โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์..อาหารอะไรบ้างที่ควรกิน/ควรเลี่ยง?
advertisement
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดบวมตามข้อต่างๆ โดยเฉพาะส่วนใหญ่ที่ข้อขนาดเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อนิ้วเท้า และฝ่าเท้า และข้ออื่นๆ จะมีความปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อใช้งานข้อนั้นๆ และเมื่อพักการใช้ข้อนานๆ เช่น หลังตื่นนอนจะมีอาการข้อยึดแข็ง ขยับไม่ได้เป็นเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง นั่นเป็นอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ค่ะ โรคนี้หากทิ้งไว้จะเรื้อรัง ลุกลามมีผลทำลายอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่นปอด หัวใจ เม็ดเลือด ทำให้ต่อมน้ำตาฝ่อ ตาแห้งฝืด ฯลฯ นอกจากการรักษาแล้วการดูแลตนเองก็เป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกินค่ะ สำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์..อาหารอะไรบ้างที่ควรกิน/ควรเลี่ยง? ไปดูคำตอบพร้อม Kaijeaw.com กันค่ะ
advertisement
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นความผิดปกติเรื้อรัง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันรุกรานเนื้อเยื่อในร่างกายหลายแห่ง โดยเฉพาะส่วนข้อ ทำให้เกิดการอักเสบและทำให้ข้อเสื่อม ผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคครั้งแรกประมาณ 2 ใน 3 จะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งมักจะวินิจฉัยได้หลังจากมีอาการหลายเดือนแล้วอาการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดี ส่วนระยะที่อาการกำเริบ ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อยล้า เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ กล้ามเนื้อและข้อเกร็ง (พบมากในช่วงเช้า) ข้อเปลี่ยนเป็นสีแดง บวม ปวด นิ่ม โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างของร่างกายสมดุลกัน มักเกิดกับข้อเล็กนอกจากนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตและม้ามโตร่วมด้วย[ads]
advertisement
วิธีการสังเกตว่าตนเองเป็นโรครูมาตอยด์
– มีอาการอักเสบเรื้อรังของข้อต่อในร่างกายหลาย ๆ ข้อพร้อมกัน และมีอาการติดต่อกันเกิน 6 สัปดาห์
– บริเวณที่อักเสบส่วนใหญ่จะเป็นข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า มีอาการปวด บวม และเมื่อกดจะมีอาการเจ็บ
– มีอาการข้อฝืด ข้อแข็ง ไม่สามารถขยับตัวได้สะดวก โดยเฉพาะในเวลาเช้าหลังตื่นนอน และจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงจึงจะเริ่มขยับข้อต่างๆ ได้
– มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยทั้งตัว มีไข้ต่ำๆ น้ำหนักลดอย่างผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองและหลอดเลือดอักเสบ และโลหิตจาง
advertisement
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคข้อรูมาตอยด์
1. เข้ารับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง ควรพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรซื้อยากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ ไม่ควรใช้ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาลูกกลอน เพราะมักมียากลุ่มสเตียรอยด์ผสม ซึ่งทำให้การใช้ยาในช่วงแรกอาจดูเหมือนได้ผลดี แต่หลังจากนั้นจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาอีกมากมายดังกล่าวแล้ว
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ข้อเคลื่อนไหวได้เต็มองศาของข้อนั้น ช่วยลดความปวดและอาการอ่อนเพลียแนะนำให้ออกกำลังกายในน้ำหรือว่ายน้ำจะดีที่สุด เพราะไม่ทำให้ข้อได้รับการกระทบกระเทือนจากการลงน้ำหนัก และทางที่ดีก็ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดถึงวิธีการออกกำลังกายก่อนที่จะเริ่มทำจริงจัง เพราะจะได้ทราบถึงวิธีการออกกำลังกาย ท่าทางต่างๆ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนในแต่ละวัน
3. ไม่ควรนั่งยืนหรืออยู่ในอิริยาบถใดๆ ที่ไม่เกิดการเคลื่อนไหวของข้อใดข้อหนึ่งนานๆ เพราะจะทำให้ข้อแข็ง ขาดความยืดหยุ่น เกิดข้อยึดได้เร็วขึ้น ควรขยับข้อต่างๆ บ่อยๆ แต่ไม่ควรฝืนทำกับข้อที่กำลังมีอาการบวมและปวดอยู่
4. หลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่งผลให้ข้อได้รับความกระทบกระเทือน เช่น การยก การแบกของหนัก กระโดดจากที่สูง ควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่ใช้สว่านขุดเจาะ พยายามใช้ข้อใหญ่ในการทำงานก่อน เช่น ถ้าต้องยกของก็พยายามใช้ข้อมือหรือข้อศอกในการออกแรง ใช้แรงจากข้อนิ้วให้น้อยที่สุด เป็นต้น
5. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะช่วยลดการรับน้ำหนักของข้อเข่าข้อเท้าได้ แต่ต้องได้รับอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี และวิตามินซีอย่างเพียงพอ เพื่อการบำรุงเนื้อเยื่อและกระดูก
6. การใช้ยาเพื่อลดอาการปวดบวมของข้อ รวมไปถึงการแช่น้ำอุ่น พาราฟินอุ่น หรือการแช่ในน้ำแข็ง การประคบเย็น (Ice pack) ก็สามารถช่วยลดอาการได้
7. ควรรู้สมดุลร่างกายของตัวเองว่าเมื่อใดควรพักข้อที่อักเสบ และเมื่อใดควรให้ข้อนั้นออกกำลังกายจะช่วยให้รับมือกับโรคได้ดีขึ้น เช่น เมื่อข้อเกิดการอักเสบรุนแรงขึ้น ให้หยุดการออกกำลังบริเวณข้อทันที และเริ่มออกกำลังใหม่เมื่อการอักเสบลดลงแล้ว[ads]
การเลือกรับประทานอาหาร
1. ข้าวกล้อง
2. ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรือทำแห้ง ได้แก่ เชอรี่ แครนเบอรี่ ลูกแพร์ ลูกพรุน (ยกเว้น ผลไม้ตระกูลส้ม กล้วยลูกพีช หรือมะเขือเทศ)
3. ผักสีเขียว เหลือง และส้ม ที่ผ่านความร้อน ได้แก่ หัวอาร์ติโช้ค หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ ผักกาดแก้ว ผักโขม ถั่วฝักยาว มันเทศ มันสำปะหลัง และเผือก เป็นต้น
4. น้ำ ได้แก่ น้ำธรรมดา หรือ โซดา
5. เครื่องปรุงรส ได้แก่ เกลือปริมาณปานกลาง น้ำเชื่อมเมเปิ้ล และสารสกัดวานิลา
advertisement
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
อาหารที่มีผลกระตุ้นให้อาการกำเริบ คือ ผลิตภัณฑ์นมทุกชนิด ทั้งจากนมวัวและนมแพะข้าวโพด เนื้อสัตว์ทุกชนิด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวไรซ์ ไข่ ผลไม้ตระกูลส้ม มันฝรั่ง มะเขือเทศ ถั่ว กาแฟ รวมไปถึงอาหารบางชนิดที่อาจจะกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ในบางคน แต่ไม่กระตุ้นอาการในคนกลุ่มใหญ่ เช่น เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ กล้วย ช็อกโกแล็ต มอลต์ ไนเตรต หอมใหญ่ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง น้ำตาลอ้อย และเครื่องเทศบางชนิด
โรครูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งค่ะ ทางที่ดีคือควรหมั่นดูแลและสังเกตสุขภาพอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติใดๆ ควรพบแพทย์ และอย่าลืมที่จะดูแลตนเอง เลือกรับประทานอาหารที่ดี และหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นโรคด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com