แนะ 5 วิธี ลดปริมาณขยะ หลังคืนลอยกระทง”

advertisement
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะ 5 วิธี ลดปริมาณขยะในแหล่งน้ำ หลังคืนวันลอยกระทง เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี
[ads]
advertisement

นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในทุกๆ ปี เมื่อผ่านคืนวันลอยกระทงสิ่งที่ตามมาคือ ซากกระทงจำนวนมากที่ลอยอยู่ในแม่น้ำลำคลองหลายแห่ง จากสถิติของศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร พบว่า ปริมาณกระทงที่เก็บได้ในปี 2558 เฉพาะในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 825,614ใบ แบ่งเป็น กระทงจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ต้นกล้วย ใบตอง จำนวน 754,587 ใบ และกระทงจากโฟม จำนวน 71,027 ใบ แม้จะมีการใช้วัสดุธรรมชาติมากขึ้น แต่กระทงทั้งหมดก็กลายเป็นขยะที่ต้องถูกนำไปกำจัดเสียงบประมาณจำนวนมากเพื่อการจัดการ รวมถึงกระทงที่ทำจากขนมปัง ที่คนให้ความสนใจนำมาลอยมากขึ้นเพื่อให้เป็นอาหารปลา หากมีจำนวนมากเกินไปจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ ส่วนกระทงที่ทำจากโฟม เป็นวัสดุที่ย่อยสลายยากในธรรมชาตินานถึง 500 ปี หลายคนเชื่อว่าสะดวกดี ลอยน้ำได้ง่าย แต่อาจไปอุดตันตามท่อ กีดขวางทางน้ำ เป็นขยะที่มีสารพิษและมีส่วนทำให้โลกร้อนได้อีกด้วย
นายแพทย์ดนัย กล่าวต่อไปว่า การลอยกระทงโดยใส่ใจสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปริมาณขยะ และยังคงสืบสานประเพณีที่ดีงามนั้น สามารถปฏิบัติได้ด้วย 5 วิธีง่าย ๆ ดังนี้
advertisement

1) ลอยกระทงเดียวร่วมกัน ช่วยลดขยะและประหยัดเงิน เช่น มากันเป็นครอบครัวๆ ละ 1 ใบ มาเป็นกลุ่มเพื่อน กลุ่มละ 1
ใบ มากับแฟน ลอยกระทงร่วมกัน 1 ใบ เป็นการสานสัมพันธ์ที่ดี
2) เลือกกระทงที่ขนาดเล็กแทนขนาดใหญ่
3) เลือกกระทงที่ทำจากวัสดุจากธรรมชาติที่ไม่ทำให้น้ำเน่าเสีย หรือวัสดุที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้
4) เลือกกระทงที่ใช้วัสดุไม่หลากหลายเกินไปเพื่อลดภาระการคัดแยกก่อนนำไปกำจัด และไม่มีองค์ประกอบที่ย่อย
สลายยาก เช่น เข็มหมุด พลาสติก โฟม เพื่อลดขยะในแหล่งน้ำ
5) ลอยกระทงออนไลน์ เพื่อลดปริมาณขยะ
[ads]
"ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมอนามัยได้มีแนวทางการจัดการขยะ ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือการนำไปใช้ประโยชน์ อันจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดขั้นสุดท้าย เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บขนและกำจัด เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
ขอขอบคุณที่มาจาก: กรมอนามัย