7 วิธีสังเกตอาหารบูด ในหน้าร้อน ป้องกันอาการท้องเสีย
advertisement
จากกรณีที่มีข่าวเรื่องชาวบ้านในพื้นที่ของตำบลหนองปรือและใกล้เคียง ซื้อขนมจีบมารับประทานแล้วเกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง กว่า 20 ราย จนสร้างความวิตกกังวลให้กับหลายๆคนอยู่ไม่น้อย และเพื่อเป็นการป้องกันอาการท้องเสีย วันนี้เราจึงได้รวบรวมวิธีการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารบูดหรือเน่าเสียมาฝาก
advertisement
1.เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และผ่านความร้อนมากพอ ในที่นี้หมายถึง อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนเกิน 100 องศาเซลเซียส
2.หลีกเลี่ยงอาหารปรุงสุกที่ตั้งทิ้งไว้นานเกิน 4 ชั่วโมงโดยไม่มีการอุ่นซ้ำ
3.หากซื้ออาหารมาแล้วยังไม่ได้รับประทานทันทีควรเก็บเข้าตู้เย็นไว้ก่อนเพื่อป้องกันการเน่าเสีย
4.หากใครลือวางอาหารไว้ในอากาศที่ร้อนจัด ไม่ควรนำมารับประทานอีกเด็ดขาด เพราะเสี่ยงว่าอาหารจะเน่าเสียแล้ว [ads]
5.ก่อนรับประทานควรสังเกตอาหาร ว่ามีกลิ่นเน่าเสียหรือไม่ มีฟองสีขาวๆอยู่ในอาหารหรือไม่ ถ้ามีไม่ควรรับประทาน
6.หากไม่แน่ใจลองชิมอาหารดูเล็กน้อย ถ้าหาก เปรี้ยว ซ่าลิ้น ควรทิ้งทันที
7.ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังรับประทานอาหาร
อาหารที่ปรุงเสร็จหากยังไม่กินทันที ควรใส่ในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดหรือมีการปกปิด วางให้สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร หากเก็บไว้นานเกิน 2-4 ชั่วโมง ควรนำมาอุ่นให้เดือดก่อนนำมากิน ส่วนอาหาร ที่ไม่สามารถอุ่นได้ เช่น ยำ พล่า ควรปรุง ประกอบในปริมาณเท่าที่จะกินเท่านั้น ไม่ควรทำทิ้งไว้นานๆ และยึดหลักล้างมือ กินร้อน ช้อนส่วนตัว เพื่อลดความเสียงจากโรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ
advertisement
ซึ่งจากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2563 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 271,932 ราย โดยอาการของผู้ป่วยจะคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระ คอแห้งกระหายน้ำ และอาจมีไข้ หากอาการไม่รุนแรงควรให้ดื่มสารละลายเกลือแร่ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หากอาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ขอขอบคุณที่มาจาก : กระทรวงสาธารณสุข