6 เคล็ดลับเพิ่มแคลเซียม…บำรุงกระดูกแข็งแรง
advertisement
แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงกระดูก เนื่องจากกระดูกเป็นอวัยวะที่มีการสร้างและทำลายตลอดเวลาในมวลกระดูก คือ มีการสลายกระดูกในรูปแคลเซียมออกมาสู่เลือด ขณะเดียวกันก็มีการสร้างกระดูกใหม่ โดยใช้แคลเซียมจากอาหารที่รับประทานเข้าไปปะปนอยู่ในเลือดมาสร้าง ทำให้ได้มวลกระดูกใหม่เกิดขึ้น หากร่างกายได้รับแคลเซียมที่ไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมจากกระดูกมาตลอดเวลา เป็นผลให้กระดูกถูกสลายเพิ่มมากกว่าการสร้างกระดูก จะมีผลให้กระดูกอ่อนแอและเกิดหักง่ายหรือพิการได้ ดังนั้นการบำรุงแคลเซียมเพื่อให้กระดูกแข็งแรงจึงสำคัญมาก kaijeaw.com จึงได้รวบรวมเคล็ดลับที่ช่วยให้คุณเติมแคลเซียมและการดูแลกระดูกที่ได้ผลดี มาบอกต่อกันค่ะ
advertisement
1) อาหารที่ให้แคลเซียมสูง
เช่น นมทุกชนิด ปลาเล็กปลาน้อย ผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆเช่น โยเกิร์ต ชีส หรือนมเปรี้ยว รวมถึงเต้าหู้ก้อน ผักใบเขียว ถั่วงา และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละวัน
advertisement
poompak34350.files.wordpress.com
[ads]
ซึ่งมีความจำเป็นในการรักษาสภาพกระดูกให้แข็งแรง ที่สำคัญ ได้แก่ วิตามิน ซี เค บี6 และดี ซึ่งเป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง มีความสำคัญในการช่วยให้แคลเซียมถูกดูดซึมได้ดีที่ลำไส้ สิ่งเหล่านี้มีในพืช ผักและผลไม้ สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้นเป็นตัวเลือกเหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับอาหารไม่ถูกส่วนหรือรับประทานอาหารน้อย แต่มีข้อเสียในเรื่องราคาสูงและบางชนิดเติมแร่ธาตุ เกลือแร่ หากใช้ต่อเนื่องอาจเกิดอันตรายได้
advertisement
3) ออกกำลังกาย
ควรออกกำลังกายที่ใช้การแบกรับน้ำหนักตัว จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กระดูกได้ออกแรงทำงานและชะลอการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ รวมถึงการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส บาสเกตบอลวอลเลย์บอล อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 45 นาทีถึง 1ชั่วโมง สำหรับผู้สูงอายุควรออกกำลังกายแบบแบกรับน้ำหนักตัวที่มีแรงกระแทกต่ำ เช่น การเดินเร็ว ตีกอล์ฟ โยคะ และควรฝึกการทรงตัว เพื่อช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการหกล้มและกระดูกหัก
advertisement
4) เลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกโปร่งบาง
ได้แก่ อาหารประเภทเนื้อวัว อาหารรสเค็มจัด อาหารที่มีแคลเซียมต่ำ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ การรับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานานๆ เช่น ยากล่อมประสาท ยาที่มีสารสเตียรอยด์ ยาสารกัมมันตภาพรังสี ยารักษาโรคธัยรอยด์ ยาลดกรดที่มีอลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ และควบคุมรักษาโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน รูมาตอยด์ โรคไต รวมถึงการมีลูกมากเนื่องจากลูกจะดึงแคลเซียมจากกระดูกของแม่ไปเสริมสร้างร่างกายขณะที่แม่ตั้งครรภ์
advertisement
www.sc.mahidol.ac.th/usr
5) หลีกเลี่ยงผักที่ยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม
เช่น ผักโขม มันเทศ รำข้าวสาลี พืชมีเมล็ด และโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง เพราะผักเหล่านี้มีออกซาเลต (oxalate) ซึ่งเป็นสารมีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิดในกระแสเลือด หันมาเลือกบริโภคผักที่มีแคลเซียมปานกลางถึงสูง แต่มีออกซาเลตต่ำ อาทิ คะน้า กวางตุ้ง ขี้เหล็ก ตำลึง บัวบก และถั่วพู เป็นต้น
advertisement
เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยสูงอายุระดับฮอร์โมนจะลดลงอย่างมากโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ ซึ่งจะมีผลกระตุ้นการสลายกระดูกที่สูงกว่าเดิม และหากจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนในวัยนี้ จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากการใช้ฮอร์โมนเพศให้ปลอดภัยจะต้องไม่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม มดลูกและโรคถุงน้ำดี และในกรณีที่ไม่ต้องใช้ฮอร์โมนช่วยก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ปกติหากปฏิบัติตาม ทุกข้อข้างต้นให้ครบ
[yengo]
การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงด้วยการเพิ่มแคลเซียมและดูแลกระดูกโดยเคล็ดลับต่างๆที่ได้กล่าวมา สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ในวัยเด็กเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุดและต้องไม่ลืมว่าการออกกำลังกายแบบพอเหมาะและรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ท่านมีกระดูกที่แข็งแรง สุขภาพที่ดีไปอีกนาน
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com