ระบาดหนัก!! โรค “เฮอร์แปงไจน่า” หากใครมีอาการแบบนี้..ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน..
advertisement
ในช่วงที่มีการระบาดของโรคมือเท้าปาก มักจะมีการระบาดของอีกโรคหนึ่งซึ่งมีอาการแผลในปากเช่นกันคือโรคเฮอร์แปงไจนา (Herpangina) โรคนี้มีอาการอย่างไร และแตกต่างจากโรคมือเท้าปากอย่างไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่าค่ะ
เฮอร์แปงไจน่า
“Herpangina Virus” by Aphilosophicalmind
โรคเฮอร์แปงไจน่าเกิดจากอะไร?
โรคเฮอร์แปงไจน่าเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม เอนเตอโรไวรัส (Enterovirus) หลายชนิด ได้แก่ คอกแซคกีไวรัส และเอคโคไวรัส ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย ติดต่อได้จากการคลุกคลีกับผู้ป่วย แล้วสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ของผู้ป่วย[ads]
อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่าเป็นอย่างไร?
อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่าคล้ายกับโรคมือเท้าปากคือ
ผู้ป่วยจะมีแผลในปากที่บริเวณเพดานปาก ลิ้นไก่ ด้านหลังของคอหอย
แต่จะไม่มีมีผื่นสีแดง หรือตุ่มน้ำ ที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
อาจมีไข้สูงกว่าโรคมือเท้าปาก
อาการไข้จะลดลงภายใน 2-4 วัน
แผลในปากอาจคงอยู่ได้ประมาณ 1 สัปดาห์
การรักษาโรคเฮอร์แปงไจน่าทำได้อย่างไร?
เนื่องจากโรคเฮอร์แปงไจน่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงไม่มียาที่ใช้รักษาได้จำเพาะเจาะจง
advertisement
การดูแลผู้ป่วยจะใช้การรักษาตามอาการ ได้แก่
การเช็ดตัวลดไข้ ทานยาแก้ปวดลดไข้ เพื่อบรรเทาอาการไข้และการเจ็บแผลในปาก
หยดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปากก่อนทานอาหาร
ทานอาหารอ่อน ไม่ควรทานอาหารร้อนจัดเพราะอาจกระตุ้นให้เจ็บแผลในปากได้
อาจดื่มนมเย็น หรือไอศครีมได้ เพราะเนื่องจากความเย็นทำให้ชา ไม่เจ็บเวลากลืนและควรดื่มน้ำมากๆนะคะ
หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง คือ ไข้สูงลอย กินอาหารไม่ได้ มีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะออกน้อยและมีสีเข้มผิดปกติ ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อรับการตรวจรักษาแยกจากโรคอื่นๆ เช่น โรคมือเท้าปาก หรือการติดเชื้อแบคทีเรียในลำคอ[yengo]
เราจะป้องกันโรคเฮอร์แปงไจน่าได้อย่างไร?
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเฮอร์แปงไจน่า จึงต้องใช้การป้องกันโรคด้วยวิธีรักษาสุขอนามัยทั่วไปเพื่อป้องกันการติดต่อของโรค และเนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน วิธีการติดต่อก็เหมือนกับโรค มือ เท้า ปาก การป้องกันโรคจึงใช้หลักการเดียวกัน ได้แก่
เมื่อมีการระบาดของโรคไม่ควรนำเด็กเข้าไปในที่แออัด
ไม่ใช้ข้าวของเครื่องใช้ของเด็กแต่ละคนปะปนกัน
ทางโรงเรียนควรหมั่นทำความสะอาดของเล่นต่างๆ เพราะอาจปนเปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือสิ่งขับถ่ายของเด็กได้ตลอด
ควรมีการสอบถามประวัติอาการเด็กรวมทั้งตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองเด็กป่วยที่หน้าโรงเรียนทั้งอาการไข้ และตุ่มน้ำที่ปาก ผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในช่วงที่มีการระบาดของโรค
advertisement