เล็บ..บอกโรคได้!! รีบเช็กด่วน!!

advertisement
เล็บของคุณมีสุขภาพดีสมบูรณ์ใช่หรือไม่? เล็บที่มีสุขภาพดี คือ เล็บที่มีสีออกชมพูจาง หรือแดงอ่อนๆ ด้วยสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ มีพื้นผิวที่เรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรงไม่ถอยร่น และเล็บมีความหนาไม่มากไปและไม่น้อยจนเกินไป ถึงตอนนี้ใครหลายคนคงกำลังก้มมองดูเล็บของตนอยู่ สังเกตว่าเล็บของคุณมีสุขภาพดีหรือไม่ ถ้าเล็บมีความแตกต่างไปนอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว อาจเป็นสัญญาณของเล็บที่ไม่ปกติหรือไม่ ถ้าใช่จะเป็นอันตรายอย่างไรบ้าง ถึงเวลาต้องรีบเช็คโดยด่วนแล้วล่ะค่ะ
advertisement

http://s2.boxza.com/news/00/0x/lp/1449034646_1.jpg
1. ความหนาหรือบางผิดปกติ
เล็บหนามากผิดปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ
– โรคเชื้อรา ที่นอกจากเล็บหนาขึ้นแล้ว เล็บอาจมีสีเปลี่ยนร่วมด้วยเป็นสีเหลืองหรือขาว ผิวเล็บและส่วนปลายเล็บอาจขรุขระ
– โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังที่พบได้มาก ก็อาจจะมีเล็บหนาได้ แต่ต่างกับเชื้อราที่โรคสะเก็ดเงินมักจะมีอาการเล็บหนาหลายๆ เล็บตรงข้ามกับโรคเชื้อราที่เป็นไม่กี่เล็บ
เล็บบางมากกว่าปกติ
– โรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก เล็บจะมีลักษณะบางและแอ่นคล้ายช้อนได้ หรือในคนสูงอายุอาจมีเล็บที่บางและเปราะแตกง่ายบริเวณปลายเล็บได้ เช่นกัน
advertisement

https://s3.amazonaws.com/classconnection/608/flashcards/4348608/jpg/nail-psoriasis-149C5952ED12E0EC577.jpg
2. เล็บมีพื้นผิวที่ขรุขระ
ผิวเล็บอาจเป็นหลุมเล็กๆ ถ้าเป็นหลายเล็บ อาจบ่งบอกถึงโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคภูมิแพ้ได้ แต่อาจพบได้ในเด็กบางคนโดยที่ไม่มีสาเหตุ บางกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง อาจพบเล็บเป็นร่องลึกสัมผัสได้ว่าขรุขระ ตามแนวขวางจากการที่เล็บมีการสร้างเล็บผิดปกติขณะป่วย
advertisement

http://www.firmamburda.com/uploads/firmaresim/1422450505_batk_trnak_bakm.jpg
3. ผิวหนังรอบเล็บบวมแดง
มักเกิดขึ้นในคนที่สัมผัสกับน้ำบ่อยๆ จะทำให้ผิวหนังรอบเล็บมีการเปื่อยยุ่ย จึงเกิดการระคายเคืองจากสารเคมีต่างๆ ได้ง่าย เช่น สารเคมีจากน้ำยาล้างจานและน้ำยาทำความสะอาดบ้าน หรืออาจเกิดการติดเชื้อราตามมาได้เช่นกัน ในผู้ป่วยบางคนที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังที่อ่อนแอนี้ ผิวหนังรอบเล็บอาจบวมแดงและมีหนองร่วมด้วย อาการบวมแดงมักเป็นมาไม่นานซึ่งต่างจากคนที่มีผิวหนังรอบเล็บบวมจากการระคายเคืองของสารเคมี
[ads]
advertisement

https://lateposts.files.wordpress.com/2013/04/56_subungual_hematoma_10.jpg
4. เล็บเปลี่ยนสี ภาวะโรคทางกายมีผลกับสีของเล็บได้
– เล็บมีสีดำ อาจเป็นจากมะเร็งผิวหนัง เชื้อรา การกระแทก ไฝหรืออาจเป็นขึ้นมาเอง กรณีมะเร็งผิวหนังมีข้อสังเกตคือ ลักษณะเล็บที่ดำจะมีลักษณะเป็นปื้นสีดำสีไม่สม่ำเสมอ เป็นแค่เล็บเดียว มีประวัติเป็นมาไม่นาน อาจมีผิวหนังที่โคนเล็บเป็นสีดำร่วมด้วย
– เล็บที่มีสีขาวครึ่งเล็บ พบได้ในคนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง เล็บที่มีสีขาวสองในสามของเล็บ พบได้ในคนเป็นโรคเบาหวาน โรคตับแข็งและหัวใจวาย
– เล็บที่มีสีขาวเป็นแถบขวางอาจเป็นโรคโปรตีนในร่างกายต่ำ (hypoalbuminemia) เล็บดังกล่าวเมื่อใช้มือกดไปที่เล็บ สีขาวที่เห็นจะจางลง
– เล็บเหลือง ถ้าเป็นบางเล็บบนนิ้วที่ถนัด อาจเป็นสารนิโคตินจากบุหรี่ที่มาเกาะเล็บที่ใช้คีบบุหรี่ หรือพบในโรคปอดบางชนิด โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต
– เล็บเปลี่ยนสีเป็นครึ่งขาวครึ่งชมพู พบในโรคไตบางชนิด
– เล็บเป็นจุดหรือเส้นสีม่วง เกิดจากเส้นเลือดฝอยแตกพบในโรคลิ้นหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดอักเสบ โรคตับ โรคขาดวิตามินซี
advertisement

http://newsfresh.net/wp-content/uploads/2015/07/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%9A2.jpg
5. เล็บเป็นดอกหรือจุดขาวๆ
หรือ ที่เรียกว่าเสี้ยวพระจันทร์ อาจแสดงได้ว่ามีปัญหาสุขภาพบางอย่าง หรือขาดสารอาหารบางอย่างที่ทำให้เซลสร้างเล็บได้ไม่สมบูรณ์
advertisement

http://images.nailsmag.com/post/M-onc-2.jpg
6. ปลายเล็บร่น (onycholysis)
สังเกตว่าขอบของผิวหนังที่ติดกับเล็บมีการร่นลง โดยปกติแล้วผิวหนังส่วนปลายจะติดกับเล็บ แต่หากมีโรคบางอย่าง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคไทรอยด์ โรคเชื้อราและโรคผื่นผิวหนังอักเสบ รวมถึงยาบางชนิด
advertisement

http://เคล็ดลับน่ารู้.com/wp-content/uploads/2015/09/nail-changes-660×330.jpg
7. เล็บลีบ-แบน
อาจบอกให้ทราบว่ากําลังเป็นโรคมือเย็นเท้าเย็น เพราะการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนน้ันได้ไม่เพียงพอ

http://3.bp.blogspot.com/-cSNdkRkcRGs/VcyO6v9LIQI/AAAAAAAAG5M/v4SB1uFLcvY/s640/0.jpg
8. โคนเล็บเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีแดง
อาจเป็นสัญญาณว่ามีปัญหาของหัวใจ ถ้าเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ (pale blue) อาจได้รับพิษจากสารเงิน หรือมีปัญหาที่ปอดได้
advertisement

http://s4.boxza.com/news/00/0w/iv/1447661238_7.jpg
9. เล็กซีด อ่อนแอ
อาจบอกได้ว่าเป็นอาการขาดสารอาหารบางอย่าง การขาดสารอาหารก็สามารถแสดงออกมาให้เห็นจากเล็บ
– เล็บมีสีซีด บางลง เปราะ เป็นสัน ทําให้ฉีกขาดและบิ่นง่าย คืออาการของคนที่ขาดธาตุเหล็ก
– เล็บสีซีดขาว อาจขาดโปรตีนอย่างรุนแรง
– เล็บฉีกลอกเป็นสะเก็ดคือ อาการของคนที่ขาดกรดไลโนลิอิก (linoleicacid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็น

http://www.marjani.ge/suratebi/toenail-fungus.jpg
10. เล็บที่ขึ้นหลุดจากฐานเล็บ
มาพร้อมกับมีจุดขาวปลายเล็บ บ่งบอกว่ามีความผิดปกติของระบบการหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพอง หรือหลอดลมอักเสบได้
[yengo]
การรักษาเมื่อพบว่าเล็บมีความผิดปกติ
หากเล็บเกิดความผิดปกติ ควรหาวิธีการจัดการแก้ไขแต่หากว่าไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ต้องรีบพบแพทย์
– การวินิจฉัยโรคขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ โดยพิจารณาจากอาการและอาการแสดง เมื่อแพทย์สงสัยว่าเล็บอาจจะเกิดจากเชื้อรา ควรมีการขูดขุยจากบริเวณเล็บที่หนาไปตรวจหาเชื้อราและเพาะเชื้อราแยกชนิดเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและพยากรณ์โรคได้อย่างเหมาะสม
– ในกรณีที่แพทย์สงสัยโรคมะเร็งผิวหนัง อาจต้องทำการตัดชิ้นเนื้อที่ใต้เล็บเพื่อตรวจลักษณะทางพยาธิวิทยาเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
– ในกรณีที่เล็บบอกถึงโรคทางกาย อาจต้องตรวจเลือด เช่น ตรวจหาระดับธาตุเหล็ก โรคไทรอยด์ โรคไตและโรคตับ
advertisement

http://3.bp.blogspot.com/-LOq2cvss5y8/VhZ8IGVtxEI/AAAAAAAABwk/rq074aVZ5ds/w923-h528-no/12104.jpg
ข้อควรปฎิบัติในการดูแล รักษาสุขภาพเล็บด้วยตนเอง
1) ตัดเล็บให้สั้นพอดีอย่างถูกวิธีและรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ระวังไม่ควรใช้ของมีคมขูดจมูกเล็บ เพื่อให้เล็บเป็นรูปร่างสวยงามเนื่องจากเป็นการทำลายการป้องกันตามธรรมชาติของร่างกาย ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือติดเชื้อราง่าย
2) มีการทาครีมบำรุงเป็นประจำเพื่อให้ผิวหนังรอบเล็บ มีความชุ่มชื้น ไม่แห้งเป็นขุย
3) เพื่อป้องกันเล็บจากการระคายเคืองหรือการแพ้ของสารเคมี ควรจะใส่ถุงมือป้องกันการระคายเคืองจากสารเคมีทุกครั้ง อย่างเช่นเวลาทำความสะอาดบ้าน ที่ต้องใช้น้ำยาสารเคมีต่างๆ
4) หมั่นล้างมือให้สะอาด เช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง เพื่อไม่ให้จมูกเล็บเปื่อยยุ่ยทำให้เกิดผื่นหรือการติดเชื้อได้ง่าย
5) ในกรณีเล็บผิดปกติ ควรดูแลรักษาด้วยตนเองในเบื้องต้น หากไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษามากกว่าซื้อยารับประทานหรือทายารักษาเอง
6) สำหรับสาวๆ ที่ชื่นชอบการทาเล็บไม่ควรเปลี่ยนสีเล็บบ่อยๆ และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน
7) รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ สารอาหารจะช่วยในการบำรุงสุขภาพร่างกายทุกส่วน ในคนที่สังเกตว่าได้รับสารอาหารบำรุงเล็บได้ไม่เพียงพอ ควรเสริมสารประเภทโปรตีนที่ชื่อว่า เคราติน เพื่อช่วยบำรุงเล็บให้มีสุขภาพดี
การหมั่นสังเกตความผิดปกติของสุขภาพร่างกายทุกส่วน เป็นเรื่องที่สำคัญนะคะ และอย่าลืมว่าสุขภาพเล็บก็สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่น เพราะไม่เพียงแค่ว่า เล็บที่มีความผิดปกติ จะส่งผลให้ไม่สวยงาม ไม่มั่นใจได้เท่าที่ควร แต่ยังเป็นสัญญาณของโรคร้าย ซึ่งหากว่าพบได้เร็วก็อาจมีหนทางรักษาให้หายขาดได้ และอย่าลืมดูแลรักษาความสะอาด ป้องกันและบำรุงรักษาเล็บอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com