แสลงใจ..บำรุงหัวใจ!!

advertisement
“แสลงใจ” เป็นต้นไม้ที่สามารถพบได้ทั่วไป ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง และป่าหญ้าที่ค่อนข้างแห้ง ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-500 เมตร เรียกได้ว่ามีทุกภาคในประเทศไทยเรา ยกเว้นภาคใต้ เป็นพืชที่ออกดอกราวเดือนมีนาคมถึงเมษายน ผลแก่จัดช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นพืชที่น่าสนใจในเรื่องของสรรพคุณทางด้านสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง ด้วยช่วยในเรื่องบำรุงหัวใจ! ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญมากๆ ในร่างกายของเรา อยากรู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้ให้มากขึ้นกันแล้วใช่มั้ยคะ ตาม Kaijeaw.com มารู้จักสรรพคุณดีๆ ของสมุนไพรชนิดนี้กันค่ะ
advertisement

สมุนไพรแสลงใจมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Strychnos nux-vomica Linn. มีชื่อสามัญว่า Nux-vomica Tree และ Snake Wood จัดอยู่ในวงศ์ STRYCHNACEAE มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ ว่า แสลงทม แสลงเบื่อ (นครราชสีมา), แสงโทน แสลงโทน (โคราช), แสงเบื่อ (อุบลราชธานี), โกฐกะกลิ้ง กระจี้ กะกลิ้ง ตูมกาแดง (ภาคกลาง), ดีหมี, ว่านไฟต้น เป็นต้น
[ads]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสมุนไพรแสลงใจ
advertisement

ต้น : แสลงใจเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ มีเส้นใบตามขวาง 5 เส้น ยาว 3 เส้น ก้านใบสั้นยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ออกใบดกและหนาทึบ
advertisement

ดอก : ออกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะคล้ายร่ม ดอกย่อยมีขนาดเล็ด ดอกเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีเทาอมขาว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 5 กลีบ (กลีบดอกมี 5 กลีบ) กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กๆ ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
advertisement

ผล : เป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีส้มแดง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 3-5 เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน คล้ายรูปโล่หรือกระดุม ผิวเมล็ด : เป็นสีเทาอมสีเหลือง และมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาวขึ้นปกคลุมคล้ายกำมะหยี่
สรรพคุณทางยาสมุนไพรของแสลงใจ
ราก – มีสรรพคุณช่วยให้ระบาย โดยนำมาผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น รากชะมวง และรากปอด่อน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาระบาย รสเมาเบื่อ แก้ไข้มาลาเรีย ฝนน้ำกิน และทาแก้อักเสบจากงูกัด
ต้น – ต้มน้ำดื่ม หรือฝนทา แก้ปวดตามข้อ แก้อักเสบจากงูกัด
เปลือกต้น – มีรสเมาเบื่อ แก้พิษสัตว์กัดต่อย พิษงูกัด ฝนกับสุราปิดแผล และกินแก้พิษงู ในกรณีแก้อักเสบจากงูพิษกัด อาจใช้สมุนไพรก่อนแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล นำมาใช้ผสมกับรำให้ม้ากินช่วยขับพยาธิตัวตืด
เมล็ด – ตามตำรายาไทยเรียกเมล็ดแก่แห้งว่า “โกฐกะกลิ้ง” ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ขับน้ำย่อย เมล็ด (มีพิษมากต้องระมัดระวังในการใช้) มีรสเมาเบื่อขมจัด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต แก้อิดโรย แก้ไข้เจริญอาหาร ขับน้ำย่อย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง บำรุงประสาท หูตาจมูก บำรุงเพศของบุรุษ บำรุงกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้แข็งแรง แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นไส้ แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน แก้ไตพิการ แก้เส้นตาย แก้เหน็บชา แก้เนื้อชา แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย
แก่น – รสเมาเบื่อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ใบ – รสเมาเบื่อ ตำพอกแก้ฟกบวม ตำพอกแก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง
เนื้อไม้ – เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษร้อน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงประสาท แก้ไข้เซื่องซึม
ตามยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี หมอชาวบ้านใช้แก่น เข้ายากับเครือกอฮอล์ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้พิษภายใน
advertisement

ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) ซึ่งทำมาจากเมล็ดของต้นแสลงใจ
– มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงประสาท ช่วยทำให้มีกำลังรู้สึกเฉียบแหลมขึ้น บำรุงเส้นประสาทชนิดโมเตอร์ ให้กระเพาะและลำไส้ขย้อนอาหารและขับน้ำไฟธาตุ
– ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้ตัวเย็น แก้โลหิตพิการ แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ แก้คลื่นเหียน
– เป็นยาระบายอย่างอ่อน ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร
– ใช้เป็นยาบำรุงความกำหนัด
– ใช้แก้โรคอัมพาต เส้นตายและเนื้อชาไม่รู้สึก ใช้แก้ประสาทพิการ เส้นตาย เป็นเหน็บชา
[ads]
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรแสลงใจ
– ทุกส่วนของต้น และเมล็ด มีอัลคาลอยด์ เมล็ดมีอัลคอลอย์สตริกนีน (strychnine) และ brucine อัลคาลอยด์ strychnine เป็นสารมีพิษ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดความรู้สึกไวกว่าปกติ กลืนลำบาก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ชักกระตุก และอาจทำให้เสียชีวิตได้
– ควรรับประทานแต่น้อย การรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานนั้นจะเป็นอันตรายต่อตับได้
– สำหรับผู้ที่เป็นโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรไม่ควรรับประทานยานี้ (ในบางประเทศไม่ยอมรับสมุนไพรชนิดนี้ว่าเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรค)
อาการพิษ : ส่วนของเมล็ด ดอก ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง กลืนลำบาก ขาสั่น ชักอย่างแรง หัวใจเต้นแรง ขากรรไกรแข็งและตายได้ ในกรณีไม่ตายพบว่ามีไข้ ตัวชา กล้ามเนื้อเกร็ง หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออกมากติดต่อกันหลายวัน ขนาดรับประทาน 60-90 มิลลิกรัม ทำให้ตายได้
สมุนไพรแสลงใจ มีประโยชน์มากและหาได้ง่ายในบ้านเรานะคะ แต่ก็มีพิษที่ต้องระวังให้ดี เพราะไม่เช่นนั้นอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้นควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้รู้ และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยละเอียดก่อนการนำมาใช้ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com