10 วิธีแก้ปัญหาแอร์ ไม่ต้องง้อช่าง!!
advertisement
แอร์ เป็นเครื่องทำความเย็นที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากให้ความเย็นได้รวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันคนใช้แอร์เริ่มมีปริมาณที่มากขึ้น ยิ่งหน้าร้อนปริมาณการใช้ไฟก็สูงเหมือนกัน แต่เมื่อแอร์มีปัญหาเกิดขึ้นก็ต้องเรียกช่างมาดู บางทีช่างก็ไม่ว่าง หรือราคาในการซ่อมแอร์ก็สูงเหมือนกัน วันนี้ kaijeaw.com นำวิธีการแก้ปัญหาแอร์ โดยไม่ต้องง้อช่างมาฝาก ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
advertisement
10 วิธีการแก้ปัญหาแอร์เบื้องต้นด้วยตัวเอง
1.ถ้าแอร์ไม่เย็น แต่คอมเพรสเซอร์ทำงาน ทำยังไง?
หากเราเปิดกรณีอาการแอร์ไม่เย็น แต่คอมเพรสเซอร์ทำงาน โดยทั่วไป มักจะมีสาเหตุมาจาก
– แอร์บ้านสกปรก ต้องทำการล้างทั้งเครื่องแอร์ด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งความถี่ในการล้างและตรวจสอบแอร์ที่บ้านปี ควรเป็นปีละ 4 ครั้งเป็นอย่างต่ำ
– น้ำยาแอร์ขาด ควรทำการตรวจสอบและการเติมน้ำยาแอร์ปีละ 2 ครั้ง โดยให้ช่างผู้ชำนาญการเป็นคนประเมินว่า ควรเติมน้ำยาเข้าไปที่ตัวแอร์เท่าไหร่ (โดยปกติจะใช้น้ำยาแอร์แรงดันประมาณ 70-80 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
– มีอาการตันของระบบน้ำยาแอร์ ต้องทำการเปลี่ยน Capillary Tube (ตัวฉีดน้ำยา), ตัวกรองความชื้น และระบบเติมน้ำยา เช่นกันครับ หากมีน้ำยาแอร์มีการอุดตัน เราก็จะต้องทำการเปลี่ยนอะไหล่เป็นชื้นใหม่ ซึ่งเราควรทำการตรวจเช็คสภาพแอร์ที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยให้เราทราบได้ทันทีว่า อุปกรณ์ภายในของแอร์ตัวใดเกิดอาการเสื่อมสภาพบ้าง จะได้เปลี่ยนอะไหล่ได้ทันท่วงที ไม่มีลมร้อนให้เสียอารมณ์นั่นเอง
2. ถ้าแอร์ไม่เย็น และคอมเพรสเซอร์ก็ไม่ทำงาน ทำยังไง?
– สายไฟที่เชื่อมต่อป้อนไฟฟ้าไปที่ตัวแอร์ อาจมีการชำรุด หลุด หรือขาด ซึ่งวิธีแก้ก็คือ เราจะต้องทำการตรวจเช็ค หาจุดที่สายไฟเสียหาย และให้ช่างผู้ชำนาญการเข้ามาเปลี่ยนใหม่
– อะไหล่ส่วนของการควบคุมแอร์ชำรุดเสียหาย โดยปกติแล้วตัวแอร์จะมีชิ้นส่วนอยู่หลายตัว ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมแอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวตัดต่อวงจรไฟฟ้า, แคปสตาร์ท หรือแผงควบคุมหลักของตัวเครื่อง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้หากมีการชำรุดแล้วล่ะก็ จะเป็นจะต้องแจ้งให้ช่างเข้ามาเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิตเท่านั้น
3. ถ้าแอร์ไม่เย็น แถมยังมีเสียงดังออกมาอีกล่ะ จะต้องทำยังไง?
หากแอร์ไม่เย็นแต่กลับมีเสียงดังออกมาจากตัวเครื่อง แอร์ของเพื่อนๆ อาจจะมีอาการเช่นนี้ค่ะ
– แอร์บ้านสกปรก แก้ไขด้วยการล้างโดยปั๊มน้ำแรงดันสูงอย่างสม่ำเสมอ 4 ครั้งต่อปี ซึ่งถือเป็นวิธีแก้ปัญหาพื้นฐาน แนะนำให้ช่างแอร์ที่มีประสบการณ์มาทำนะครับ เนื่องจากหากทำการถอดแอร์เพื่อล้างเรียบร้อยแล้ว แต่หากมีการประกอบแอร์หลังจากการล้างไม่ดี ก็อาจทำให้เกิดเสียดังรบกวนออกมาได้
– มอเตอร์ของบานสวิงหน้าแอร์เสีย หรือขาบานสวิงหัก ทำให้ลมเย็นจากแอร์ไม่ออกมาอย่างเต็มที่ ก็ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แอร์ไม่เย็นได้ นอกจากนั้นหากมอเตอร์พัดลมเสื่อมสภาพ ใบพัดลมตีกับโครงแอร์ ก็ยิ่งเป็นสาเหตุหลักทำให้แอร์ไม่เย็นและเสียงดังยิ่งกว่าเดิม ควรเรียกช่างผู้ชำนาญการ มาตรวจเช็คหาจุดที่กระทบกันโดยเร่งด่วน
4. แอร์มีน้ำหยดลงมาจากตัวเครื่อง แบบนี้ต้องทำยังไง?
– โดยปกติแล้ว แอร์จะมีน้ำที่เกิดจากการระเหยนี้ไหลออกมาตลอดเวลา ถือเป็นอาการที่ดี ซึ่งแสดงว่าแอร์ของเรามีความชื้นสูง เพราะหน้าที่ของมันคือการดูดซับความชื้นออกจากห้องที่เราอยู่ แต่หากมีน้ำหยดมากจนเกินไป อาจเกิดจากท่อน้ำตันเพราะสิ่งสกปรก ให้แก้ไขด้วยการล้างแอร์ด้วยปั้มแรงดันสูง
advertisement
5. อาการ แอร์มีกลิ่นอับชื้น
สาเหตุ ในห้องมีความชื้นสูง แอร์สกปรก เดินท่อน้ำทิ้งไปตรงกับท่อระบายน้ำ
วิธีแก้ไข ตั้งโหมดลดความชื้นที่รีโมต ทำการล้างแอร์ด้วยปั๊มแรงดันสูง ทำการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่
6. อาการ บานสวิงที่คอยล์เย็นไม่ทำงาน
สาเหตุ มอเตอร์สวิงเสีย ขาบานสวิงหัก แผงควบคุมเสีย
วิธีแก้ไข ทำการเปลี่ยนมอเตอร์สวิง ทำการเปลี่ยนขาบานสวิง ทำการเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต
7. อาการ ท่อน้ำยาด้านส่งมีน้ำหรือน้ำแข็งเกาะ (เฉพาะเครื่องรุ่นที่ฉีดน้ำยาที่แฟนคอยล์ ยูนิต)
สาเหตุ อุปกรณ์กำจัดความชื้นและไส้กรองตัน เซอร์วิสวาล์วด้านส่งเปิดไม่สุด
วิธีแก้ไข เปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ เปิดวาล์วให้สุด
8. อาการ แคปรัน (Run Capacitor) ขาด ลัดวงจร
สาเหตุ ใช้ขนาดความจุไม่ถูกต้อง แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงผิดปกติ (มากกว่า 110% ของแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงสุด)
วิธีแก้ไข เปลี่ยนแคปรันให้มีขนาดความจุที่ถูกต้อง หาสาเหตุและแก้ไขให้ถูกต้อง
9. อาการ รีโมตไม่ทำงาน
สาเหตุ ถ่านหมด ตัวรับสัญญาณเสีย รีโมตเสีย กะเปาะวัดอุณหภูมิเสีย
วิธีแก้ไข ทำการเปลี่ยนถ่าน ทำการเปลี่ยนหรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต ทำการเปลี่ยนรีโมต ทำการเปลี่ยนกะเปาะวัดอุณหภูมิ
advertisement
10. อาการโอเวอร์โหลดตัดวงจรและคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานหลังจากที่เริ่มสตาร์ทใหม่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
สาเหตุ มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านโอเวอร์โหลดมากเกินไป มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก โอเวอร์โหลดขัดข้อง แคปรัน (Run Capacitor) เสียหาย ขัดข้อง คอมเพรสเซอร์ร้อนจัด คอมเพรสเซอร์ไหม้
วิธีแก้ไข ตรวจเช็ควงจรไฟฟ้า มอเตอร์พัดลม การต่อสายไฟและขนาดของโอเวอร์โหลดให้ถูกต้อง ค้นหาสาเหตุและทำการแก้ไข ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าและเปลี่ยนโอเวอร์โหลด ค้นหาสาเหตุและเปลี่ยนแคปรันใหม่ ตรวจวัดสารทำความเย็น (มีการรั่วหรือไม่) ถ้าจำเป็นให้เพิ่มเติมแล้วตรวจสอบซุปเปอร์ฮีท เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
advertisement
จะเห็นได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ของแอร์ เมื่อแอร์ไม่เย็นเราก็พอจะรู้เหตุผลว่าเกิดอะไรขึ้นหรือบอกปัญหาช่างได้เร็วขึ้น แถมรู้ราคาของอุปกรณ์ในการซ่อมแอร์ ทำให้ไม่ต้องเสียเงินในกาซ่อมแอร์แพงอีกต่อไป สำรับผู้ที่สามารถซ่อมแอร์ได้เองยิ่งประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกหนึ่งทาง มีเงินเหลือเก็บในกระเป๋าได้อีกเยอะค่ะ