“ไมยราบ” วัชพืชเป็นยาดี ต้านสารพัดโรค !!
advertisement
“ไมยราบ” หรือที่เรียกชื่ออื่นๆ ไม่ว่าหญ้าต่อหยุบ หญ้ายุบยอบ กะหงับ ก้านของระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ และหญ้าปันยอด ลักษณะเป็นไม้ล้มลุก ใบประกอบเหมือนขนนก 2 ชั้น ดอกช่อกระจุกแน่น สีชมพู ออกที่ง่ามใบ ผลเป็นฝักแบน พืชที่ใคร ๆ ต่างก็คิดว่าเป็นวัชพืช เวลาเห็นก็มักจะถอนทิ้งหรือเหยียบย่ำไปโดยที่ไม่มีใครสนใจ ทั้งที่ความจริงแล้วไมยราบก็ถือเป็นหนึ่งในสมุนไพรไทยที่มากด้วยคุณค่า อย่างไรบ้างนั้น เรามาดูกันค่ะ
[ads]
สรรพคุณตามตำราแพทย์แผนไทยโบราณ
– ทำความสะอาดอวัยวะเพศผู้หญิง นำไมยราบทั้งห้า ล้างน้ำให้สะอาด นำมาหั่น ตากแดดให้แห้ง ใช้ประมาณ 5 กรัม ต้มในน้ำประมาณ 100 ซีซี จนเดือดแล้วลดไฟลง เคี่ยวต่ออีกประมาณ 15 นาที จากนั้นกรองเอาน้ำไว้ใช้ล้างจุดซ่อนเร้น ช่วยให้กระชับและดับกลิ่น
– ยารักษาตกขาว ใช้ไมยราบ และหญ้าหวาดหลุบ (หญ้าคมปาว) มาต้มรวมกันไว้ดื่ม และต้มน้ำอาบ
– ยาบำรุงสตรีหลังคลอด นำรากสดของไมยราบ ประมาณ 3-5 ราก มาต้มน้ำดื่ม ครั้งละประมาณครึ่งแก้วน้ำชา ดื่มวันละ 2-3 ครั้ง
– ยาแก้นิ่ว ขับปัสสาวะ บวม นำไมยราบทั้งห้า มาต้มน้ำดื่ม
– ยาบรรเทาอาการบวมจากพิษแมลงสัตว์กัดต่อย นำใบไมยราบมาขยี้ ใช้โปะบริเวณที่มีอาการ
– ยาแก้ปวดเอว ใช้เข้ากับจีผาแตก และเครือไมยราบ นำมาต้มดื่ม
– แก้งูสวัดและเริม ตำตำให้ละเอียดผสมเหล้า แล้วคั้นเอาน้ำ ทาวันละ 3-4 ครั้ง
– แก้อาการลมพิษ ใช้ต้น ไมยราบ ตำผสมเหล้าโรง ทาบริเวณที่เป็นลมพิษ
– แก้แผลมีหนอง นำใบมาตำใส่ข้าวสุก เกลือ 1 เม็ด พิมเสน 2-5 เกล็ด ตำให้ละเอียด พอกแผลที่มีหนอง พอกหัวฝี
– แก้เบาหวาน นำไมยราบทั้งต้นผสมกับต้นครอบฟันสี (หรือเรียกอีกชื่อว่าต้นครอบจักรวาล) เอาอย่างละเท่าๆ กัน หั่นให้เป็นฝอย ตากแดดให้แห้ง คั่วไฟอ่อนๆ ต้มน้ำดื่มหรือชงชา
– บำรุงสตรีหลังคลอด นำรากสดของ ไมยราบ ประมาณ 3-5 ราก มาต้มน้ำดื่ม ครั้งละประมาณครึ่งแก้วน้ำชา ดื่มวันละ 2-3 ครั้ง
– ลดคอเลสตอรอล น้ำตาลในเลือด คลายเครียด ใช้ทุกส่วนมาหั่นแล้วคั่วไฟอ่อนๆ นำไปชงชาดื่ม
[yengo]
ข้อควรระวัง
– ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเพราะมีฤทธิ์ต่อสมองส่วนกลาง
– ไม่ควรใช้ในสตรีที่มีครรภ์และหญิงให้นมบุตร
– ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
มีการศึกษาสมัยใหม่ค้นพบว่า ไมยราบมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา แก้ปวด แก้อาการกล้ามเนื้อเกร็ง แก้ปวด แก้อักเสบ ทำให้แผลหายเร็ว ขับปัสสาวะ คลายเครียด ฯลฯ จึงเป็นการสนับสนุนสรรพคุณยาแผนโบราณข้างต้น อย่างไรก็ดี การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไมยราบนั้น ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้รู้ และปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com