กักตุนแล้วระบายน้ำตามแรงโน้มถ่วง!! โครงการ ‘แก้มลิง’ ในพระราชดำริ ‘ทุ่งทะเลหลวง’ บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน!!

advertisement
เมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปีพ.ศ.2538 ไม่เพียงแต่ทรงเป็นห่วงพระชาชนเท่านั่น แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ยังทรงคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน พระองค์ทรงมีพระราชดำริ " โครงการแก้มลิง" เพื่อบริหารจัดการน้ำ และแก้ปัญหาน้ำท่วม และพร่องน้ำลงสู่ทะเลเมื่อพร้อมตามหลักแรงโน้มถ่วงของโลก
แก้มลิง เป็นการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ (detention basin) เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ปัจจุบันมีพื้นที่แก้มลิงขนาดใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ เหนือท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกำหนดในผังการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่เขียวลาย ไม่เหมาะกับการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีแก้มลิงเล็กใหญ่กระจายอยู่ทั่ว กรุงเทพ กว่า 20 จุด
โครงการแก้มลิง มีแนวคิดจากการที่ลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มไว้ได้คราวละมาก ๆ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือ เต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"
ในโครงการ มีการวางแผนพื้นที่แก้มลิงอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กทม. กรมชลประทาน เป็นต้น แก้มลิงมี 3 ขนาด จากใหญ่ กลาง เล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อการชะลอน้ำก่อนที่จะจัดการระบายออกในเวลาต่อมา สามารถเป็นได้ทั้งพื้นที่ของรัฐและเอกชน
จังหวัดสุโขทัยเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้น้อมนำพระราชดำริมาบริหารจัดการน้ำ ให้เกิดเป็น "โครงการแก้มลิงในพระราชดำริ “ทุ่งทะเลหลวง”
advertisement

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อครั้งเสด็จมาเยือนสุโขทัยเมื่อพ.ศ.2535 ความว่า
“แม่น้ำยมในฤดูฝนมีน้ำมาก ในฤดูแล้งเกือบไม่มีน้ำ ให้พิจารณากั้นน้ำเป็นช่วงๆ แล้วผันน้ำเข้าคลองที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำยม แล้วขุดลอกในลำธารส่งน้ำไปเก็บกักไว้ตามหนองบึงธรรมชาติได้”
advertisement

"ตามปกติเวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง… เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้มน้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ “โครงการแก้มลิง” น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ “แก้มลิง” เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้” พระราชดำรัสเรื่องของแก้มลิง ได้พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม พ.ศ. 2538 [ads]
advertisement

กำเนิดทะเลหลวง (แก้มลิง)
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเยือนเมืองสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 2535 ทรงมีพระราชดำริว่า “แม่น้ำยมในฤดูฝนมีน้ำมาก ในฤดูแล้งเกือบไม่มีน้ำ ให้พิจารณากั้นน้ำเป็นช่วงๆ เพื่อผันน้ำเข้าคลองธรรมชาติที่มีอยู่เดิมทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำยม และขุดลอกให้สามารถส่งน้ำไปกักเก็บไว้ตามหนองบึงตามธรรมชาติได้” (กรมศิลปากร, กระทรวงศึกษาธิการ. 2537) (กรมชลประทาน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2547)
จากพระราชดำริสำคัญนี้ ฯพณฯ สมศักดิ์ เทพสุทิน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมรับกระแสพระราชดำริมาศึกษาวิเคราะห์ สภาพแม่น้ำยมตั้งแต่จังหวัดแพร่ จึงได้เริ่มทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในจังหวัดสุโขทัยหลายโครงการ และหนึ่งในโครงการสำคัญก็คือโครงการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำทะเลหลวง (แก้มลิง) ขึ้นในปี 2545
“แก้มลิง” เป็นการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ (DetentionBasin) เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยพิจารณาจากธรรมชาติของลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมากๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงอธิบายว่า ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ลิงจะรีบรับปอกเปลือกเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวี หรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง
advertisement

“ทุ่งทะเลหลวง (แก้มลิง) แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ รูปหัวใจ”
คำว่า "แผ่นดินรูปหัวใจ" เกิดจากแนวคิดของ ฯพณฯ สมศักดิ์ เทพสุทิน ที่ต้องการให้แผ่นดินนี้เป็นศูนย์รวมแห่งความรักใคร่ปรองดองของชาวเมืองสุโขทัยและเชื่อมโยงความรักผูกพันกับบรรพบุรุษสมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันจึงเลือกสัญลักษณ์แห่งความรักคือ “รูปหัวใจ” ส่วนคำว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ นั้น ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ ได้ดำเนินการจัดทำบุญพิธี เก็บและกลั่นดินจากทุกครอบครัวในแต่ละหมู่บ้านจำนวน 843 หมู่บ้าน ทำให้เป็นดินบริสุทธิ์ ด้วยการตั้งปณิธานร่วมแรงร่วมใจร่วมศรัทธากับชาวสุโขทัยว่าเราจะร่วมสร้างแผ่นดินนี้ให้รุ่งเรือง เป็นมิ่งขวัญของชาวสุโขทัย นำดินไปวางรองรับพระพุทธรัตนสิริสุโขทัย ณ มณฑปเกาะกลางแผ่นดินรูปหัวใจทุ่งทะเลหลวง เมื่อ วันที่ 17 มกราคม 2553 ด้วยงานบุญยิ่งใหญ่ที่ได้รวมพลังธรรมพลังศรัทธาของพี่น้องชาวสุโขทัยทุกครอบครัว จึงเรียกแผ่นดินนี้ว่า “แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์” [ads]
advertisement

อีกหนึ่งพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างยั่งยืน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : sukhothaipao