โรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน” ไม่อันตราย ไม่ติดต่อ แต่เป็นเรื้อรัง ให้รำคาญใจ
advertisement
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน (seborrheic dermatitis) หรือ “เซ็บเดิม” เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย 1-5% ในประชากรทั่วไป ซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆหายๆ แต่ไม่ติดต่อจาการสัมผัส แต่เป็นเป็นโรคที่มีผลต่อทางด้านจิตใจ ความมั่นใจและบุคลิกภาพของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยลักษณะของโรคจะเกิดบริเวณผิวหนังที่มีต่อมไขมันเป็นจำนวนมาก เช่น หนังศีรษะ ไรผม ข้างจมูก คิ้ว(บริเวณ T-Zone) บนใบหน้า หน้าอก เป็นต้น บริเวณดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นขุยสีเหลือง มันวาว ร่วมกับมีผื่นแดงร่วมด้วย[ads]
advertisement
1.ส่วนใหญ่เป็นกับผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สำหรับเด็กทารกแรกคลอด สามารถพบโรคนี้ในช่วง 3 เดือนแรกหลังคลอด ซึ่งสามารถหายได้เอง โดยสามารถพบสะเก็ดหนาสีเหลือง เป็นมันติดแน่นเป็นแผ่น เชื่อว่าการที่เกิดโรคนี้ในทารกเกิดจากฮอร์โมนจากแม่ที่ถ่ายทอดไปยังลูก ฮอร์โมนตัวนี้จะกระตุ้นต่อมไขมันในผิวหนังที่หนังศีรษะ ทำให้หนังศีรษะและเส้นผมเป็นมันเยิ้ม แต่หลังจากนั้นอิทธิพลของฮอร์โมนจะเริ่มหมดไป ผื่นจึงดีขึ้นได้เอง แต่ในช่วงวัยรุ่น จะเกิดการที่เริ่มมีการผลิตฮอร์โมนเพศที่ไปกระตุ้นต่อมไขมันให้มีขนาดโตขึ้นและหลั่งไขมันออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรค
2. อาการที่เป็นจะเป็น ๆ หาย ๆ ในผู้ใหญ่ แต่จะหายเองได้ในเด็กทารก มักจะสัมพันธ์กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น หน้าหนาว อากาศแห้ง ผื่นจะกำเริบได้บ่อยกว่า และอาจดีขึ้นในหน้าร้อน
3. อาการผู้ป่วยบางรายจะสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาทบางชนิด เช่น Parkinson’s, Alzheimer disease หรือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) จะทำให้โรคนี้เป็นรุนแรงมากขึ้น
advertisement
แต่ในรายที่เป็นรุนแรง หรือมีการอักเสบเรื้อรัง อาจทาสเตียรอยด์ อ่อน ๆ ที่บริเวณผื่น 2-3 วัน ร่วมกับการทาครีมบำรุงผิว สำหรับในผู้ใหญ่ ผื่นจะเป็นเรื้อรัง เป็นๆหายๆ การรักษาจะเน้นที่การควบคุมโรค มากกว่าที่จะรักษาให้หายขาด ผื่นแพ้ต่อมไขมันที่ศรีษะ แนะนำให้ใช้ยาสระผมที่มีส่วนประกอบของ tar (น้ำมันดิน ) , zinc pyrithione , selenium sulfide, sulfur , salicylic acid , ketoconazole เป็นต้น เพื่อลดรังแค ขุยที่หนังศรีษะ ในคนไข้ที่ผื่นหนาอักเสบมาก อาจทายาสเตียรอยด์ร่วมด้วยได้ ผื่นแพ้ต่อมไขมัน ที่ใบหน้า ข้างจมูก คิ้ว แนะนำให้ใช้ยามีฤทธิ์ลดการอักเสบของผิวหนัง หรือลดจำนวนเชื้อรา เช่น ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ และยาทาลดเชื้อยีสต์ สำหรับยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ถ้าใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้เป็นสิว ผิวบาง เส้นเลือดขยาย และติดสเตียรอยด์ได้
advertisement
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์