกับนมกล่องอันไหนดีกว่ากัน คงจะมีประโยชน์กับคุณแม่ๆทั้งหลายนะค่ะ
ขอขอบคุณ : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com