5 โรคทางเดินอาหาร ที่คนไทยเผชิญตลอดปี 2559
advertisement
สถิติผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร ที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาล นับว่ามีจำนวนตัวเลขที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุสำคัญจากประวัติการซักถามพูดคุยมักเกิดจากพฤติกรรม บวกกับการขาดความรู้ ในการดูสุขภาพของตนเอง
ทั้งนี้ระบบทางเดินอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร การดูดซึม การขับถ่าย โดยระบบทางเดินอาหารจะเริ่มตั้งแต่ ปาก คอหอย กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อนก็อาจจัดอยู่ในระบบนี้ด้วย สำหรับโรคที่พบบ่อยในโรคระบบทางเดินอาหารมีดังนี้
advertisement
อันดับ 1.โรคกระเพาะอาหาร
อาการแสดงออกมาในลักษณะของการปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ชายโครงซ้าย ในบางรายปวดแน่นถึงหน้าอก อาการมักเป็นๆ หายๆ และสัมพันธ์กับมื้ออาหาร อาจปวดก่อนทานอาหารในเวลาหิว หรือปวดหลังอาหารเวลาอิ่ม โดยอาการเหล่านี้จะดีขึ้นได้เมื่อได้รับประทานอาหาร หากโรคนี้รุนแรงขึ้น อาจมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ หรือเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
5 ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร
1. เชื้อโรคแบคทีเรีย ชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร ซึ่งจะติดต่อได้จากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาดปนเชื้อ โรคชนิดนี้ ทำให้เกิดแผลกระเพาะอาหารและมะเร็งบางชนิดของกระเพาะอาหารได้
2. ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก (Aspirin และ NSAID) รวมถึงยารักษาสิว อาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ในหลอดอาหารจนอักเสบมากขึ้น
3. การสูบบุหรี่-การดื่มเหล้า ทำให้อัตราการเป็นแผลกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น แผลหายช้า หรือเป็นอีกครั้ง ได้ง่าย ส่งผลให้การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาได้ผลไม่ดีนัก
4. ภาวะเครียด รับประทานอาหารเผ็ด หรือไม่ตรงเวลา
5. ติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ
√ เช็คอาการปวดท้องที่ควรพบแพทย์ทันที
– ถ่ายดำหรือถ่ายมีเลือดปน
– น้ำหนักลด
– ตัวซีด เหลือง (ดีซ่าน)
– ปวดรุนแรงนานเป็นชั่วโมง
– มีอาเจียนรุนแรงติดต่อกัน หรืออาเจียนมีเลือดปน
– เจ็บหรือกลืนลำบาก
– มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร
– คลำก้อนในท้องได้ หรือต่อมน้ำเหลืองโต
รักษาอย่างไร
หากผู้ป่วยที่มีอาการปวดจุกแน่นท้อง จุกเสียดแสบท้อง มานานไม่เกิน 2 สัปดาห์ สามารถดูแลตัวเองจากโรคได้ดังนี้
1. รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
2. งดบุหรี่ งดเหล้า งดอาหารรสเผ็ด รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
3. ออกกำลังกาย
4. งดกินยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูกโดยไม่จำเป็น
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังปฏิบัติตามข้างต้น หรืออาการเป็นมานานกว่า 1 เดือน หรือมีอาการเตือนที่สำคัญตั้งแต่ต้น จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารว่า มีแผล เนื้องอก และมะเร็งหรือไม่[ads]
advertisement
อันดับที่ 2. โรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกหรือแสบหน้าอก บางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว
เช็คพฤติกรรมคุณเสี่ยงกรดไหลย้อนหรือไม่!!
– ดื่มสุรา
– อ้วน
– สูบบุหรี่
– ชอบทานอาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารมักดอง อาหารมัน อาหารย่อยยาก
– ทานอาหารมากจนอิ่มเกินไป
– ชอบทานช็อกโกแลต กาแฟ น้ำอัดลม
– คนเครียด
– ชอบอาหารมัน ของทอด
– ชอบทานหอมกระเทียม
– ชอบทานมะเขือเทศ
อาการ กรดไหลย้อน
จะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ ที่เรียกว่าร้อนใน (Heart Burn) บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได้ รู้สึกว่ามีก้อนอยู่ในคอ กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ มีอาการเจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้ และรู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
หากอาการรุนแรงอาจส่งผลให้เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้าหรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม มีอาการไอเรื้อรัง รู้สึกสำลักในเวลากลางคืน กระแอมไอบ่อย มีอาการหอบหืดที่แย่ลงไปทุกที เจ็บหน้าอก รวมถึง เป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆหายๆ
เมื่อเป็นแล้วรักษาอย่างไร
– ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก
– งดบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก และหูรูดอ่อนแรง
– ใส่เสื้อหลวมๆ
– ไม่ควรจะนอน ออกกำลังกาย หรือยกของหนักหลังออกกำลังกาย
– งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง
– งออาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ อาหารรส เผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด
– รับประทานอาหารพออิ่ม
– หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา
– นอนหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูง
– รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ
– ควรจะเข้านอนหรือเอนกายหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
– ผ่อนคลายความเครียด
หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจมีการรักษาด้วยการผ่าตัด เนื่องจากใช้วิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
advertisement
อันดับที่ 3.ท้องเสีย อุจาระร่วง
โรคอุจจาระร่วงคือการถ่ายอุจาระเหลว หรือเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวันหรือถ่ายเหลวมีเลือดปนเพียง 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมงโดยทั่วไปอาการท้องร่วงมักหายได้เองใน 2-3 วันโดยที่ไม่ต้องรักษา ถ้าเป็นนานกว่านั้นต้องมีปัญหาอื่น ท้องร่วงทำให้เกิดผลเสียคือร่างกายขาดน้ำ
สาเหตุที่พบบ่อยๆ คือ
– การติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ได้แก่เชื้อ บิดไม่มีตัว Shigella, ไข้ไทฟอยด์ Salmonella เป็นต้น
– การติดเชื้อไวรัส ได้แก่ rotavirus, Norwalk virus
– การติดเชื้อพยาธิ เช่น Giardia lamblia, Entamoeba histolytica
– จากแพ้อาหาร และนม
– จากยา เช่น ยาลดความดัน ยาปฏิชีวนะ ยาระบาย
– โรคลำไส้มีการอักเสบ
ลักษณะอาการของโรคท้องร่วง
ผู้ป่วยโรคท้องร่วงจะมีอาการ แน่นท้อง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และถ่ายบ่อย โรคท้องร่วงถ้าเป็นนานกว่า 3 สัปดาห์เรียกเรื้อรัง ถ้าหายภายใน 3 สัปดาห์เรียกท้องร่วงเฉียบพลันโดยมากเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย และเชื้อไวรัส
รักษาอย่างไร
แม้ว่าจะรู้สึกคลื่นไส้อาเจียนก็ต้องฝืนใจดื่มน้ำบ่อยๆ ควรดื่มน้ำเกลือแร่ หรือเครื่องดื่มที่ปราศจากไขมัน เมื่อมีอาการท้องร่วงนานเกิน 3 วัน ปวดท้องอย่างมาก มีไข้ ควรรีบพบแพทย์
advertisement
อันดับ 4. ภาวะลำไส้แปรปรวน (IBS Irritable Bowel Syndrome)
ภาวะลำไส้แปรปรวนเป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้ใหญ่มากไป ส่งผลให้มีอาการปวดท้อง ถ่ายบ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องร่วมกับมีการขับถ่ายที่ผิดปกติ บางรายอาจจะมีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกับท้องเสีย
อาการสำคัญของลำไส้แปรปรวนคือ อาการปวดท้องหรืออาการแน่นท้อง ร่วมการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่าย อาการปวดท้องมักจะ
– เริ่มเมื่อมีการขับถ่ายบ่อยมากขึ้น หรือขับถ่ายน้อยลง
– อาการปวดท้องจะเริ่มเมื่อมีท้องผูกหรือถ่ายเหลว
– อาการปวดจะดีขึ้นเมื่อหยุดถ่าย
อาการท้องร่วง
– จะมีการถ่ายมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
– อุจาระเหลว หรือเป็นน้ำ
– มีอาการปวดเบ่ง หรือรู้สึกถ่ายไม่สุด
อาการท้องผูก
– ถ่ายอุจาระเพียง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
– อุจาระแข็ง และแห้ง
– ต้องเบ่งอุจาระ
อาการแบบนี้ พบแพทย์โดยด่วน
– น้ำหนักลด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายดำ
– อาเจียนเป็นเลือด
– มีไข้ หรือคลำได้ก้อน
– ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการแน่นท้อง มีแก็ส หรือถ่ายไม่สุดได้ด้วย มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่ ยา อาหาร อารมณ์เครียด ปริมาณเชื้อแบคทีเรียในลำไส้
ในการรักษาทางแพทย์จะมีการวินิจฉัยและประเมินว่าปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายที่มาเป็นอย่างไร เช่น ผู้ป่วยบางรายมีอาการเล็กน้อยไม่รบกวนกิจวัตรประจำวัน แต่มาพบแพทย์เพื่อต้องการทราบว่าป่วยเป็นโรคอะไรหรือมีความวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง
ทางแพทย์เองก็ให้คำแนะนำ หรือการส่งตรวจเพื่อยืนยันให้ผู้ป่วยทราบว่าไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาก็อาจเพียงพอสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมากและรบกวนชีวิตประจำวันอาจต้องการการรักษาด้วยยาร่วมด้วยเพื่อการบรรเทาอาการ
advertisement
อันดับ 5. ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)
โรคนี้ค่อนข้างน่ากลัวมาก เนื่องจากผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจ
ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้อย่างไร
– ติดต่อจากมารดาสู่ทารก ขณะคลอด โดยเฉพาะมารดาที่ไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ภายในร่างกาย หากการติดเชื้อเกิดขึ้นภายในขวบปีแรกของทารก โอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อเรื้อรังจะสูงมาก การติดต่อจากมารดาสู่ทารกเป็น
– สาเหตุสำคัญของการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
– ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การฝังเข็ม การฉีดหรือเจาะตามร่างกายที่ไม่ถูกวิธีและไม่ได้ทำโดยวิธีปลอดเชื้อ
– ติดต่อทางการให้เลือด ฟอกไต การปลูกถ่ายอวัยวะ
– ติดต่อจากบุคคลในบ้าน โดยการใช้ของใช้ที่อาจปนเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่ง เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ[ads]
ลักษณะอาการ-และวิธีป้องกัน
เมื่อได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายเชื้อไวรัสจะเข้าไปฟักตัวในตับ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบบีเฉียบพลัน ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วย จะไม่แสดงอาการชัดเจน อาการที่พบ เช่น ไข้ต่ำๆ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ตามมาด้วยตัวเหลือง ตาเหลือง ทั้งนี้เมื่อเกิดอาการที่แสดงชัด หรือตรวจแล้วเจอก้อน ส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว สิ่งที่ทำได้คือทำใจเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือการควรตรวจเช็คหากมีปัจจัยเสี่ยง เช่น ภายในเครือญาติพบผู้ป่วยโรคตับอักเสบหรือมะเร็งตับ ควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสารเคมีและสารพิษต่างๆ ควบคุมน้ำหนัก รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย อาทิ เครื่องไฟโบรสแกน (Fibroscan) เพื่อใช้ตรวจภาวะตับแข็ง เหมาะสำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งการตรวจใช้หลักการของการสะท้อนของคลื่นเสียง โดยใช้เวลาตรวจเพียง 5 นาทีก็สามารถทราบผลได้ทันที
ในกรณีของไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง การจะกำจัดเชื้อไวรัสให้หมดจากร่างกายนั้นทำได้ยากมาก กล่าวอีกนัยหนึ่งคือโอกาสหายขาดนั้นน้อยมาก จุดมุ่งหมายที่สำคัญการรักษา จึงเพื่อลดการอักเสบของตับเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตับแข็งและมะเร็งตับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : paolohospital.com โรงพยาบาลเปาโล