12 เห็ด มากคุณค่า ช่วยต้านโรค!!
advertisement
เห็ดเมื่อนำมาทำเป็นอาหารนั้นถือว่าเป็นเมนูที่ใครหลาย ๆ คนชอบทานกันเลยทีเดียว ยิ่งคนทานมังสวิรัติ หรือในช่วงเทศกาลกินเจ เห็ดก็เป็นเมนูหลักๆ ในการนำมาประกอบอาหาร เพราะเมื่อนำมาทำอาหารเป็นเมนูที่ทานง่ายและอร่อย เด็ดก็ทานได้ผู้ใหญ่ก็ทานดี เห็ดนั้นมีมากมายหลากหลายชนิด และมีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป วันนี้ kaijeaw.com จะพาไปดูประโยชน์จากการทานเห็ด มีเห็ดชนิดไหนกันบ้างมาดูกันเลยค่ะ
1. เห็ดหอม หรือ เห็ดชิตาเกะ
ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”
-เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
-เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย
-มีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง มีวิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต
-ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
-ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร
-ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด
advertisement
รูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มีให้เลือกทั้งแบบสดหรือบรรจุกระป๋อง
-ช่วยรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด สารบางอย่างในเห็ดนี้ไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส (aromatase) ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็น
อร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
3. เห็ดฟาง
เป็นเห็ดที่ขึ้นได้ดีในธรรมชาติ จึงนำมาปรุงอาหารกันอย่างแพร่หลาย แต่หลายคนไม่รู้ว่า เห็ดฟาง มีสรรพคุณดี ๆ แบบนี้ด้วย
– มีวิตามินซีสูง ทานแล้วช่วยป้องกันโรคเหงือก เลือดออกตามไรฟัน
– มีสาร volvatioxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัสที่ทำให้ป่วยไข้หวัดใหญ่
– มีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากทานประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อต่าง ๆ
– ช่วยลดความดันโลหิต
– ทางแพทย์แผนโบราณจัดให้เห็ดฟางเป็นเภสัชวัตถุที่มีรสหวานเย็น จึงช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน
– เห็ดฟาง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี และมีไขมันเพียง 0.2 กรัม จัดเป็นอาหารไขมันต่ำ แคลอรีน้อย และไม่มีคอเลสเตอรอล[ads]
advertisement
มีคุณประโยชน์คล้าย ๆ กับ "เห็ดหูหนูดำ" แต่การออกฤทธิ์ของเห็ดหูหนูขาวจะออกฤทธิ์ที่ปอดและกระเพาะอาหาร ส่วนเห็ดหูหนูดำจะออกฤทธิ์ที่ไตและตับ อย่างไรก็ตาม จัดเป็นสุดยอดของเห็ดเช่นเดียวกัน
– ช่วยบำรุงปอด หยุดอาการไอที่เกิดจากปอดแห้ง ไอมีเสมหะปนเลือด
– บำบัดอาการอ่อนเพลีย
– แก้ไอ เสมหะมีเลือดปน อาการร้อนใน
– ชะลอความเสื่อมของเซลล์ เสริมภูมิคุ้มกัน
– ลดอาการหลอดเลือดหัวใจขาด/ตีบ
– มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ลดอาการแทรกซ้อน ภายหลังการฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง
– มีฤทธิ์สงบประสาท ช่วยให้นอนหลับ
5. เห็ดหูหนูดำ
รสสัมผัสกรุบ ๆ กรอบ ๆ จากดอกเห็ดที่มีลักษณะคล้ายแผ่นวุ้น ทำให้หลายคนชอบทาน และยังพกประโยชน์มาอีกเพียบ
– มีคุณสมบัติที่เย็นกว่าเห็ดหูหนูขาว จึงช่วยรักษาโรคร้อนใน แก้เจ็บคอ หยุดเลือดออก เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ประจำเดือนมากผิดปกติ ริดสีดวงทวาร โรคบิด (เนื่องจากเลือดร้อน)
– นำไปต้มกับน้ำตาลจิบเป็นชาแก้ไอได้
– เป็นยาบำรุงเลือดและพลัง รักษาโรคโลหิตจาง
– แก้อาการท้องเสีย โรคริดสีดวงทวาร
– ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
– มีสารอะดีโนซีน ช่วยลดความข้นเหนียวของเลือด จึงลดความเสี่ยงภาวะเส้นเลือดอุดตันหลอดเลือดสมองและหัวใจ
6. เห็ดภู่มาลา(เห็ดหัวลิง)
– เพิ่มความสามารถภูมิคุ้มกัน
-ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
-รักษาโรคแผลเรื้อรัง และอักเสบในกระเพาะ ในลำไส้ส่วนต้น
-รักษามะเร็งในกระเพาะและในหลอดอาหาร น้ำต้มสกัดการย่อยอาหารดีขึ้น
-เห็ดหัวลิงแห้งบำบัดอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้าที่เกิดจากการวิตกกังวล
-สาร erinaines E.F และ G กระตุ้นส่วนประกอบของการเติบโตของเซลล์ประสาท
7. เห็ดเข็มเงินเข็มทอง
-ถ้ากินเป็นประจำจะทำให้ตับ แข็งแรง
-ช่วยรักษากระเพาะและลำไส้อักเสบเรื้อรัง
-เห็ดเข็มทองมีสาร สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
-มีคุณสมบัติในการกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันของสิ่งมีชีวิต[ads]
8. เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ
นิยมกัน คือ แกงเผ็ด เวลาเคี้ยวแล้วให้ความรู้สึกกรอบ มัน เพราะเห็ดเผาะกรอบ ข้างในกลวง เวลาเคี้ยวแล้วดังเผาะทุกๆครั้ง นิยมกินเห็ดระยะที่อ่อนอยู่ โดยนำไปแกงคั่ว และผัด หรือกินสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก
-รักษาบาดแผล
-ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงร่างกาย ชูกำลัง
-แก้ช้ำใน
9. เห็ดขอนขาวหรือเห็ดมะม่วง
-เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
-แก้ไขพิษ
-ช่วยระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
-สำหรับเห็ดกระด้างสดหรือแบบแห้ง สามารถนำมาต้มกับน้ำจนเดือดให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงานหรือไม่แข็งแรงเนื่องจากเพิ่งฟื้นจากไข้
-สมรรถภาพทางเพศไม่ค่อยจะดี รับประทานทั้งน้ำและเนื้อเห็ดเป็นประจำจะทำให้ร่างกายแข็งแรง
-จากงานวิจัย พบว่า “แคปซูล” จากสารสกัดเห็ดกระด้าง สามารถลดไขมันในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ติดเชื้อ HIV ได้ผลดี จะทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวต่อไปได้อีก สำหรับราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่นๆ จึงได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกขาย
10. เห็ดหลินจือ
– รักษา 3 ระบบหลัก ทางเดินอาหาร (โรคกระเพาะ โรคแผลในลำไส้ ท้องผูก อาหารไม่ย่อ ริดสีดวง) หายใจ (บรรเทาอาการ ไอ ลดเสมหะ ปอดอักเสบ ภูมิแพ้) ไหลเวียนโลหิต (โรคความดันโลหิตสูงและต่ำ เบาหวาน เส้นโลหิตตึงตัว อาการปวดหัวข้างเดียว ระดูไม่ปกติ ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด)
– เพิ่มภูมิคุ้มกัน
– บรรเทาอาการไขข้อต่าง ๆ
– ต่อต้านมะเร็งและยืดชีวิตผู้ป่วยเอดส์
advertisement
– ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง
-แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ
-การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบาง ชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์
12.เห็ดกระด้าง
-ยับยั้งการเติบโตเซลล์มะเร็ง
-กรด eburicoic ที่สามารถใช้สังเคราะห์สารประกอบเสตรียลอยด์ ที่มีบทบาทในการควบคุมร่างกายคนเรา
-บำรุงกำลัง และกาย
*ข้อควรระวัง :
ทั้งเห็ดหูหนูขาวและเห็ดหูหนูดำ มีลักษณะทำให้เกิดความชุ่มชื้น ความเย็น ดังนั้นแพทย์แผนจีนจึงแนะนำว่า คนที่ระบบการย่อยอาหาร หรือมีภาวะของร่างกายค่อนไปทางเย็นมาก ๆ ต้องทานอาหารหรือสมุนไพรที่มีคุณสมบัติร้อนประกอบด้วย และไม่ควรกินมากในช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่หยางร่างกายอ่อนลง และมีภาวะยินของธรรมชาติมาก
จะเห็นได้ว่าเห็ดที่นำเสนอไป เป็นเห็ดที่หลายๆ คนรู้จักกันเป็นอย่างดี หาซื้อได้ตามห้าง หรือตลาดสดกันได้ มีแค่บางชนิดเท่านั้นที่ไม่ค่อยได้เห็นกัน เพราะอาจจะหายาก หรือราคาแพงนั้นเอง บางชนิดก็ต้องรอให้ถึงฤดูกาลก่อน แต่อย่างไรก็ดีเราก็ไดรู้แล้วว่าการทานเห็ดนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร และยังสามรถช่วยยับยั้งการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย ทานเห็ดได้ทั้งความอร่อยและช่วยในเรื่องสุขภาพได้นะคะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com