โลดทะนงแดง..สมุนไพรแก้พิษงู!!
advertisement
โลดทะนงแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trigonostemonreidioides (Kurz) Craib
อยู่ในวงศ์ : Euphorbia-ceae
ชื่ออื่นๆ : ข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี, ประจวบคีรีขันธ์), ดู่เบี้ย ดู่เตี้ย (เพชรบุรี), ทะนง รักทะนง (นครราชสีมา), ทะนงแดง (ประจวบคีรีขันธ์), นางแซง (อุบลราชธานี), โลดทะนงแดง (บุรีรัมย์), หนาดคำ (เหนือ) หัวยาเข้าเย็นเนิน ข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี, ประจวบคีรีขันธ์)
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ถึง 1 เมตร มีรากเก็บสะสมอาหารพองโต ผิวสีแดงอมม่วง เนื้อสีขาว ลำต้นเรียวเล็ก ขึ้นเป็นกอ ทุกส่วนของต้นมีขน ลำต้นมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับ เนื้อใบหนา แผ่นใบรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร โคนใบมน มีต่อมเล็กๆ 2 ต่อม ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เห็นเส้นใบย่อยเห็นชัด และมีขนนุ่มหนาแน่นบนผิวใบทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร
ดอก: แบบกระจะ ดอกสีขาว ชมพู ม่วงเข้มหรือเกือบดำ ออกเป็นช่อตามซอกใบและตามกิ่งก้าน ยาว 7-10 เซนติเมตร ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีจำนวนมากกว่าอยู่บริเวณโคนช่อ มีลักษณะตูมกลม ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ก้านดอกมีขน มีกลีบดอก 5 กลีบ ไม่มีขน มีเกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นแท่งเดียว ดอกเพศเมียตูมรูปไข่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขน จานฐานดอกล้อมรอบฐานของรังไข่ มีรังไข่เหนือวงกลีบ กลีบดอกสีขาว
ผล : แห้งแตกได้ รูปค่อนข้างกลม มีขนสั้นนุ่มปกคลุมหนาแน่น แบ่งเป็น 3 พูชัดเจน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 มิลลิเมตร มีก้านสีแดง ยาว 3-5 เซนติเมตร
เมล็ด : รูปค่อนข้างกลมหรือรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ผิวเรียบพบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ออกดอกตลอดปี
[ads]
การขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ดเจริญงอกงามในฤดูฝน พบถึงฤดูแล้งต้นมักตายแล้วเกิดหน่อใหม่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน พบตามป่าเบญจพรรณแล้ง
advertisement
สรรพคุณทางยา
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี
ราก : เข้ายากับน้ำมะนาว ฝนกับน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง พิษแมงมุม ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา
เหง้า : ฝนทา แก้สิว ฝ้า และฟกช้ำ เคล็ดบวม ราก ผสมกับพญาไฟ และปลาไหลเผือก ฝนน้ำดื่มถอนเมาเหล้า
ยาพื้นบ้าน
ราก: ผสมกับเมล็ดหมาก ฝนน้ำกิน และผสมกับน้ำมะนาว ทาแผลแก้พิษงูชนิดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ซึ่งควรมีการวิจัยเพิ่มเติม ต้มน้ำดื่ม หรือฝนรับประทาน ทำให้อาเจียนอย่างหนัก ใช้ถอนพิษคนกินยาเบื่อยาเมา หรือฝนน้ำกินช่วยให้เลิกดื่มเหล้า
ตำรายาไทย
ราก : มีรสร้อน ฝนน้ำกินทำให้อาเจียน เพื่อถอนพิษคนกินยาเบื่อ เมาพิษเห็ดและหอย แก้พิษงู แก้เสมหะเป็นพิษ (เสมหะหรืออุจาระเป็นมูกเลือด) แก้หืด แก้วัณโรค เป็นยาระบาย ฝนเกลื่อนฝี หรือดูดหนองถ้าฝีแตก แก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม แก้ปวดฝี คุมกำเนิด ต้มดื่ม แก้วัณโรค ฝนกับน้ำมะนาว หรือสุรา รับประทานแก้พิษงู ฝนทาแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก
advertisement
[yengo]
ด้านงานวิจัยทางการแพทย์
ตำรับโลดทะนงแดงรักษาพิษงูที่มีการเผยแพร่จากโรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ80 พรรษาจ.สุรินทร์ เป็นตำ รับที่มีการใช้จริงในโรงพยาบาลโดยใช้หลักการรักษาแบบผสมผสาน จะมีหมอเอียะสายกระสุน หมอพื้นบ้าน ร่วมรักษาคนไข้ที่ถูกงูกัดกับทีมแพทย์ในโรงพยาบาล ซึ่งใช้สมุนไพร 3 ชนิดคือรากต้นโลดทะนงแดง หมากและมะนาว โดยได้ทำ การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ พบว่าผู้ป่วย 11 ราย เป็นงูที่มีพิษต่อระบบประสาทกัด 9 ราย และเป็นงูที่มีพิษต่อระบบเลือด 1 ราย และสรุปไม่ได้1 ราย ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดมีระดับความรุนแรงของอาการน้อย ใช้รากของต้นโลดทะนงแดง และผลหมาก นำ มาฝนกับหินลับมีดบีบน้ำ มะนาวใส่เป็นตัวผสานยาทั้งสองเข้าด้วยกัน นำ มาพอกบริเวณแผลที่ถูกงูพิษกัด และผสมกับน้ำสะอาดประมาณครึ่งแก้ว ให้ผู้ป่วยดื่มเพื่อขับพิษงูจากภายในร่างกาย หลังจากที่ผู้ป่วยดื่มยาสมุนไพรไประยะหนึ่ง จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว ซึ่งเป็นผลจากยาสมุนไพร ผลการรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่ 8 ราย นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียงวันเดียว ผู้ป่วย 5 ราย เกิดอาการ อาเจียนหลังจากกินยาสมุนไพรและหยุดภายใน 1 – 3 ชั่วโมง กลุ่มที่อาเจียนนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 2.4 วัน กลุ่มที่ไม่อาเจียนนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยเพียง 1 วัน ผู้ป่วยที่เกิดพิษต่อระบบประสาทอาเจียนโดยนาน 180 นาทีและเกิดพิษต่อระบบเลือดอาเจียนเฉลี่ยนาน 21.5 นาท
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยต่อยอดไปอีกเกี่ยวกับผลการรักษา คนไข้ที่ถูกงูพิษกัดตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก (นครราชสีมา บุรีรัมย์ศรีสะเกษ สุรินทร์และอุบลราชธานี) พบว่าการใช้สมุนไพรรักษามีอัตราการหายอยู่ที่97 % อัตราการส่งต่ออยู่ที่3% แต่ถ้าเป็นคนไข้ที่ไม่ได้รับสมุนไพร ใช้แต่เซรุ่มและยา อัตราการหายอยู่ที่ 87% อัตราการส่งต่ออยู่ที่ 11% งานวิจัยนี้เป็นงานที่ยืนยันว่าสมุนไพรตำ รับนี้มีประโยชน์และสามารถรักษาพิษงูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรียบเรียงข้อมูลโดย : Kaijeaw.com
อ้างอิงข้อมูลจาก/ References:
ณัฐดนัย มุสิกวงศ. 2558. โลดทะนงแดง สมุนไพรแก้พิษงู,อภัยภูเบศสาร.12.(139), 1.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัช มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก phargarden.com
ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก dmsc.moph.go.th