15 ประโยชน์จากถั่วฝักยาว ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน!!
advertisement
'ถั่วฝักยาว' พืชผักจากธรรมชาติที่คุ้นหน้าคุ้นตากันมานาน ถั่วฝักยาวนี้บ้างก็ใช้เป็นผักเครื่องเคียง เช่นในส้มตำ ขนมจีนน้ำยา หรือนำมาจิ้มน้ำพริกก็ได้สามารถนำมาประกอบเป็นส่วนหลักของอาหาร อย่างถั่วฝักยาวผัดพริก หรือแกงส้มก็ได้ ทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารอีกมากมาย ประโยชน์ดีๆ เพื่อสุขภาพ ดังนั้นแล้วเรามาทำความรู้จักกับผักชนิดนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ เชื่อว่าคุณจะตกหลุมรักถั่วฝักยาวจนรีบหามารับประทานกันในทันทีเลย
ถั่วฝักยาวมีชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า Yard Long Bean หรือถั่วยาวเป็นหลานั่นเอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vigna unguiculata (L.) Walp. เป็นพืชในตระกูลถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
advertisement
ถั่วฝักยาว มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย จัดเป็นฝักที่มีชาวเอเชียนิยมรับประทานชนิดหนึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ลักษณะโดยทั่วไปของถั่วฝักยาวคือ เป็นไม้เถาเลื้อย เถาเป็นสีเขียวอ่อน เถาจะแข็งและเหนียวคล้ายกับถั่วพู ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ ลักษณะของใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อยลักษณะคล้ายรูสามเหลี่ยมยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ส่วนลักษณะของดอกถั่วฝักยาว จะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาว (หรือน้ำเงินอ่อน) ฝักมีลักษณะกลม ฝักมีขนาดตั้งแต่ 20 เซนติเมตรขึ้นไป ภายในมีเมล็ดคล้ายเมล็ดถั่วเรียงกันอยู่ ฝักอ่อนมีรสหวานมัน เนื้อกรอบ
ถั่วฝักยาว ประกอบไปด้วยด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และที่สำคัญยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินซี โฟเลต แมกนีเซียมและแมงกานีส นับว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายเลยทีเดียว[ads]
ถั่วฝักยาว ประกอบไปด้วยด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญๆ ในถั่วฝักยาว 100 กรัม ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี่
– คาร์โบไฮเดรต 8.35 กรัม
– ไขมัน 0.4 กรัม
– โปรตีน 2.8 กรัม
– วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม 5%
– วิตามินบี1 0.107 มิลลิกรัม 9%
– วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม 9%
– วิตามินบี3 0.41 มิลลิกรัม 3%
– วิตามินบี5 0.55 มิลลิกรัม 11%
– วิตามินบี6 0.024 มิลลิกรัม 2%
– วิตามินบี9 62 ไมโครกรัม 16%
– วิตามินซี 18.8 มิลลิกรัม 23%ถั่วฝักยาว
– ธาตุแคลเซียม 50 มิลลิกรัม 5%
– ธาตุเหล็ก 0.47 มิลลิกรัม 4%
– ธาตุแมกนีเซียม 44 มิลลิกรัม 12%
– ธาตุแมงกานีส 0.205 มิลลิกรัม 10%
– ธาตุฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม 8%
– ธาตุโพแทสเซียม 240 มิลลิกรัม 5%
– ธาตุสังกะสี 0.37 มิลลิกรัม 4%
advertisement
ถั่วฝักยาวจัดได้ว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีประโยชน์กับสุขภาพอีกมากมาย จึงทำให้ถั่วชนิดนี้กลายเป็นอาหารที่มีดีอย่างครบถ้วนทั้งในด้านรสชาติ และการบำรุงสุขภาพ ซึ่งประโยชน์ของถั่วฝักยาวมีดังนี้ค่ะ
1. อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ถั่วฝักยาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลาย ลดการอักเสบ อันเป็นสาเหตุของโรคภัยต่างๆ อาทิ รวมทั้งช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอีกด้วย อีกทั้งยังมีวิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคหวัด
2. ช่วยลดน้ำหนัก ถั่วฝักยาวเป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่มีปริมาณโปรตีน แทบจะไม่มีไขมันเลย ที่สำคัญคือมีใยอาหารสูง ช่วยทำให้อิ่มนานขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก
3. ลดคอเลสเตอรอล ในถั่วฝักยาว 100 กรัม จะประกอบไปด้วย เส้นใยอาหาร 1.9 กรัม โดยมีทั้งเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ ที่ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกาย และชนิดไม่ละลายน้ำ (ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่มนานและระบบขับ ถ่ายทำงานได้ดีขึ้น) ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ลดลง แต่ทำให้คอเลสเตรอลชนิดที่ดีเพิ่มขึ้น (HDL) จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดอุดตันได้
4. ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ในถั่วฝักยาวมีสารอาหารแคลเซียม และฟอสฟอรัสที่ทำงานร่วมกัน ส่งเสริมและบำรุงสุขภาพกระดูกและฟันให้แข็งแรงสมบูรณ์ ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
5. แก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องท้องผูก ถั่วฝักยาวช่วยคุณได้ค่ะ เพราะมีไฟเบอร์สูง ทั้งชนิดละลายได้ในน้ำ และชนิดที่ไม่ละลายน้ำ จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย และทำให้ระบบลำไส้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ
6. บำรุงหัวใจ ด้วยประโยชน์ในการช่วยลดคอเลสเตอรอล และป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ไฟเบอร์ที่อยู่ในถั่วลันเตาก็ยังช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้อีกด้วย โดยจะเข้าไปป้องกันการก่อตัวของคราบพลักภายในผนังหลอดเลือดแดง ไม่เพียงเท่านั้นไธอะมีน(วิตามินบี1) โฟเลต ไนอะซิน(วิตามินบี3) และวิตามินบี 6 ยังช่วยลดระดับของโฮโมซีสเตอีน (Homocysteine) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจลดลง
advertisement
7. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไฟเบอร์ที่อุดมอยู่ในถั่วฝักยาว ทำให้ถั่วชนิดนี้กลายเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะไฟเบอร์เหล่านี้จะไปทำให้น้ำตาลถูกย่อยช้าลง อีกทั้งสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในถั่วฝักยาวก็ยังไปป้องกันภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ที่สำคัญคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลที่อยู่ในถั่วฝักยาวก็ยังเป็นมิตรกับสุขภาพ
8. บำรุงสายตา วิตามินที่ช่วยบำรุงสายตาก็คือวิตามินเอ ซึ่งในถั่วฝักยาวก็มีอยู่ไม่น้อย ช่วยปกป้องดวงตาจากภาวะต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม ช่วยให้ดวงตาของเรายังใสปิ๊งไปอีกนาน
9. อุดมด้วยธาตุเหล็ก สำหรับคนที่ต้องการเสริมธาตุเหล็ก ถั่วฝักยาวก็เป็นตัวเลือกที่ดีช่วยในการบำรุงสุขภาพ ถัวฝักยาว 100 กรัมให้ธาตุเหล็ก 0.47 มิลลิกรัม 4% ซึ่งธาตุเหล็กนั้นเป็นสารอาหารสำคัญที่พบได้ในฮีโมโกลบิน โปรตีนสำคัญที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การรับประทานธาตุเหล็กอย่างเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอและไม่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย
10. ช่วยเร่งระบบการเผาผลาญ ถั่วฝักยาวมีสารอาหารสำคัญอย่างฟอสฟอรัส ซึ่งมีส่วนช่วยในการเผาผลาญ สารอาหารคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน สำหรับใครที่ต้องการลดความอ้วน จึงไม่ควรพลาดนะคะ
11. มีวิตามินซี สารต้านอนุมูลอิสระทรงประสิทธิภาพ เป็นที่รู้กันดีว่าช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหวัด ช่วยให้อาการป่วยต่างๆ หายได้เร็วขึ้น ป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน และ ที่สำคัญคือช่วยบำรุงเนื้อเยื่อร่างกาย ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส สวยสุขภาพดี
12. ช่วยรักษาฝี ถั่วฝักยาวมีสรรพคุณทางยาซึ่งช่วยรักษาฝีเนื้อร้ายได้ ช่วยทำให้เนื้อเยื่อเจริญเร็วขึ้น ด้วยการใช้รากสดนำไปเผาแล้วบดจนละเอียดผสมกับน้ำแล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น
13. เป็นยาบำรุงม้ามและไต ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดนำมาคั้นสดหรือต้มกับกินกับน้ำ หรือจะใช้รากนำมาตุ๋นกินเนื้อก็ได้เช่นกัน
14. ช่วยรักษาอาการปวดต่างๆ อาการปวดบวม ปวดตามเอว และรักษาแผลที่เต้านม ด้วยการใช้เปลือกฝักประมาณ 100-150 กรัมนำมาต้มกิน หรือใช้ภายนอกด้วยการนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ปวด
15. บรรเทาอาการท้องอืด ถั่วฝักยาวมาสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้อง เรอเปรี้ยว ด้วยการเคี้ยวฝักสดกินเป็นอาหาร[ads]
นอกจากถั่วฝักยาวสีเขียวที่เราคุ้นเคยแล้ว ยังมีถั่วฝักยาวอีก 2 ชนิดที่มีความคล้ายคลึงกันทั้งรูปร่างและประโยชน์ ได้แก่
1) ถั่วฝักยาวแดง เป็นถั่วฝักยาวที่มีผิวนอกสีแดงเข้มจนเกือบม่วง ขนาดฝักจะยาวกว่าถั่วฝักยาวธรรมดา โดยจะให้เส้นใยอาหารและฟอสฟอรัสน้อยกว่า แต่มีแคลเซียมและวิตามินซีสูงกว่า คือ 73 และ 34 มิลลิกรัม ตามลำดับ
2) ถั่วฝักยาวไร้ค้าง เป็นถั่วฝักยาวที่ถูกปรับปรุงพันธุ์ จากการผสมระหว่างถั่วฝักยาวกับถั่วพุ่ม จึงมีลำต้นตั้งตรง ไม่ต้องใช้ค้างช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำค้าง และประหยัดพื้นที่ในการปลูก เป็นพืชผักสวนครัวของบ้านในเมืองซึ่งมีพื้นที่จำกัด
advertisement
ข้อควรระวังในการรับประทานถั่วฝักยาว
ในกระบวนการเพาะปลูก ดูแล หรือเก็บเกี่ยวถั่วฝักยาว อาจมีการฉีดยาฆ่าแมลงในปริมาณที่สูงมากทีเดียว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ก่อนนำมารับประทานก็จะต้องล้างให้สะอาดก่อนเสมอ เช่นนำไปแช่น้ำเกลือ หรือ ด่างทับทิม, เบคกิ้งโซดาก็ได้ ประมาณสัก 10-20 นาที แล้วจึงล้างน้ำผ่าน 4-5 นาที ก่อนจะนำไปปรุงอาหาร
นอกจากอร่อยและสามารถนำไปประกอบอาหารได้อย่างมากมายแล้ว ถั่วฝักยาวยังมีประโยชน์ดีๆ มากมายขนาดนี้ รู้อย่างนี้แล้วถ้าอยากมีสุขภาพดี ก็ลองให้ถั่วฝักยาวเป็นหนึ่งในตัวเลือกเมนูอาหารประจำของคุณกันเถอะค่ะ รับรองว่าไม่มีทางผิดหวังอย่างแน่นอน!
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com