แพทย์แจงแล้ว กินอาหารทะเลยังไงให้ปลอดภัย หลัง ปชช.กลัวเชื้อในอาหารทะเล
advertisement
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคในพื้นที่เมืองชายทะเลที่ใช้แรงงานต่างด้าว วันนี้ (21 ธ.ค.63) ยอดผู้ติดเชื้อสะสมรอบใหม่เกือบ 1,000 รายแล้ว โดยจุดแพร่ระบาดรอบใหม่เริ่มจากตลาดกุ้ง ซื้อเป็นตลาดที่ขายส่งอาหารทะเลขนาดใหญ่ที่มีพ่อค้าแม่ค้ามารับไปขายทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนมีความกังวลในการทานอาหารทะเลว่าจะมีการติดเชื้อหรือไม่?
advertisement
ล่าสุด ทางด้านศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ ได้ออกมาโพสต์บทความถึงเรื่องการระบาดของเชื้อโรคกับการทานอาหารทะเลยังไงให้ปลอดภัย โดยระบุว่า…
advertisement
โรคระบาดกับอาหารทะเล อาหารทะเลโดยมากจะต้องทำความเย็นหรือแช่แข็งเพื่อให้คงคุณภาพได้ดี ถ้าชาวประมง ผู้ขาย มีการติดเชื้อ โอกาสที่จะเชื้อปนเปื้อนอยู่ในอาหารทะเลและโรคระบาดคงชีวิตอยู่ได้นาน จึงมีความเป็นไปได้ ที่จะตรวจพบโรคระบาดในอาหารทะเลแช่เย็น เช่นการตรวจพบในปลาแซลมอน กุ้งนำเข้าในประเทศจีน
advertisement
การติดต่อของโรคระบาด ผ่านทางอาหารทะเล มีการตั้งข้อสงสัยในประเทศจีน อย่างไรก็ตามอาหารทะเลสามารถบริโภคได้ถ้าปรุงสุก ความร้อนสามารถทำลายโรคระบาดได้อย่างแน่นอน โรคระบาด สามารถทำลายด้วยความร้อน 56 องศานานครึ่งชั่วโมง และถ้าความร้อนสูงขึ้นระยะเวลาก็จะสั้นลง โดยทั่วไปแล้วถ้าความร้อนสูงกว่า 85 องศา ก็จะมั่นใจในการทำลายโรคระบาดได้ และถ้าต้มให้เดือดที่อุณหภูมิ 100 องศา โรคระบาดจะถูกทำลายทันที
ในช่วงที่มีการระบาดของโรคจึงไม่ควรรับประทานอาหารทะเลดิบหรือไม่สุก สิ่งที่จะต้องคำนึงคือการจับต้องกับอาหารทะเล ที่แช่เย็นมา จะต้องล้างมือให้สะอาด และชำระล้างอาหารทะเล โดยใช้น้ำสะอาดให้มีปริมาณมากพอ และจะต้องทำความสะอาดมือด้วยสบู่ ถ้าเป็นไปได้ควรใส่ถุงมือและล้างถุงมือ หรือใช้แบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง ทุกครั้งต้องล้างมือก่อนจับต้องใบหน้า
advertisement
ในระบบนำส่งอาหารทะเล ก็จะต้องมีมาตรการควบคุมดูแลเรื่องความสะอาด ตลอดเส้นทาง อุตสาหกรรมอาหารทะเล โรงงาน จะต้องหมั่นตรวจดูคนงาน และอาจจำเป็นต้องสุ่มตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งอาจไม่มีอาการของโรค
อาหารทะเลยังคงรับประทานได้ตามปกติและมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากโดยเฉพาะ ปลาทะเล แต่ขั้นตอนตั้งแต่ผลิตหรือจับมาจากชาวประมง จำหน่าย การเตรียมมาทำอาหาร ทุกขั้นตอนให้คำนึงเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย ในการจับต้องกับอาหารทะเลแช่เย็นหรือแช่แข็ง เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.ยง ภู่วรวรรณ