เฟนเทอร์มีน ยาลดน้ำหนักอันตราย กับผลข้างเคียงที่ส่งผลต่อระบบประสาทโดยตรง!!

advertisement
เพจ สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย ได้ออกมาโพสต์ถึงเรื่องยาลดน้ำหนัก เฟนเทอร์มีน หนึ่งในยาลดน้ำหนักยอดนิยม ที่กินแล้วส่งผลต่อระบบประสาท และอันตรายอย่างมาก โดยจากโพสต์นั้นได้ระบุว่า..
advertisement

#เฟนเเทอมีนคือยาอะไร?
#เฟนเทอร์มีน (#Phentermine) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับยาแอมเฟตามีน (Amphetamine, ยากระตุ้นระบบประสาทที่ใช้รักษาโรคทางจิตเวช) วงการแพทย์ได้นำยานี้มาใช้เป็นยาลดน้ำหนัก โดยจะออกฤทธิ์กดศูนย์การหิวที่สมอง ทำให้ร่างกายไม่อยากอาหาร การใช้ยานี้แพทย์จะให้รับประทานอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น
ด้วยเหตุผลที่เฟนเทอร์มีนมีฤทธิ์คล้ายคลึงกับยาแอมเฟตามีน ในหลายประเทศจึงจัดให้ยานี้อยู่ในบัญชีของยาควบคุมพิเศษ ประเทศไทยโดยคณะกรรมการอาหารและยาได้จัดให้เฟนเทอร์มีนอยู่ในหมวดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประชาชนทั่วไปไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักจะต้องมาพบแพทย์ในสถานพยาบาลเท่านั้น
เฟนเทอร์มีนมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก การรับประทานหรือขนาดยาที่ใช้ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น การปรับเปลี่ยนขนาดการรับประทานเองอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายของผู้ที่รับประทานยา จึงห้ามมิให้ผู้ป่วยเพิ่มหรือปรับขนาดรับประทานเองโดยเด็ดขาด [ads]
#เฟนเทอร์มีนมีสรรพคุณดังนี้
1. #ลดความอยากอาหารในผู้ที่ชอบรับประทานอาหารมากเกินไป
2. #ลดน้ำหนัก ของร่างกายโดยมีขอบเขตการใช้ยาเป็นระยะเวลาสั้นๆ
#เฟนเทอร์มีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเฟนเทอร์มีนคือ ตัวยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นสมองส่วนที่เรียกว่า ซีรี บรัลคอร์เทกซ์ (Cerebral cortex, สมองส่วนหนึ่งของสมองใหญ่) ทำให้ความรู้สึกของความอยากอาหารลดลง นอกจากนี้เฟนเทอร์มีนยังออกฤทธิ์ภายนอกสมอง โดยทำให้ร่างกายหลั่งสารที่เพิ่มการใช้พลังงานของร่างกายที่เรียกว่า อีพิเนฟริน (Epinephrine) หรืออะดรีนาลีน (Adrenalin) จึงเป็นเหตุให้เกิดการเผาผลาญเซลล์ไขมันที่สะสมอยู่ตามร่างกาย ด้วยกลไกข้างต้นทำให้เกิดการลดน้ำหนักภายในไม่กี่สัปดาห์
#เฟนเทอร์มีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาเฟนเทอร์มีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็น ยาแคปซูลขนาด 15 และ 30 มิลลิกรัม/แคปซูล
#เฟนเทอร์มีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาเฟนเทอร์มีนมีขนาดรับประทานดังนี้
ผู้ใหญ่: รับประทาน 15 – 30 มิลลิกรัมวันละ 1 – 2 ครั้ง ควรรับประทานยาในเวลาที่ท้องว่าง เวลาที่เหมาะสมคือ ก่อนอาหารเช้า
เด็กและผู้ใหญ่อายุต่ำกว่า 18 ปี: การใช้ยาต้องขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเฟนเทอร์มีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้
ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาเฟนเทอร์มีนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
advertisement

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาเฟนเทอร์มีนสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
#เฟนเทอร์มีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาเฟนเทอร์มีนสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้เช่น ปากแห้ง มีอาการกระวนกระวาย/กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ตัวสั่น วิงเวียนศีรษะ
หากรับประทานยานี้ในขนาดสูงจะพบอาการข้างเคียงเช่น อ่อนเพลีย ท้องเสีย ท้องผูก ความดันโลหิตสูง ซึมเศร้า มีไข้ เกิดความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ เกิดจิตหรือประสาทหลอน เกิดอาการชัก สมรรถภาพทางเพศเสื่อม (ความรู้สึกทางเพศลดลง)
#ข้อควรระวังการใช้ยาเฟนเทอร์มีนอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาเฟนเทอร์มีนดังนี้
ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้ และผู้ที่แพ้ยากลุ่มซิมพาโทมิเมติก เอมีน (Sympathomimetic amines, กลุ่มยาที่ใช้รักษาภาวะหัวใจหยุดเต้น, ภาวะความดันโลหิตต่ำ เช่น ยา Adrenalin)
ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคลมชัก ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดตีบตัน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรง ผู้ป่วยที่มีเซลล์สมองไว/ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆมากเกินไป (Hyperexcitability) ผู้ป่วยโรค หัวใจ ผู้ป่วยไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ) และผู้ป่วยโรคต้อหิน
ไม่ควรใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การจะใช้ยาในบุคคลกลุ่มนี้ต้องอยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์เท่านั้นว่าเหมาะสมและปลอดภัยเพียงใด
ไม่ควรรับประทานยาก่อนนอนด้วยจะทำให้นอนไม่หลับ [ads2]
#ยาตัวนี้ร้านยาไม่มีขายนะครัช
เฟนเทอร์มีน (phentermine) ถูกประกาศเป็น วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 2 ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2536
ยาลดความอ้วน phentermine ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางได้ถูกยกระดับขึ้นเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ในปี พ.ศ. 2536 (จากเดิมจัดเป็นประเภท 3 และ4) ซึ่งกฎหมายระบุห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า และส่งออก ยกเว้นกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้นการกระจายยาลดความอ้วนกลุ่มดังกล่าวทำโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้นำสั่งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว แล้วส่งต่อไปยังโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ ตามคำขอซื้อของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายยาลดความอ้วนแก่ผู้ป่วยของตน
ด้วยเหตุที่เฟนเทอร์มีน (phentermine) ซึ่งเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 2 ถูกนำมาใช้ในเรื่องการลดความอ้วน ทำให้พบปัญหาทำให้ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืน ผู้ขายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 89 ซึ่งบทลงโทษเรื่องการขายไม่ได้กำหนดให้ลงโทษเพราะการกระทำโดยประมาทหรือโดยไม่รู้ ดังนั้น จึงใช้กับกรณีที่มีการกระทำโดยเจตนาที่จะขายวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเท่านั้น ตามนัยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคแรก และมาตรา 17
ได้ทราบอันตรายของยา เฟนเทอร์มีน แบบนี้แล้วก็อย่าไปซื้อมาทานมั่วๆนะคะ ถ้าต้องการอยากจะลดน้ำหนักจริงๆ ควรขยันออกกำลังกาย และคุมอาหารจะดีกว่า
ขอขอบคุณที่มาจาก : สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย