15 ความเครียด ..ต้นเหตุทำร้ายสุขภาพ!!
advertisement
ปัจจุบันความเครียดมักเกิดขึ้นได้ง่ายๆ และดูเหมือนจะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนชั้น ทั้งเชื้อชาติเลยทีเดียวนะคะ ความเครียดเป็นสภาวะตกต่ำของอารมณ์และจิตใจ หากเกิดขึ้นบ่อยๆ รุนแรงและยาวนานจะส่งผลเสียให้สุขภาพร่างกายและจิตใจ คนรอบข้าง หน้าที่การงาน รวมถึงเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย บั่นทอนความสุขในชีวิตประจำมากเลยทีเดียว เรามาดูกันค่ะว่าความเครียดเกิดจากปัญหาใดกันบ้าง
advertisement
1. ทรัพย์สินเงินทอง
ปฏิเสธไม่ได้ค่ะว่าในปัจจุบันเงินเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ทุกอย่างจำเป็นต้องใช้เงิน ค่าครองชีพ ความสะดวกสบาย ค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นภาระให้ทุกคนต้องทำงานหาเงิน ยิ่งคนที่ต้องแบกภาระทั้งหมดอย่างหัวหน้าครอบครัวยิ่งต้องใช้สมองหนักในการคิดๆ หาเงิน จัดการรายได้ให้ลงตัว ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาตามมามากมายเพิ่มความเครียดยิ่งขึ้นอีกค่ะ
advertisement
2. ความวิตกกังวลไม่รู้จบ
หลายๆ คนที่ชอบคิดมาก กังวลกับเรื่องที่ผ่านมา คิดถึงอนาคตเกินไป จนทำลายความสุขในชีวิตปัจจุบัน เวลามีความวิตกกังวลมากๆ สมองก็ทำงานหนักรู้สึกเครียดจึงทำให้นอนไม่หลับ อารมณ์หงุดหงิด รู้สึกแย่ๆ ซึมเศร้า ร่างกายอ่อนเพลีย เป็นต้น
advertisement
3. เกิดจากการขัดแย้ง
ด้วยหลายๆ อย่างที่ต้องอาศัยการตัดสินใจ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จนบ่อยครั้งที่เกิดความขัดแย้งในใจ เมื่อจำเป็นต้องตัดสินใจให้เลือกอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว ทำให้ต้องคิดมากๆ คิดอย่างรอบคอบ จนกระทั่งเกิดความตึงเครียดได้
[ads]
advertisement
4. โรคภัยไข้เจ็บ
ไม่ว่าจะด้วยโรคภัยเล็กๆ น้อยๆ ที่สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ หรือโรคร้ายแรงต่างๆ ความพิการ ความผิดปกติของส่วนใดของร่างกาย มีผลต่อชีวิตประจำวันไม่ราบรื่นได้ดั่งใจ ความปวดร้าวทุกข์ทรมาน ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดได้มากๆ จนความเครียดเกิดขึ้นอยู่เสมอ ยิ่งในรายที่มีโรคประจำตัวหรือโรคร้ายรักษาไม่มีทางหาย ทั้งความเครียดยังซ้ำเติมให้อาการแย่ขึ้นอีกด้วย
advertisement
5. การสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่นอกจากจะสร้างปัญหาให้แก่สุขภาพ ทำลายปอด รวมถึงผู้ที่อยู่ใกล้เคียงนั้นแล้ว สารนิโคตินในบุหรี่ ยังออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของสารเคมีในสมองอย่าง โดปามีน และ เซโรโทนิน ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท และยังมีหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการทำงานของยารักษาอาการซึมเศร้า (antidepressant drugs) ด้วย เมื่อสารทั้งสองตัวนี้ถูกรบกวน จึงทำให้เกิดอาการหงุดหงิด จนถึงซึมเศร้าได้
advertisement
6. นอนหลับที่ไม่เพียงพอ
การนอนหลับเป็นการพักผ่อนฟื้นฟูสภาพของสมองที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับร่างกาย ช่วยซ่อมแซมฟื้นฟู ทำให้การทำงานของสมองเต็มประสิทธิภาพ เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอนอกจากจะทำให้รู้สึกสมองมึนๆ คิดอะไรไม่ออก หงุดหงิดได้ง่ายๆ โกรธโมโหง่าย และยังรู้สึกเครียดอีกด้วย
advertisement
7. ติดจอ
เพราะปัจจุบันสื่อต่างๆ มีผลต่อทุกคนมากขึ้น บางคนต้องทำงานหน้าจอทั้งวันๆ ละ 6 ชม. ขึ้นไป หรือในผู้ที่ติดเกมส์ รวมถึงโปรแกรมแชทต่างๆ รวมทั้งโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่นๆ ด้วย ซึ่งการใช้เวลามากเกินไปบนโลกออนไลน์นี้ ทำให้เกิดอาการเครียดตามมาได้ ทั้งหน้าจอเครื่องมือต่างๆ นี้ไม่ว่าจะโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต จอคอมพิวเตอร์ รวมถึงทีวี มีแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายต่อดวงตาอีกด้วย
8. สภาพแวดล้อม
มีการศึกษาทำสถิติเช็คความเครียดของผู้คนที่อาศัยอยู่ในชนบท และผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มีความเสี่ยงที่จะประสบอาการเครียด มากกว่าคนที่อาศัยอยู่นอกเมืองถึงร้อยละ 39 สาเหตุหลักๆ มาจากสภาพแวดล้อมที่ในแหล่งย่านเมืองใหญ่มักมีมลภาวะเป็นพิษมากกว่านอกเมือง ทั้งยังต้นไม้ใหญ่ที่มีน้อยกว่ามากเหลือเกิน
advertisement
9. ไม่ทานปลา
ทานปลาแล้วจะฉลาด เป็นคำจำกัดความที่ดีมาก เนื่องจากปลามรกรดไขมัน โอเมก้า 3 ซึ่งพบมากในปลาแซลมอน และปลาน้ำจืดบ้านเราอย่างปลาสวาย เป็นอาหารบำรุงสมองให้ดีสมบูรณ์ ซึ่งหากก็ทำให้สมองขาดสารอาหารไปหล่อเลี้ยง กรดไขมันนี้ยังสำคัญต่อการรักษาระดับสมดุลของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ซึ่งหากสารนี้อยู่ในภาวะไม่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดอาการเครียดได้
11. ยาคุมกำเนิด
ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนแบบสังเคราะห์ที่มีอยู่ในยาเม็ดคุมกำเนิด ก่อให้เกิดผลข้างเคียงในผู้หญิงหลายรายได้ มีผลทำให้มีอาการเครียด ไปจนถึงซึมเศร้า ยิ่งในรายที่เครียดง่ายอยู่แล้ว ก็จะปรากฏอาการนี้ได้ง่ายและมากขึ้น
advertisement
12. การใช้ยาบางชนิด
การใช้ยาบางประเภท เช่น แอคคิวเทน หรือยาในตระกูลไอโซเตรติโนอิน (isotretinoin) ซึ่งเป็นมีสรรพคุณช่วยรักษาสิว, ยากล่อมประสาท รักษาอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ อย่าง วาเลียม (Valium), ซาแน็ก (Xanax) รวมถึงยาที่จ่ายให้กับหญิงวัยทอง ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของยาโดยเกิดอาการเครียด และภาวะซึมเศร้า
[yengo]
13. ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ
ฮอร์โมนไทรอยด์ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท และรักษาระดับสารเซโรโทนินให้อยู่ในภาวะปกติ ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ตามปกติ จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า "ไฮโปไทโรดิซึ่ม" (hypothyroidism) เมื่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติไปจากเดิม จึงไม่สามารถทำตัวเป็นสารสื่อประสาทได้อย่างปกติ รวมถึงทำให้สารเซโรโทนินเสียสมดุลไปด้วย ก่อให้เกิดอาการเครียดได้
advertisement
14. ครอบครัว
ครอบครัวที่อบอุ่น สมาชิกรวมใจกันเป็นหนึ่งเดียว รักสามัคคีต่อกัน ย่อมเป็นจุดเริ่มที่ดีสร้างคนดีให้แก่สังคม แต่ถ้าหากว่าในทางตรงกันข้าม ครอบครัวมีแต่ความทะเลาะเบาะแว้งบัดแย้งกันเอง ก็รังแต่จะสร้างปัญหาต่างๆ ไม่รู้จบ ทำให้ทุคนในครอบครัวประสบภาวะเครียดได้ง่ายๆ
15. ความคับข้องใจกับปัญหาต่างๆ
เพราะทุกคนมีเป้าหมายในชีวิตหรือการทำงาน แต่เมื่อมีเหตุให้ไม่เป็นไปตามนั้น มีเรื่องขัดขวางอยู่บ่อยๆ ทำให้เกิดอาการเครียดได้ง่าย เช่น รถติดทำให้ไปไม่ตรงนัดหมาย ไม่ได้รับการยอมรับอย่างที่หวังไว้ หรือไม่มีเงินทำให้ไม่สามารถซื้อของที่ต้องการได้
สาเหตุของอาการเครียดต่างๆ นั้นอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ และความเครียดนั้นก็มักจะเพิ่มทวีคูณมากขึ้นเมื่อพบเจอแต่ปัญหาเดิมซ้ำๆ เพราะฉะนั้น อย่าลืมที่จะอยู่อย่างรู้สาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการเครียด เอาใจใส่ภาวะจิตใจ แก้ไขที่ต้นเหตุ และอย่าลืมว่าคุณควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ รู้จักการจัดการกับความเครียด ปล่องวาง ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ไม่มีอะไรที่ทำให้เครียดได้ค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com