ไพล..สมุนไพรไกล้ตัวต้านสารพัดโรค!!
advertisement
ชื่อสมุนไพร:ไพล
ชื่ออื่นๆ:ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน) ว่านไฟ (ภาคกลาง) ว่านปอบ (ภาคอีสาน) ไพลเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์:Zingiber cassumunar Roxb.
ชื่อพ้อง:Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr., Z. cliffordiae, Z. purpureum Roscoe
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae
advertisement
ลักษณะของต้นไพล
ไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อ หรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แง่งหรือเหง้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการเพาะปลูก
ใบไพล : ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบกว้างประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 18-35 เซนติเมตร
ผลไพล : ลักษณะของผลเป็นผลแห้งรูปกลม
ดอกไพล : ออกดอกเป็นช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกมีสีนวล มีใบประดับสีม่วง
[ads]
สรรพคุณ ตำรายาไทย
เหง้า :รสฝาดขื่นเอียน ใช้ประคบหรือฝนทา แก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม แก้เหน็บชา เส้นตึง เมื่อยขบ เป็นส่วนประกอบหลักในการทำลูกประคบ ช่วยสมานแผล แก้เล็บถอด ใช้อาบและประคบเพื่อให้เลือดลมไหลดีในสตรีหลังคลอด ทาบรรเทาอาการผื่นคันจากการแพ้ ใช้ภายใน แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้หืด ผสมยาอื่น เช่น ตำรับยาประสะไพล เป็นยารับประทาน ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับระดู ขับโลหิตเสีย
ราก :รสขื่นเอียน ขับโลหิต ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ท้องผูก เคล็ดยอก โรคผิวหนัง โรคอันบังเกิดแต่โลหิตอันออกทางปากและจมูก แก้อาเจียนเป็นโลหิต
ดอก :รสขื่น กระจายเลือดที่เป็นลิ่มก้อน กระจายโลหิตอันเกิดแต่อภิญญาณธาตุ ขับโลหิต แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้เลือดกำเดาออกทางจมูก แก้ช้ำใน ขับระดูประจำเดือน ทำลายเลือดเสีย
ต้น: รสฝาด ขื่นเอียน แก้ธาตุพิการ แก้อุจจาระพิการ
ใบ: รสขื่นเอียน แก้ไข้ แก้ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ปวดเมื่อย
ช่อดอก: ต้มจิ้มน้ำพริก เป็นผักได้
advertisement
วิธีใช้
รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ดขัดยอก หรือใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อย คลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อย และบวมฟกช้ำ เช้า-เย็นจนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพลหนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่ผงกานพลูประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใสการบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ในภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูร ให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของนายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา)
ครีมที่มีน้ำมันไพล 14% ใช้ทาและถูเบาๆบริเวณที่มีอาการบวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก วันละ 2-3 ครั้ง
รักษาโรคผิวหนังผื่นคัน เหง้าบดทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสดล้างให้สะอาด ฝนน้ำทา
ข้อควรระวัง:
การรับประทานในขนาดสูงหรือใช้เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดพิษต่อตับ และยังไม่มีความปลอดภัยที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหืด และไม่ควรนำเหง้าไพลมาใช้รับประทานเป็นยาเดี่ยว ติดต่อกันนาน นอกจากจะมีการขจัดสารที่เป็นพิษต่อตับออกจากไพลเสียก่อน
สูตรยาหม่องสมุนไพรไพลสด
ส่วนผสมที่ต้องเตรียม
1. พิมเสน 1 ส่วน
2. การบูร 1 ส่วน
3. วาสลีน 5 ส่วน
4. เมนทอล 2 ส่วน
5. ไพลสด 2 ส่วน
6. พาราฟิน 2 ส่วน
7. น้ำมันระกำ
[yengo]
วิธีทำ
1. นำไพลล้างให้สะอาด หั่นและทุบให้ไพลค่อนข้างละเอียดแล้วนำไปตุ๋นในหม้อ ประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำ
2. นำส่วนผสมทั้ง 5 รายการ ลงผสมเข้าด้วยกันให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
2.1 พิมเสน 1 ช้อนโต๊ะ
2.2 เมนทอล 1 ช้อนโต๊ะ
2.3 การบูร 1 ช้อนโต๊ะ
2.4 น้ำมันระกำ 1 ช้อนโต๊ะ
2.5 น้ำมันไพล 5 ช้อนโต๊ะ
3. นำพาราฟิน 1 1/2 ช้อนโต๊ะ, วาสลีน 1 ช้อนโต๊ะ ใส่หม้อตุ๋นตั้งไฟให้ละลาย
4. นำส่วนผสมในข้อ 1 ใส่รวมกับข้อ 2 ตุ๋นไฟอ่อนๆ คนจนเป็นเนื้อเดียวกัน (ละลายเป็นน้ำ)
5. นำยาหม่องไพลที่ผสมแล้วในข้อ 3 ขณะที่ยังร้อนใส่ขวดทิ้งไว้ให้แข็งตัว (ในขณะที่ยาหม่องยังไม่แข็งตัว ห้ามเคลื่อนย้ายเพราะจะทำให้ปากขวดเลอะ)
advertisement
**เคล็ดลับน่ารู้**
ในการทำยาหม่องยาหม่องสมุนไพรไพลสดนั้นไพลที่ใช้เป็นไพลสดที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป และการสกัดไพลต้องสกัดด้วยความเย็น
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com
อ้างอิงข้อมูลจาก: www.thaicrudedrug.com
(ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
www.phargarden.com
(ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)