เบื่ออาหารแก้อย่างไรดี
advertisement
อาการเบื่ออาหารเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกคน อาจเป็นเพียงความผิดปกติเพียงเล็กน้อย หากเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ พอได้ระยะเวลาหนึ่งก็มักกลับมาทานอาหารได้เช่นเดิมปกติ แต่อย่าได้ชะล่าใจไปนะคะเพราะอาจเป็นอาการนำของโรครุนแรงก็ได้ ดังนั้นจึงควรมาใส่ใจมาหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหา กับ Kaijeaw.com กันค่ะ
advertisement
>>> สาเหตุของอาการเบื่ออาหาร
ในสมอง มีศูนย์ที่ควบคุมความอยากกินและความอิ่ม ซึ่งหากมีความผิดปกติในสมองที่ทำให้การทำงานของศูนย์นั้นผิดปกติ อาจทำให้รู้สึกอิ่มไม่อยากกินอะไร นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นอีก เช่น..
– ชนิดของอาหาร หากเป็นอาหารที่ชอบ ก็จะกินได้มาก
– การทำงานของประสาทสัมผัส มีส่วนในการกระตุ้นให้อยากกินอาหาร เช่น ตาดู จมูกดมกลิ่น ลิ้นได้รสของอาหาร หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป จะทำให้ความรู้สึกอยากกินอาหารลดลง อย่างเช่นเวลาเราเป็นหวัด จมูกไม่ได้กลิ่น เราจะไม่ค่อยอยากกินเท่าไหร่
– ความเครียด ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล ซึ่งอาจทำให้มีอาการเบื่อทำให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลง
– อาการอนอร์เร็กเซีย เนอโวซา (anorexia nervosa) ซึ่งมักพบเป็นอาการของคนที่กลัวอ้วนมากๆ แล้วพยายามลดน้ำหนักตัว พยายามไม่กินอาหารแม้จะหิวก็ตาม บางรายกินอาหารได้ แต่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนหรือพยายามล้วงคอเอาอาหารที่กินเข้าไปออกมา
[ads]
สาเหตุของอาการเบื่ออาหารจากโรคต่างๆ
– โรคติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะการติดเชื้อเรื้อรัง เช่น วัณโรค เชื้อรา รวมไปถึงการติดเชื้อเอดส์ ทั้งนี้การติดเชื้อนอกจากจะทำให้เบื่ออาหารแล้ว ยังมีการเผาพลาญพลังงานมากขึ้นด้วยทำให้น้ำหนักลดลงเร็ว ในผู้ป่วยที่มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน สันนิษฐานว่าอาจเป็นตับอักเสบได้เช่นกัน
– มะเร็งทุกชนิด โดยเฉพาะมะเร็งของทางเดินอาหาร มะเร็งตับ ตับอ่อนและมะเร็งเม็ดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก และอาจมีอาการซีด อุจจาระดำ ท้องเสียสลับท้องผูกหรือถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น
– โรคเรื้อรัง เช่น ไตวาย ตับแข็ง โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง
– ความผิดปกติของระบบอาหาร โรคกระเพาะอาหารและทางเดินน้ำดี ซึ่งหากกินอาหารอาจทำให้ปวดท้อง ท้องอืด
– ผลของยา เช่น ยารักษาโรคหัวใจ ยาลดความอ้วน รวมถึงยาแก้ปวดข้อต่างๆ ซึ่งอาจทำให้ยาระคายเคืองกระเพาะอาหาร
อาการเบื่ออาหารที่เป็นอันตราย
อาการเบื่ออาหารหากเป็นครั้งเป็นคราว และรู้สาเหตุได้ เช่น เป็นไข้ ความเครียด อากาศเปลี่ยนแปลง ฯลฯ อาการมีได้ 3-4 วันก็กลับปกติ ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ไม่อันตราย แต่หากมีอาการอยู่เกินกว่า 1-2 สัปดาห์ และที่สำคัญคือน้ำหนักลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจถึง 2-3 กิโลกรัม ในช่วง 2 เดือน คงต้องพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
[yengo]
advertisement
>>> เบื่ออาหารแก้อย่างไรดี
1. กินอาหารให้บ่อยขึ้น ในวันที่เบื่ออาหารนั้น อาจแบ่งเป็นทานอาหารหลายๆ มื้อ อาจจะ 6 มื้อเล็กๆ ทานนิดหน่อย เรียกว่าหิวเมื่อไหร่กินเมื่อนั้น ถ้าให้ถี่เข้าไว้ ปริมาณที่ทานได้อาจไม่มาก
2. ทานอาหารที่ให้พลังงานควรเลือกอาหารที่ให้พลังงานสูงและมีคุณค่าทางโภชนาการ เลือกอาหารที่อยู่ในลักษณะที่รับประทานง่าย อย่างเช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุป น้ำผลไม้
3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์เช่นของทอด น้ำอัดลม ชา กาแฟ จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น ทานอาหารอย่างอื่นได้น้อยลง และงดอาหารที่มีกลิ่นแรงเพราะอาจทำให้อาเจียนเพิ่มขึ้น
4. ไปเที่ยวพักผ่อน เปลี่ยนบรรยากาศ และรสชาติอาหารเสียบ้าง ก็จะช่วยให้เจริญอาหารขึ้นได้ หรือหาโอกาสกินข้าวร่วมกับพี่น้องเพื่อนฝูง เมื่อใช้เวลาบนโต๊ะอาหารมากขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าจะรับประทานอาหารได้มากขึ้นตามไปด้วย
5. หากคุณป่วยเป็นโรคร้ายต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้เบื่ออาหาร และเบื่ออาหารรุนแรงขึ้น ไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นเลย แสดงว่าอาการของโรครุนแรงขึ้น ควรไปพบแพทย์ค่ะ
6. สังเกตยาที่ใช้อยู่นั้น เพราะยาหลายอย่างอาจมีฤทธิ์ทำให้เบื่ออาหาร ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวหากสงสัย
7. ออกกำลังกายช่วยให้อยากอาหารการออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า จะทำให้รู้สึกอยากอาหารขึ้น หากกำลังอยู่ในช่วงเบื่ออาหาร การได้ออกกำลังกาย ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์บ้างช่วยได้
8. ไม่เครียดความเครียด ซึ่งเกิดจากปัญหารอบด้านที่มารุมเร้า และจะพบอาการซึมเศร้า ไม่อยากทำอะไร นอนไม่หลับร่วมด้วย ไม่อยากทานอาหาร ซึ่งอาการนี้รักษาไม่ได้ต้องรักษาที่ต้นเหตุ คือใจเท่านั้น
9. ยาเจริญอาหารแพทย์อาจไม่แนะนำควรรักษาที่ต้นเหตุดีกว่า แต่ก็ไม่มีอันตรายอะไรและหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง เช่น ไซโปรเฮพดาดี ขนาด 4 มิลลิกรัม โดยกินครั้งละ 1-2 เม็ด แต่ยานี้อาจส่งผลข้างเคียงบ้าง คือทำให้ง่วงได้มาก จึงควรกินก่อนนอน และกว่าจะเริ่มรู้สึกอยากอาหารอาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ไม่ควรซื้อยามากินเอง โดยเฉพาะในเด็ก เพราะอาจส่งผลให้ความสูงลดลง และคนในชรา เพราะอาจง่วงซึมมาก
หลายคนคงเคยมีความรู้สึกเบื่อ ไม่อยากรับประทานอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นเพียงครั้งคราวแล้วก็หายไป แต่ถ้าการเบื่ออาหารนั้นเป็นอย่างต่อเนื่อง จนมีผลทำให้ร่างกายผอมโทรม และไม่แข็งแรง คุณควรหาวิธีการจัดการและแก้ไขโดยเร็ว แต่หากไม่ดีขึ้นเลยควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธีค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com