เร่ว(หมากเนิง)..แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ!!
advertisement
“เร่ว” เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด โดยเฉพาะในดินร่วนซุย ในที่ร่มรำไร นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือหน่อมากกว่าการใช้เมล็ด เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่พบได้มากภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง มีอยู่สองชนิดด้วยกันคือเร่วน้อยและเร่วใหญ่ โดยการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า สมุนไพรเร่ว มีฤทธิ์ขับลม ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กส่วนปลาย และช่วยลดความดันโลหิตอีกด้วย ตาม Kaijeaw.com มารู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรเร่วใหญ่ Amomum xanthioides Wall. เร่วน้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amomum villosum Lour. มีชื่อสามัญว่า Bustard Cardamom และ Tavoy Cardamom จัดอยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า หมากแหน่ง (สระบุรี), หน่อเนง (ชัยภูมิ), มะอี้, หมากอี้, มะหมากอี้ (เชียงใหม่) และ หมากเนิง (ภาคอีสาน) เป็นต้น
advertisement
ต้น : เป็นพืชล้มหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบเรียวยาว เป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีความยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลม ก้านใบเป็นแผ่นมีขนาดสั้น
advertisement
ดอก : ดอกมีสีขาว ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกจะรวมอยู่ในก้านเดียวกันเป็นช่อยาวๆ คล้ายกับดอกข่า กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อนแล้วจะเปลี่ยนสีน้ำตาลเทา โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายแยกเป็นกลีบ ก้านช่อดอกสั้น ลักษณะของผลค่อนข้างกลม ลักษณะเป็น 3 พู มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีขน [ads]
advertisement
ผลเร่วน้อย : ลักษณะของผลค่อนข้างกลม ลักษณะเป็น 3 พู มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีขน ผลแก่สีน้ำตาลแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมากจับกันเป็นกลุ่มก้อนกลมๆ หรือกลมรี มี 3 พู โดยแต่ละพูจะมีเมล็ดประมาณ 3-15 เมล็ด อัดเรียงกันแน่น 3-4 แถว เมล็ดมีรูปรางไม่แน่นอน มีหลายเหลี่ยมและมีเป็นสันนูน ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ ผิวด้านนอกเรียบมีเยื้อบางหุ้ม ปลายแหลมของเมล็ดมีรูเห็นได้เด่นชัด เมล็ดแข็ง เนื้อในเมล็ดมีสีขาวอมเหลือง เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดซ่าและมีรสขมเล็กน้อย
ผลเร่วใหญ่ : ผลมีลักษณะเรียวยาวหรือขอบขนานแกมสามเหลี่ยม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแห้งแตกได้ ผลมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ผลมีรสมันเผื่อนติดเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดเป็นกลุ่ม 10-20 เมล็ด ลักษณะเหมือนเร่ว้อย เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม มีรสร้อนเผ็ดปร่า
advertisement
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดีของสมุนไพรเร่ว(ผล)
– เร่วน้อย ผลต้องใหญ่ แข็ง มีเนื้อมาก เนื้อในเมล็ดสีน้ำตาลแดง กลิ่นหอมฉุนมาก
– เร่วใหญ่ ผลใหญ่ แข็ง สีเทา เนื้อในสีน้ำตาลอมเทาถึงสีน้ำตาล มีกลิ่นหอมฉุน
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ผลเร่วน้อย – มีรสร้อนเผ็ดปร่า แก้ไข้ แก้ริดสีดวง แก้หืดไอ เสมหะ แก้ระดูขาว แก้ไข้สันนิบาต เมล็ดเร่วน้อย รสร้อนเผ็ดปร่า ขับลมในลำไส้ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ ปวดท้อง แก้คลื่นเหียน อาเจียน แก้ริดสีดวง หืดไอ กัดเสมหะ แก้ไข้สันนิบาต ขับน้ำนม
ผลเร่วใหญ่ – มีรสมันเฝื่อนติดเปรี้ยว แก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ แก้ริดสีดวงทวารทั้ง 9 รักษาอาการขัดในทรวง บรรเทาอาการกระหายน้ำ แก้ธาตุพิการ แก้ท้องอืดเฟ้อจุกเสียด แก้ปวดท้อง แก้มุตกิดระดูขาว แก้หืดไอ แก้เสมหะอันบังเกิดแต่ดี แก้โลหิตขึ้นเบื้องสูง แก้ไข้สันนิบาต ขับผายลม ทำให้เรอ เมล็ดเร่วใหญ่ รสร้อนเผ็ดปร่า ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับน้ำนมหลังคลอด แก้ปวดท้อง แก้คลื่นเหียนอาเจียน ลดไขมันในเลือด ลดความเป็นพิษของสารพิษต่อตับ แก้ริดสีดวง หืดไอ ขับเสมหะ แก้ความดันโลหิตต่ำ แก้ไข้สันนิบาต
“พิกัดทศกุลาผล”
ตำรายาไทยแผนโบราณ ผลเร่วจัดอยู่ใน “พิกัดทศกุลาผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาตระกูลเดียวกัน 10 อย่าง มี ชะเอมทั้งสอง (ชะเอมเทศ, ชะเอมไทย), ลูกผักชีทั้งสอง (ผักชีล้อม, ผักชีลา), อบเชยทั้งสอง (อบเชยเทศ, อบเชยไทย) ลำพันทั้งสอง (ลำพันแดง, ลำพันขาว) และลูกเร่วทั้งสอง (เร่วน้อย, เร่วใหญ่) มีสรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ บำรุงปอด แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น แก้ไข้
ตามตำรายาไทยจีน
– ใช้เร่วน้อย และเร่วใหญ่ ขับลม บรรเทาอาการท้องเสีย และครรภ์รักษา แก้อาการอาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ โดยใช้เมล็ดบดเป็นผง ครั้งละประมาณ 7-8 กรัม ชงกับน้ำขิงต้ม ใช้ดื่มบ่อยๆ แก้อาการเป็นพิษ โดยใช้ผง ชงกับน้ำอุ่นดื่ม
– บำรุงธาตุ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และปวดท้อง โดยใช้เมล็ดเร่ว ผสมกับหัวแห้วหมู รากชะเอมและขิงแห้งร่วมกัน แก้ประจำเดือนมามากกว่าปกติ โดยใช้ผลเร่วแห้งหนัก 7-8 กรัม รางไฟจนแห้งกรอบ แล้วบดเป็นผงชงน้ำดื่มรับประทานบ่อยๆ [yengo]
advertisement
สรรพคุณทางยาสมุนไพรส่วนอื่นๆ ของเร่ว
ราก – แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้เซื่องซึม
ต้น – แก้คลื่นเหียน อาเจียน
ใบ – ขับลม แก้ปัสสาวะพิการ
ดอก – แก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันตามร่างกาย
ผล – รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง
วิธีการใช้ :
– แก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร นำเมล็ดจากผลที่แก่จัดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
– แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้เซื่องซึม นำรากมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
– แก้คลื่นเหียน อาเจียน นำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
– ขับลม แก้ปัสสาวะพิการ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
– แก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันตามร่างกาย นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง นำผลมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
“เร่ว” เป็นสมุนไพรไทยดีๆ อีกชนิด ที่หากว่าคุณปลูกไว้ย่อมได้ใช้ประโยชน์อย่างแน่นอนเลยทีเดียวค่ะ เป็นยาสมุนไพรแก้ท้องอืดท้องเฟ้ออย่างได้ผล ในขณะเดียวกันก็ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และหากอาการไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com