เบรกแตก!! อันตรายที่ต้องเรียนรู้ มาดูวิธีหยุดรถกันว่า หากเบรกแตกต้องทำอย่างไร?
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/12/เบรกแตก-1024x512.jpg)
advertisement
ในการใช้รถใช้ถนนนั้น ปัญหาที่มักจะต้องพบเจอกันเป็นประจำนั่นก็คือ เรื่องของการจราจรที่หนาแน่น อุบัติเหตุ สภาพอากาศ รวมไปถึงในเรื่องของข้อบกพร่องทางสภาพการใช้งานของรถยนต์ต่างๆ หนึ่งในปัญหาที่อาจพบเจอได้ก็คือเรื่องของระบบเบรก อย่างเมื่อเบรกไม่สามารถทำงานได้ หรือที่คนไทยเรียกกันว่าเบรกแตก นับเป็นเรื่องที่อันตรายมากๆ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ซึ่งผู้ใช้รถทุกคนมีโอกาสต้องพบเจอได้ วันนี้ Kaijeaw.com จึงมีข้อควรปฏิบัติเมื่อเบรกแตก …ต้องทำอย่างไรถึงจะรอด? มาฝากกัน ผู้ใช้รถต้องรู้
อาการร้ายแรงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนถนนได้บ่อยๆ ก็คือ รถเกิดอาการเบรกแตกหรือเบรกไม่อยู่ ซึ่งเป็นอันตรายมาก อาการมีดังต่อไปนี้
: เมื่อเหยียบเบรกจนจมติดแล้ว จากนั้นก้ยังเบรกซ้ำมอีกจะพบว่าช่องว่างระหว่างคันเหยียบกับพื้นค่อยๆ เพิ่มขึ้น แล้วรถจึงสามารถหยุดได้เต็มที่
: เมื่อเหยียบเบรกจมแล้ว และคุณก็ได้เหยียบเบรกซ้ำอีกหลายๆ ครั้งแต่ปรากฏว่าเหยียบเบรกไม่สูงขึ้นเลย ยังต่ำเช่นเดิม รวมทั้งรถก็ไม่สามารถหยุดได้ ซึ่งอาการเช่นนี้ถือว่าหนัก [ads]
advertisement
![เหยียบเบรค-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/07/เหยียบเบรค-1.jpg)
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเบรกแตก
1. ตั้งสติให้ดี เมื่อเกิดปัญหาเหยียบเบรคแล้วไม่ทำงาน รถไม่ชะลอหรือหยุดนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตั้งสติ คิดให้เร็วขึ้น หาทางลดความเร็วให้ช้าลง พยายามหาช่องว่างให้ชิดซ้ายในทันที เพราะรถเบรคแตกขับไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็ไม่ปลอดภัยทั้งนั้น
2. ลดคันเร่งและความเร็ว เพราะเครื่องยนต์มีแรงเสียดทาน ให้ใช้มันให้เป็นประโยชน์ในเวลานี้ ให้ทำการ Engine Brake ที่เครื่องยนต์จะเกิดการหน่วง ช่วยให้เกิดการลดความเร็วอย่างกระทันหัน ซึ่งคุณสามารถทำได้ โดยเหยียบคลัทช์ ลดตำแหน่งเกียร์ ส่วนในเกียร์อัตโนมัติใช้วิธีกดปุ่ม Overdrive on หรือ สับตำแหน่ง เกียร์ จาก D มาเป็น 3 จำไว้ว่าห้ามเปลี่ยนมาเป็น L โดยเด็ดขาดไม่เช่นนั้น อาจทำให้เครื่องยนต์พังก็เป็นไปได้
advertisement
![จับพวงมาลัยให้มั่นแล้วชิดซ้าย-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/07/จับพวงมาลัยให้มั่นแล้วชิดซ้าย-1.jpg)
3. จับพวงมาลัยให้มั่นแล้วชิดซ้าย เมื่อเราลดเกียร์แล้วความรู้สึกของรถจะค่อยๆ ช้าลง แต่ไม่ถึงกับหยุดสนิท จำไว้ว่าว่า ชิดซ้ายเข้าข้างทาง ห้ามเหยียบคันเร่ง ถ้าหากว่ารถมีรถกีดขวางให้บีบแตร เพื่อส่งสัญญาณ และเปิดไฟฉุกเฉินไปด้วยพร้อมกัน
4. ใช้เบรคมือ เบรคมือนั้นมีอีกชื่อว่า E-Brake / emergency Brake ที่มันจะลดความเร็วที่ล้อหลังนั้น สามารถช่วยหน่วงและชะลอได้ แต่ระวังอย่าดึงแรงในทีเดียว แต่ให้ค่อยๆ ดึงขึ้น จนสุด ก็จะช่วยลดความเร็วได้บ้างไม่มากก็น้อย
5. ให้สัญญาณเข้าข้างทางซ้ายมือเมื่อความเร็วรถลดลงพอประมาณแล้ว คันที่ตามหลังจะได้รับรู้ว่ารถข้างหน้ากำลังขอทางเพื่อจอด
advertisement
![จอดรถบนสะพาน-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/07/จอดรถบนสะพาน-1.jpg)
6. เมื่อต้องจอดรถบนคอสะพาน บริเวณคอสะพานล้วนเป็นจุดเสี่ยง โดยเฉพาะสำหรับมือใหม่หัดขับ เพราะบริเวณคอสะพานส่วนใหญ่มักชันหากต้องจอดรถติดช่วงคอสะพานนานๆ ได้ใช้แค่เบรกเท้า เท้าคุณอาจล้าได้ ท้ายสุดรถอาจมีสิทธิ์ไหลไปชนคันหลังได้ ซึ่งมีให้เห็นกันบ่อยๆ หากคุณไม่อยากใช้เบรกเท้าให้ไฟหลังติด คุณควรหันมาใช้เบรกมือในการจอดบนคอสะพานทุกครั้งทั้ง ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน
7. เบรกแตกในทางลาดชันหรือในขณะลงเขานั้น สิ่งสำคัญ คือต้องลดความเร็วอยู่ดีเพียงแต่การลงเขานั้น รถจะมีโมเมนตั้มมากขึ้นจากแรงดึงดูดของโลก ซึ่งการชะลอรถควรเริ่มที่การลดเกียร์ต่ำลงก่อน แต่ให้งดการใช้เบรกมือจนกว่าจะถึงช่วงที่มีความชันน้อย ที่จะตอบสนองได้ชัดเจนกว่าและไม่ทำให้เกิดความร้อนมากเกินไป
8. ในกรณีที่รถยังวิ่งต่อไม่หยุด ตัดสินใจไว้เลยว่าจะไม่หลบ แต่ขอเลือกชนเอง การตัดสินใจไว้ก่อน ทำให้ตัดสินใจได้เร็ว คิดไว้ก่อนก็เลือกการบาดเจ็บและความเสียหายที่จะเกิดไม่รุนแรง
advertisement
![ชนท้าย-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/07/ชนท้าย-1.jpg)
9. สิ่งที่อาจชนได้ เช่น ท้ายรถคันหน้า ต้นไม้ ตึก ฟุตบาท คน มอร์เตอร์ไซด์ แผงกั้นถนน เสาไฟฟ้า เสากิโลเมตร ลงคลอง ลงข้างทาง เกาะกลางถนน สัตว์ที่อยู่บนถนนหรือริมนาข้างทาง หิน กองดิน กองทราย ลงเหว เป็นต้น
10. เลี่ยงการปะทะ หากต้องหยุดรถ อาจจะเลือกกำแพงหนาๆ หรือหน้าผา ก็ให้เอาสีข้างรถเฉียดเข้าไปเพื่อให้เกิดการเสียดสี เป็นการช่วยหยุดรถได้ ถ้าพบลานหรือสนามกว้างๆ ให้นำรถลงไปทันที เมื่อเกิดเหตุขึ้น ต้องระมัดระวังอย่าให้หน้ารถปะทะหรือชนกับสิ่งที่เกิดอันตรายจากการชนเด็ดขาด จงหลบหลีกให้ได้ทำได้ดังนี้โอกาสรอดปลอดภัยก็มากขึ้น
การตรวจสภาพเบรกมือแบบง่ายๆ ด้วยตนเอง
advertisement
![ดึงเบรกมือขึ้นจนสุด-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/07/ดึงเบรกมือขึ้นจนสุด-1.jpg)
คุณสามารถตรวจสอบเบรกด้วยตัวเอง โดยการขับรถขึ้นบนเนินสูงๆ หรือคอสะพานที่ค่อนข้างชัน และทำตามขั้นตอนดังนี้
– เหยียบเบรกให้สุด
– ปลดเกียร์ไว้
– ดึงเบรกมือขึ้นจนสุด
– ถอนเท้าออกจากเบรกที่เหยียบไว้
– ดูว่าถ้าไหลอยู่ก็แสดงว่าถึงเวลาต้องไปเช็กเบรกมือแล้ว
เพิ่มเติม : การดึงเบรกมือจนสุดนั้น ตามปกติแล้วประมาณ 4 จังหวะ หรือถ้าฟังเสียงก็ราวๆ 4 แก๊ก แต่ถ้าคุณดึงจนสุดอยู่ราวๆ 7-8 แก๊ก ก็แสดงว่าเบรกมือคุณอาจมีปัญหาสมควรนำไปเช็กสภาพได้แล้ว[ads] การขับรถแล้วมีปัญหาเบรคแตกนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมากเลยนะคะ แม้จะเป็นแค่เพียงในช่วงเวลาหนึ่งที่สั้นๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการมีสติค่ะ จะช่วยให้คุณตัดสินใจทำสิ่งที่ควรจะทำได้ แล้วคุณจะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี และอย่าลืมที่จะตรวจสอบสภาพการใช้งานของเบรก รวมทั้งระบบอื่นๆ ให้อยู่ในสภาพการใช้งานที่สมบูรณ์อยู่เสมอนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องขับรถทางไกลค่ะ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com