เนื้องอกในมดลูก..อันตรายแค่ไหน?
advertisement
เนื้องอกนั้นเมื่อเกิดในตำแหน่งไหนก็ตามทุกคนย่อมกังวลเสมอ เพราะไม่รู้ว่าเนื้องอกนั้นจะเป็นเนื้อร้าย หรือเนื้อดี วันนี้ kaijeaw.com จะพามาศึกษาเนื้องอกในมดลูก ซึ่งเนื้องอกในมดลูก เป็นโรคที่พบในสุภาพสตรี ทำให้คนที่เป็นมีความวิตกกังวล และนอกจากสุขภาพกายที่ไม่ดีแล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพของจิตใจด้วยด้วยค่ะ
advertisement
เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก คืออะไรกันนะ ?
เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก หรือ เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นที่ตัวมดลูกเป็นส่วนใหญ่ เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ซึ่งจะพบได้ในช่วงอายุ 30 – 50 ปี ถ้าเป็นสตรีที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เราพบว่า เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก สามารถฝ่อลงไปได้เอง[ads]
สาเหตุ
เนื้องอกมดลูกเป็นเนื้องอกที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก จนกลายเป็นก้อนเนื้องอกที่มีลักษณะเป็นก้อนหยุ่น ๆ สีซีด แตกต่างจากเนื้อเยื่อโดยรอบ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัย เช่น
– พันธุกรรม พบว่าผู้ป่วยบางรายมีประวัติว่ามีมารดาหรือพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
– ฮอร์โมนเพศ ทั้งเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน (ที่กระตุ้นการเจริญของเยื่อบุมดลูก ระหว่างการมีประจำเดือนทุกเดือน) มีส่วนส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตของเนื้องอกมดลูก พบว่าขณะตั้งครรภ์เนื้องอกมักจะมีขนาดโตขึ้น แต่เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื้องอกจะฝ่อเล็กลงได้เอง นอกจากนี้ยังพบว่าในเนื้องอกมดลูกมีตัวรับ (receptors) ฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนมากกว่ามดลูกที่ปกติ
ลักษณะของเนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกมีอยู่ด้วยกันกี่แบบ
ลักษณะของเนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. แบบที่ยื่นเข้าไปในโพรงมดลูก (Submucous myoma)
2. แบบที่อยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก (Intramural myoma)
3. แบบที่อยู่นอกมดลูก (Subserous myoma)
ซึ่งทั้ง 3 แบบ มีความสำคัญแตกต่างกันไป เนื้องอกที่เกิดขึ้นทั้ง 3 แบบงอกมาจากกล้ามเนื้อมดลูกทั้งหมด เราจึงเรียกว่า เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก ตำแหน่งเนื้องอกที่อันตรายแบบสุดๆ คือ แบบที่ 1 ที่ยื่นเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งจะส่งผลให้คุณผู้หญิงมีเลือดประจำเดือนออกมาก ส่วนที่เป็นปัญหารองลงมาก็คือ เนื้องอกที่อยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก คือมีอาการเหมือนแบบที่ 1 แต่ก็น้อยกว่า ส่วนแบบที่ 3 ที่อยู่นอกมดลูก สร้างปัญหาให้กับคุณผู้หญิงน้อยที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอันตรายเลย ถ้าเกิดเนื้องอกที่ยื่นออกมาเกิดการบิดขั้วหรือฉีกขาด ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงมากซึ่งบางครั้งอาจต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน
advertisement
เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกเกิดขึ้นได้อย่างไร
ปัจจุบันก็ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากพันธุกรรม เนื่องจากพบในครอบครัวสืบทอดกันมาค่อนข้างบ่อย นอกจากนั้นปัจจัยเรื่องของฮอร์โมนเพศหญิงก็มีส่วนด้วย ซึ่งทางการแพทย์เชื่อว่าเนื้องอกที่เกิดขึ้นนี้จะถูกเลี้ยงด้วยฮอร์โมนเพศหญิง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้องอกโตขึ้น ตรงนี้นี่เองที่บอกได้ว่าทำไมคนในวัย 50 ปีขึ้นไปถ้ามีเนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก แล้วอยู่ๆ เนื้องอกฝ่อไปได้เองเอง เพราะคนในวัยนี้ฮอร์โมนจะหมดแล้ว เนื้องอกจึงไม่มีอะไรเลี้ยงในที่สุดจึงฝ่อไป อีกประการที่สำคัญก็คือปัจจัยจากสภาวะแวดล้อมและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตการกินอยู่ของคนในยุคปัจจุบัน การรับประทานเนื้อสัตว์มากๆ เนื้อแดงมากๆ การดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมเหล่านี้ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเนื้องอกได้มากทีเดียว
อาการที่ชัดเจนของเนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกคืออะไร
โดยมากคุณผู้หญิงที่มีเนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกจะมีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้น หรือบางทีไม่มีประจำเดือนแต่ก็รู้สึกปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือนอยู่ตลอดเวลา และอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ ถ้าเนื้องอกใหญ่ อาจจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ก็จะทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย หรือถ้าไปกดทับบริเวณลำไส้ตรง ก็อาจทำให้ท้องผูก บางรายก็จะมาด้วยอาการมีลูกยาก ซึ่งเนื้องอกก็มีผลในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกสามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้หรือไม่
เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกสามารถกลายไปเป็นมะเร็งได้แต่โอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้น อัตราประมาณ 1 ใน 1,000 ได้
advertisement
การดูแลตนเอง
ผู้หญิงที่มีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ควรรีบไปปรึกษาแพทย์
– ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติหรือปวดรุนแรงขึ้นทุกเดือน
– มีประจำเดือนออกมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอยนานเกิน 1 สัปดาห์
– มีอาการปวดหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย หรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง
– มีอาการปวดขณะร่วมเพศ
– ท้องผูกเรื้อรัง
– ปัสสาวะบ่อย กะปริดกะปรอย หรือปัสสาวะขัด
– คลำพบก้อนที่ท้องน้อย หรือท้องโตคล้ายคนท้อง[ads]
เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกสามารถรักษาได้อย่างไร
การรักษาก็มีตั้งแต่การติดตามเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของขนาดก้อน ซึ่งจะใช้ในกลุ่มคนไข้ที่ตรวจพบก้อนแต่ไม่ได้มีอาการใดๆ การใช้ยาเพื่อควบคุมอาการผิดปกติ ไปจนถึงการผ่าตัด ซึ่งข้อบ่งชี้ว่าเมื่อไหร่จะต้องผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับหลายอย่างทั้งอายุของคนไข้ และคนไข้ต้องการมีบุตรหรือไม่ ถ้าคนไข้เป็นเนื้องอกแต่ยังต้องการมีบุตร หมออาจพิจารณาผ่าตัดเอาเฉพาะตัวเนื้องอกออก โดยยังคงเก็บมดลูกไว้เพื่อการมีบุตรต่อไป ซึ่งการผ่าตัดนี้ก็สามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องได้ ถ้าคนไข้อายุเริ่มมากมีบุตรพอแล้ว หมอก็อาจพิจารณาผ่าตัดโดยตัดมดลูกออกไปเลย ซึ่งวิธีผ่าตัดที่ดีที่สุดก็คือ การตัดมดลูกด้วยการส่องกล้องโพรงมดลูกผ่านช่องคลอด ซึ่งวิธีนี้เป็นการผ่าตัดแบบไร้แผล เป็นหนึ่งในรูปแบบการผ่าตัดแบบ MIS กรณีคนไข้อายุค่อนข้างมาก เช่นในวัยหมดประจำเดือนแล้ว หมอก็อาจจะใช้วิธีการติดตามเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของขนาดก้อนแทน นอกจากนั้นก็ต้องดูลักษณะของก้อนเนื้องอก อาการที่แสดงด้วย สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่หมอพิจารณาก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษา
เนื้องอกในมดลูก เป็นสิ่งที่สตรีหลายๆท่านต้องสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายตนเองว่ามีอาการผิดปกติใดบ้างที่จะไปนำสู่การเป็นเนื้องอกในมดลูกหรือไม่ เพราะการหมั่นสังเกตและสำรวจร่างกายของตนเองจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นเนื้องอกในมดลูกได้ไม่มากก็น้อย และการตรวจสุขภาพประจำปีก็สำคัญ สตรีคนไหนที่อยู่ในช่วงอายุ 30 -50 ปี ควรตรวจสุขภาพประจำปีและดูแลสุขภาพให้ดีนะคะ
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com