ไขข้อสงสัย ปกติ เสา-ราง-รถไฟฟ้าต้องทำความสะอาดหรือไม่
advertisement
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อสมาชิกเฟซบุ๊กรายหนึ่งได้ออกมาตั้งคำถามเล่าว่า…"ถามเพื่อนๆ เสา ราง รถไฟฟ้า ปกติต้องทำความสะอาด หรือทาสีอะไรไหม หรือประเทศอื่นเขามีวิธีดูเเลยังไง หรือเขาปล่อยกันเเบบนี้"
จะเห็นได้ว่ามีคราบสกปรกบนเสาโครงสร้างดำดูเหมือนกับว่าเมืองร้าง ถ้าทำความสะอาดจริงๆจะต้องทำยังไง ต่างประเทศเริ่มเห็นมีการปลูกไม้เลื้อย จะมีขอดีข้อเสียยังไงไปดูกันเลยครับ
สําหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่งทางรางมักถูกออกแบบให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานโดยเฉพาะโครงการระบบขนส่งทางรางในปัจจุบันถูกออกแบบให้มีอายุการใช้งาน (Service Life) ถึง 100 ปี
advertisement
โพสต์ดังกล่าว
advertisement
ความคิดเห็นชาวเน็ต
advertisement
"เอาน้ำดันแรงสูงฉีดทำความสะอาดครับเคยเห็นเค้าทำครั้งเดียวสมัยที่กทม.เป็นเจ้าภาพประชุมผู้นำเอเปก เมื่อสิบกว่าปีก่อน"
advertisement
"หลายๆช่วงของสุขุมวิทใช้วิธีปลูกต้นไม้คลุมรอบเสาไปเลย ก็สวยดี สบายตาด้วยครับ แต่ถ้าสูงๆแบบช่วงราชประสงค์/ปทุมวัน ผมว่าใช้เครื่องฉีดน้ำ high pressure ก็ได้นะผมว่า"
advertisement
"มันขัดได้ครับ แต่งบประมาณมหาศาล เพราะต้องใช้รถกระเช้าขึ้นทำทีละต้น แถมการจราจรแถวนั้นแน่นทั้งกลางวันและกลางคืน(ไม่นับช่วงนี้นะ) ส่วนทาสีไม่ค่อยมีที่ไหนนิยมทำครับ เหมือนทางด่วน ส่วนไม้เลื้อยผลเสียเยอะกว่าผลดี ค่าบำรุงสูง กัดผิวคอนกรีต ถ้าหากเกิดรอยร้าวจะมองเห็นได้ยาก"
advertisement
"ใช้น้ำฉีดแล้วทากันเชื้อราครับ แต่บ้านเรามลพิษสูงมากต้องทำกันบ่อยๆ"
advertisement
"กรุงเทพ ฝนเป็นกรด เลยทำให้คอนกรีตเกิดการกัดเซาะผสมกับฝุ่นควันเลยทำให้สีออกดำๆ ครับ อย่างที่เมืองจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ยังมี พนง. ทำความสะอาดทุก 3เดือน"
ทั้งนี้ในการดําเนินการบํารุงรักษาเพื่อให้ครอบคลุมปัจจัยสําคัญ จะขึ้นอยู่กับนโยบายไปจนถึงการปฏิบัติการของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน สามารถมันขัดทำความสะอาดได้แต่งบประมาณมหาศาล เพราะต้องใช้รถกระเช้าขึ้นทำทีละต้น แถมการจราจรแถวนั้นแน่นทั้งกลางวันและกลางคืน ส่วนไม้เลื้อยผลเสียเยอะกว่าผลดี ค่าบำรุงสูง กัดผิวคอนกรีต ถ้าหากเกิดรอยร้าวจะมองเห็นได้ยาก
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มา : Thana Nawanin