โรคหัวใจขาดเลือด..เกิดจากอะไร?
advertisement
โรคหัวใจขาดเลือด คือภาวะที่หัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่พอ อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจตีบคือ ภาวะที่หลอดเลือดนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบตันขึ้น เช่น จากภาวะหลอดเลือดแข็ง ภาวะหลอดเลือดแข็งมักพบในคนอายุมาก เนื่องจากมีไขมันและหินปูนไปจับ
1. โรคทั้งสองนี้เกิดขึ้นจากอะไร ยังไม่มีใครพบสาเหตุที่แท้จริงแต่มีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้คือ
1.1 กรรมพันธุ์ เช่น โรคไขมันในเลือดสูงมาแต่กำเนิด โรคเบาหวาน เป็นต้น
1.2 เพศและอายุ มักเป็นในเพศชายและคนอายุมากจะเป็นมาก
1.3 โรคบางอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเกาต์
1.4 ความอ้วนและภาวะที่มีไขมันบางชนิดในเลือดสูง
1.5 การสูบบุหรี่และการดื่มกาแฟเกินควร
1.6 การออกกำลังกาย ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายสม่ำเสมอ มักจะเป็นโรคนี้ได้น้อยกว่า
1.7 ภาวะทางจิตใจ ผู้ที่มีจิตใจตึงเครียด มีความกังวลใจมาก และไม่รู้จักพักผ่อนในด้านจิตใจจะเป็นโรคนี้ได้บ่อยกว่า[ads]
2. ถ้าเป็นโรคนี้จะมีอาการอย่างไร อาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหล่านี้ คือ
2.1 อาการเจ็บหรือแน่น หรือจุกที่หน้าอก ลิ้นปี่ คอ ขากรรไกร ข้อศอก หรือมีอาการเมื่อยล้าโดยไม่มีสาเหตุ ที่แขน หรือที่มือ หรือที่ขากรรไกร
2.2 หายใจไม่ออก หอบเหนื่อย หรือหายใจเหมือนคนเป็นหืด
2.3 อาการใจเต้นผิดปกติ เต้น ๆ หยุด หรือเต้นแรงเป็นบางคน
2.4 อาการเป็นลม เช่น หน้าซีด ใจสั่น มือเท้าเย็น หมดสติ ซึ่งเกิดร่วมกับอาการอื่น
2.5 อาการหมดสติและถึงแก่กรรมทันที
3.เราจะรู้ว่าเป็นโรคนี้ได้อย่างไร
โดยการไปหาแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้ โดยอาศัยประวัติการตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นหัวใจ (E.K.G.) เอ็กซเรย์ทรวงอกและอื่น ๆ[ads]
4.โรคนี้ป้องกันได้ไหม ได้ถ้าตั้งใจดังต่อไปนี้ คือ
4.1 ลดน้ำหนัก
4.2 กินอาหารที่มีไขมันโดยเฉพาะไขมันจำพวกโคเลสเตอรอลให้น้อยลง และใช้น้ำมันพืชแทน
4.3 อย่าสูบบุหรี่และดื่มกาแฟเกินควร
4.4 ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
4.5 พยายามให้จิตใจมีโอกาสพักผ่อนบ้าง อย่าเคร่งเครียดกับการงานจนเกินไป
4.6 รักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเกาต์ โรคไขมันในเลือดสูง
advertisement
5.เป็นแล้วจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเหมือนคนปกติได้ไหม และจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้นานไหม
คำตอบอยู่ได้เกือบได้เป็นคนปกติ แต่ต้องเชื่อฟังคำแนะนำของแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในระยะแรกเพราะเป็นเวลาที่ร่างกายกำลังซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และส่งแขนงหลอดเลือดข้างเคียงเข้าไปทำหน้าที่ทดแทน และถ้าระมัดระวังตัวดีพอ อาจอยู่ได้นานพอสมควร และอาจจะเกือบเท่าคนปกติได้
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ Thai Heart Foundation