“โรคคลั่งกินคลีน” มีส่งผลเสียต่อสุขภาพ
advertisement
ปัจจุบันกระแสการรักสุขภาพมีมากขึ้นในทุกทุกเพศทุกวัยนะคะ เราจึงมักจะเห็นรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกกำลังกายและการเลือกทานอาหาร ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงจะ พอได้รู้กับเรื่องราวของการอาหารคลีนกันบ้างนะคะ การกินอาหารคลีนนั้นช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์ดีๆ จากอาหาร และที่สำคัญคือไม่อ้วน แต่ที่น่าเป็นห่วงนั่นก็คือในบางคนอาจเกิดสภาวะขาดสารอาหารในการทานอาหารอย่างผิดวิธีได้ จนอาจเป็นไปได้ว่ากลายเป็นภาวะของ “โรคคลั่งกินคลีน” นั่นเอง ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากเลยทีเดียว อยากทราบกันแล้วใช่ไหมคะ ว่าการกินอาหารจะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้อย่างไร วันนี้ Kaijeaw.com มีคำตอบค่ะ
advertisement
โรค “Orthorexia nervosa” หรือ ภาวะคลั่งกินคลีน
แพทญ์หญิงนฤมล จินพัฒนากิจ นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลศรีธัญญา เปิดเผยว่า พฤติกรรมกินคลีน หรือการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ยังไม่ได้ถือว่าเป็นโรคตามเกณฑ์ของ DSM-5 (เกณฑ์การวินิจฉัยโรคตามหลักสากลของจิตแพทย์ทั่วโลก) แต่จะเรียกว่าภาวะ Orthorexia nervosa ซึ่งคำนี้ถูกบัญญัติขึ้น โดยนายแพทย์ชาวแคนาดาชื่อ Steven Bratman ในปี 1996 ภาวะนี้พิจารณาจากเกณฑ์ A และเกณฑ์ B ได้ดังนี้
เกณฑ์ A ความย้ำคิด
เน้นที่การกินอาหารเพื่อสุขภาพ ที่อธิบายได้จากทฤษฎีอาหาร หรือกลุ่มของความเชื่อ ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่จะเด่นชัดที่ปัญหาด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมากในการเลือกอาหารที่มองว่าไม่ดีต่อสุขภาพ จนกระทั่งทำให้เกิดน้ำหนักลดลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม การมีสุขภาพดีในอุดมคติก็ยังคงเป็นเป้าหมายเบื้องต้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ ในการเข้มงวดกับการรับประทานอาหารอย่างมาก ซึ่งหมายรวมถึงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ด้วยนั้น โดยเชื่อว่าจะทำให้มีสุขภาพที่ดี
2. มีความกังวลและรู้สึกละอาย ถ้าทำไม่ได้ตามกฎของการรับประทานอาหารที่วางเอาไว้ เช่น จะกลัวเป็นโรค รู้สึกว่าตัวเองแปดเปื้อน หรือรู้สึกต่อร่างกายในทางลบ
3. การจำกัดอาหารเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ลดจำนวนกลุ่มของอาหารลง และทำให้เกิดการล้างพิษบ่อยมากขึ้นเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์และลดสารพิษ การเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนี้ มักทำให้น้ำหนักลดลง โดยที่ไม่ได้ต้องการลดน้ำหนัก หรือความคิดอยากลดน้ำหนักอาจถูกซ่อนอยู่ใต้ความคิดเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ
เกณฑ์ B พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ จนก่อให้เกิดความเสียหาย ดังต่อไปนี้
1. ภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักลดลงอย่างรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมจากการจำกัดอาหาร
2. มีความตึงเครียดหรือเสียหน้าที่ทางสังคม การเรียน อาชีพ ที่เป็นผลมาจากความเชื่อหรือพฤติกรรมที่เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ
3. การมองร่างกายในแง่บวก ความมีคุณค่าในตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเอง และความพึงพอใจ ขึ้นกับพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพมากเกินไป
ซึ่งอาการคลั่งกินคลีนนี้ หากว่ามีอาการหนักจนไม่สามารถควบคุมได้ อาจเป็นอันตราย ถ้าเป็นถึงขั้นที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง เกิดโรคแทรกซ้อน ชีวิตไร้ความสุข ในส่วนของภาวะนี้มีความเหมือนหรือต่างกับโรค Anorexia nervosa หรือไม่นั้น แพทย์หญิงนฤมลได้กล่าวว่า ภาวะ Orthorexia nervosa ต่างจากโรค Anorexia nervosa ตรงที่โรค Anorexia nervosa จะหมกมุ่นเกี่ยวกับความผอม ส่วนภาวะ Orthorexia nervosa จะหมกมุ่นเกี่ยวกับการกินเพื่อสุขภาพ
สาเหตุหลักๆ ที่การกินคลีนนั้นเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารก็คือ ผู้บริโภคที่มีความรู้และเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ลักษณะวิธีของการกินอาหารคลีน ดังนั้นแล้วการกินอาหารคลีนที่ดีต่อสุขภาพนั้นเป็นอย่างไร ไปดูกันค่ะ
advertisement
หลักการของการรับประทานและปรุง “อาหารคลีน”
1. กินโปรตีนทุกมื้อ เลือกโปรตีนที่ดี ไม่มีไขมันหรือไขมันต่ำ เช่น เนื้อไม่ติดมัน อกไก่บ้าน สันในไก่บ้าน ปลา ไข่ไก่ รวมถึงโปรตีนจากธัญพืชและพืชตระกูลถั่ว เนื้อสัตว์ต้องปรุงให้สุก ในส่วนเนื้อปลาบางชนิด เช่น ปลาแซลมอนและปลาทูน่า สามารถรับประทานดิบได้บ้าง แต่ต้องมั่นใจว่ามาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาด
2. หมู่อาหารประเภทไขมัน เลือกชนิดที่ดีต่อสุขภาพ เช่นไขมันจากปลาทะเล จากธัญพืช เข่นน้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว และทานแต่น้อย
3. หมวดแป้งและน้ำตาลเน้นแบบไม่ขัดสี เช่น ไม่กินแป้ง ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว แต่ให้ทานเป็นข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช
4. เน้นรับประทานอาหารสดใหม่ เป็นวัตถุดิบตามธรรมชาติ เช่น เนื้อ หมู เนื้อไก่ เนื้อปลา ผักสด ผลไม้สด ไม่ทานอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ กุนเชียง แหนม น้ำปลา น้ำเต้าเจี๊ยว น้ำมันหอย น้ำส้มสายชู ผงปรุงรส ผลไม้แห้ง อาหารซอง อาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น
5.เลือกใช้ผัก และผลไม้หลากสีมาใช้ปรุงอาหาร ผักเน้นการกินสด หากปรุงสุกควรผ่านความร้อนแต่น้อย เพื่อคงประโยชน์และวิตามินให้มากที่สุด
6. ทานคราวละน้อยๆ ใช้เวลาในการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดให้นานขึ้น แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อยๆ คือทานบ่อยๆ เช่นมื้อหลัก 3 มื้อ มื้อว่าง 2-3 มื้อ แต่ละมื้อพยายามให้มีสารอาหารครบถ้วน และควรควบคุมพลังงานอาหารต่อวัน
7. กินและปรุงอาหารรสธรรมชาติ จำกัดปริมาณเกลือและน้ำตาล โดยเกลือไม่เกิน 1-2 ช้อนชาต่อวัน น้ำตาล 2-4 ช้อนชาต่อวัน โดยอาจใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติ เพื่อเพิ่มรสเค็มหรือหวานได้เล็กน้อย และควรปรุงอาหารให้เป็นรสธรรมชาติมากที่สุด
8. ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ 2-4 ลิตรต่อวัน เพื่อเพิ่มการไหลเวียนในร่างกาย ไม่ดื่มน้ำผลไม้กล่อง น้ำอัดลม เพราะนอกจากจะมีน้ำตาลสูงแล้วยังมักจะถูกเติมสารกันบูดที่ทำให้ผลิตภัณฑ์อยู่ได้นานขึ้นด้วย
9. งดขนม ครีม ไอศกรีม เค้ก อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารพวกนี้มีน้ำตาลมากกว่าอาหารในธรรมชาติหลายต่อหลายเท่า ทำให้ตับอ่อนทำงานหนักกว่าปกติ
10. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ รวมถึงการสูบบุหรี่ด้วย
สำหรับการรับประทานอาหารคลีนนั้น นับว่าส่งผลดีต่อสุขภาพได้อย่างมากมายเลยทีเดียวนะคะ เพียงแต่ว่าต้องเข้าใจในหลักการกินที่ถูกต้อง ให้คำนึงถึงสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์นั้นเป็นหลักการที่สำคัญค่ะ นอกจากนั้นแล้วอย่าลืมที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนอย่างเพียงพอด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com