เปิดรายการ ‘ตรวจสุขภาพฟรี’ ผู้ประกันตน 12 ล้านคน
advertisement
จากมาตรา 63 (2) เรื่องการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแก้ไขนั้น ล่าสุด สปส.ได้จัดทำข้อกำหนดในการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนกว่า 12 ล้านคนแล้วเสร็จ และคณะกรรมการการแพทย์ได้ลงนามในข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว อยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งกำหนดไว้ว่ามีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560[ads]
advertisement
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้เปิดเผยว่า จากมาตรา 63 (2) เรื่องการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแก้ไขนั้น ล่าสุด สปส.ได้จัดทำข้อกำหนดในการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนกว่า 12 ล้านคนแล้วเสร็จ และคณะกรรมการการแพทย์ได้ลงนามในข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว อยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งกำหนดไว้ว่ามีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 สำหรับสิทธิประโยชน์การให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้กำหนดให้ผู้ประกันตนทุกคนสามารถเข้ารับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยการตรวจสุขภาพโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องรับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิที่ผู้ประกันตนได้เลือกไว้ ทั้งนี้ การให้บริการตรวจสุขภาพจะเป็นแพคเกจที่มีการกำหนดไว้แล้วตามช่วงอายุของผู้ประกันตนแต่ละคน โดยทางโรงพยาบาลจะเบิกค่าบริการกับทาง สปส.เองคิดตามแพคเกจ ไม่ได้คิดแบบเหมาจ่าย ซึ่งงบประมาณส่วนนี้คาดว่าในปีแรกจะใช้งบประมาณ 1,500-1,800 ล้านบาท
ผู้ประกันตนที่เข้ารับบริการสามารถตรวจสุขภาพพื้นฐานได้ อาทิ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจการทำงานของไต เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ภาวะผิดปกติ หรือโรค ซึ่งนำไปสู่การป้องกันการส่งเสริมสุขภาพของผู้ประกันตน หรือหากพบความผิดปกติจะได้รับการบำบัดรักษาตั้งแต่ระยะแรกตามรายการ โดยหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนดจะดูตามอายุและความจำเป็น อาทิ การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข
advertisement
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการตรวจร่างกายของผู้ประกันตนนั้น ได้แบ่งตามกลุ่มอายุ ดังนี้ ตรวจร่างกายตามระบบ คือ
1.การคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test อายุ 15 ปีขึ้นไป โดยให้ตรวจได้ 1 ครั้งต่อปี
2.การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข อายุ 30-39 ปี ความถี่ตรวจได้ทุก 3 ปี อายุ 40-54 ปี ตรวจทุกปี อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเสี่ยง
3.การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์ อายุ 40-54 ปี ตรวจได้ 1 ครั้งต่อปี อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1-2 ปี
4.การตรวจด้วยสาขา Snellen eye Chart อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจได้ 1 ครั้งต่อปี
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ มี ดังนี้
1.ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC อายุ 18-54 ปี ตรวจ 1 ครั้ง อายุ 55-70 ปี ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
2.การทำงานของไต อายุ 55 ปี ตรวจ 1ครั้งต่อปี
3.ไขมันในเส้นเลือดชนิด Total HDL cholesterol อายุ 20 ปี ตรวจทุก 5 ปีขึ้นไป
advertisement
การตรวจอื่นๆ มี
1.เชื้อไวรัสตับอักเสบ HBsAg ตรวจ 1 ครั้ง
2.มะเร็งปากมดลูก Pap Smear ตรวจอายุ 30-54 ปี ตรวจทุก 3 ปี อายุ 55 ปีขึ้นไปตรวจตามความเหมาะสม หรือ
3. ตรวจมะเร็งปากมดลูกวิธี VIA อายุ 30-54 ปีขึ้นไปตรวจทุก5 ปี อายุ 55 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจแปปสเมียร์
4.ตรวจเลือดในอุจจาระ FOBT อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อไป
5. การเอ็กซ์เรย์ทรวงอก Chest x–ray อายุ 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้ง[ads]
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนในระบบกองทุนประกันสังคมมีกว่า 12 ล้านคน แบ่งเป็น ผู้ประกันตนทั่วไปตามมาตรา 33 มีจำนวน 10,477,172 ล้านคน และมาตรา 39 ซึ่งเคยเป็นลูกจ้างบริษัทตามมาตรา 33 แต่หลังจากที่ลาออก ได้ส่งเงินต่อเพื่อไม่ให้เสียสิทธิ มีจำนวน 1,276,282 ล้านคน และมาตรา 40 เป็นแรงงานนอกระบบอีก 2,236,612 ล้านคน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : thaihealth.or.th, Patcharee Bonkham, มติชนออนไลน์