โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และการรักษา
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/09/มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ.gif)
advertisement
กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน ทาหน้าที่กักเก็บปัสสาวะและมีชั้นกล้ามเนื้อที่ทาให้กระเพาะปัสสาวะหดหรือขยาย ในกรณีที่เซลล์มะเร็งอยู่เฉพาะที่บริเวณเยื่อบุของกระเพาะปัสสาวะ เราเรียกมะเร็งชนิดนี้ว่ามะเร็งที่ยังไม่มีการลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อ (non-muscle invasive bladder cancer or superficial bladder cancer) ซึ่งมากกว่า 75% ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยอยู่ในระยะนี้ ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตสูงมาก ส่วนในกรณีที่เซลล์มะเร็งมีการลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อ ตัวโรคจะมีโอกาสกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยในกลุ่มนี้ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 4 เท่าและพบในคนผิวขาวมากกว่าคนเอเชียถึง 2 เท่า
advertisementzabzaa.com
การรักษา
ขึ้นอยู่กับระยะของโรค สภาพของผู้ป่วย ซึ่งโรคนี้ถ้าตรวจพบเจอตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็มักจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยคร่าวๆ การรักษาประกอบไปด้วย
-การฉายรังสีโดยการใช้รังสีโฟตอนพลังงานสูงเพื่อทาลายเซลล์มะเร็ง
-การผ่าตัดอาจเป็นขั้นตอนแรกในการรักษาโดยการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมด ซึ่งหากผลชิ้นเนื้อพบว่ามีการลุกลามมาถึงชั้นกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการรักษาโดยการฉายรังสีหรือให้ยาเคมีบาบัดต่อไป
-การให้ยาเคมีบาบัด ในอดีตการผ่าตัดโดยเอากระเพาะปัสสาวะออกไปเป็นหนทางเดียวในการรักษาให้หายขาด แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ของการฉายรังสี และความก้าวหน้าของยาเคมีบาบัด ทาให้เราสามารถรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะให้หายขาดได้ โดยยังเก็บกระเพาะปัสสาวะไว้
การฉายรังสี
advertisement
![การฉายรังสี](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/09/การฉายรังสี.jpg)
การฉายรังสีนั้นเป็นการใช้รังสีเพื่อรักษามะเร็ง โดยจะมีผลต่อเซลล์มะเร็ง โดยทาให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวได้และเมื่อเซลล์มะเร็งตาย ร่างกายจะมีการกาจัดด้วยกลไกตามธรรมชาติ เซลล์เนื้อเยื่อปกติเราก็ได้รับผลจากรังสีเช่นเดียวกัน แต่จะมีกลไกการซ่อมแซม ซึ่งกลไกนี้เซลล์มะเร็งไม่มี การฉายรังสี (external beam radiation therapy) ส่วนใหญ่มักให้ร่วมกับการให้ยาเคมีบาบัด
การใส่แร่ (internal beam radiation therapy or brachytherapy) บางครั้งอาจใช้ร่วมกับการฉายรังสี ก่อนการฉายรังสีผู้ป่วยต้องได้รับการวางแผนการฉายรังสีโดยการทาเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยจัดท่าให้เหมือนเวลาฉายรังสีจริง โดยใช้อุปกรณ์ในการจัดท่าทางเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสบายมากที่สุด หลังจากนั้นรังสีแพทย์จะนาภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ประกอบกับผลชิ้นเนื้อมาใช้วางแผนในการรักษา
การฉายรังสีแบบสามมิติเป็นการฉายรังสีที่ให้ปริมาณรังสี ที่พอเหมาะกับบริเวณรอยโรคโดยให้รังสีโดนอวัยวะข้างเคียงในปริมาณน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังมีการใช้การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (Intensity modulated radiation therapy or IMRT) ซึ่งการฉายรังสีแบบ IMRT นั้นยังอยู่ในช่วงกาลังศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ระยะเวลาที่ใช้ในการฉายรังสีแต่ละวันอยู่ที่ 10-15 นาทีต่อวัน ฉายรังสีสัปดาห์ละ 5 วัน ติดต่อกันและเว้น 2 วัน โดยการฉายรังสีแต่ละวันผู้ป่วยจะไม่มีการเจ็บปวดใดๆ
ผลข้างเคียงของการฉายรังสี
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/09/อ่อนเพลีย.jpg)
ผลที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปในแต่ละราย ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสี หรือการรักษาอื่นร่วมด้วย เช่น การให้เคมีบาบัดร่วม ผลข้างเคียงในการฉายรังสีบริเวณช่องเชิงกราน ในโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ได้แก่
-ปัสสาวะบ่อยขึ้น รู้สึกระคายเคืองตอนปัสสาวะ
-ลาไส้แปรปรวน อาจมีลมในท้องหรือมีอาการท้องเสียได้
-อ่อนเพลีย
-ผิวหนังบริเวณที่ได้รับการฉายรังสีอาจมีสีคล้าขึ้นเหมือนโดนแดดได้
-ขนบริเวณหัวหน่าวร่วงได้ แต่จะขึ้นได้ใหม่เมื่อหยุดการฉายรังสี แต่จะไม่มีผลต่อผม
-ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาทางด้านเพศสัมพันธ์ เช่น ผู้ป่วยหญิงอาจมีช่องคลอดแห้งลง หรือในผู้ป่วยชายอาจมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศ แต่มักเป็นผลข้างเคียงแบบชั่วคราว
การปฏิบัติตัวระหว่างการฉายรังสี
advertisement
![พักผ่อน](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/09/พักผ่อน.jpg)
[yengo]
-พักผ่อนให้เพียงพอ
-ปฏิบัติตัวตามคาแนะนาของแพทย์ หากมีข้อสงสัยควร ปรึกษาแพทย์
-แจ้งให้แพทย์ทราบเสมอเกี่ยวกับยาหรืออาหารเสริมที่รับประทานอยู่
-กินอาหารที่มีประโยชน์และถูกสุขลักษณะ
-บริเวณผิวหนังที่มีการฉายรังสี ให้หลีกเลี่ยงการประคบร้อนหรือเย็น สามารถใช้โลชั่นหรือครีมทาได้ ตามคาแนะนาของแพทย์
-อาบน้าได้แต่ให้ใช้น้าเปล่าล้างและใช้ผ้าสะอาดนุ่มซับให้แห้ง
ที่มา: สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (แผ่นพับ)