ยางระเบิด ขณะขับรถควรทำอย่างไร?
advertisement
ปัจจุบันการเดินทางจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ยวดยนต์ ยานพาหนะ หลายๆ คนมีรถยนต์ส่วนตัว นอกจากการขับขี่แล้วเรายังต้องหมั่นดูแลรักษาให้ใช้งานได้อย่างดีอยู่เสมอด้วยนะคะ ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหา ความขัดข้องที่จะเกิดกับรถยนต์ของคุณ จะต้องหาวิธีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนนะคะ เพราะสภาพการใช้งานที่บกพร่อง หรือชำรุดอาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุร้ายแรงได้ เพราะยางรถมักเป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามอยู่เสมอ ด้วยเป็นอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานนาน ทำให้หลายคนหลงลืมที่จะเอาใจใส่ตรวจสอบอยู่บ่อยๆ หากว่าเกิด ยางระเบิดขึ้น จะมีวิธีการแก้ไขปัญหา ตาม Kaijeaw.com ไปดูกันค่ะ
อาการเตือนก่อนที่ยางจะระเบิด
– ขณะที่ขับรถอยู่ ถ้ารู้สึกว่าพวงมาลัยเริ่มสั่นสะเทือนผิดปกติและบังคับรถได้ยากโดยเฉพาะในขณะเลี้ยว ทั้งๆ ที่ไม่มีปัญหาเรื่องถ่วงล้อและศูนย์ล้อหน้าปกติ ลูกหมากไม่หลวม
– ขณะขับมาระยะแรกๆพวงมาลัยไม่สั่น อาการนี้เป็นสิ่งบอกเหตุว่ายางรถยนต์เริ่มบวมพร้อมที่จะระเบิดแล้ว ควรชะลอความเร็วและจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ลงจากรถแล้วรีบตรวจสภาพยางทันที ซึ่งโดยส่วนมากจะพบว่ายางร้อนจัดและบวมเนื่องจากเสื่อมสภาพ [ads]
หากว่ายางระเบิด ควรขับขี่รถดังต่อไปนี้
1. มีสติ ควบคุมสติให้ดี มองดูกระจกหลังว่ามีรถตามมาหรือไม่
2. จับพวงมาลัยไว้ให้มั่นคง หลักการสำคัญ คือ มือทั้งสองข้างต้องวางอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกันข้ามกัน และในระดับความสูงที่เท่ากันในตำแหน่ง 9.00 น. และ 15.00 น. หัวแม่มือควรเกี่ยวกับก้านพวงมาลัย ทิ้งน้ำหนักจากแขนลงต่ำโดยจับก้านพวงมาลัยเบาๆ แต่ให้มั่นคง
3. ถอนคันเร่งออก
4. ถ้าถนนโล่งค่อยๆ ปล่อยรถไหลไปจนเริ่มชลอความเร็ว หรือถ้าจะเป็นต้องย่นระยะในการเบรก ให้แตะเบรกเบาๆ ห้ามแตะเบรกแรงเป็นอันขาด เพราะอาจจะทำให้รถเสียหลักหมุนได้
5. สำหรับผู้ที่ขับเกียร์แมนนวล ห้ามเหยียบครัชท์โดยเด็ดขาด เพราะถ้าเหยียบครัชท์ จะทำให้รถลอยตัว และบังคับรถได้ยากขึ้นจนอาจเสียหลัก เพราะเมื่อเหยียบครัชท์จะเป็นการตัดแรงบิดเครื่องยนต์จากเพลานั่นเอง
6. ห้ามดึงเบรกมือ เพราะอาจจะทำให้รถหมุนได้
7. เมื่อความเร็วลดลงพอประมาณแล้ว ให้ยกสัญญาณไฟเลี้ยว แล้วนำรถจอดทางซ้ายมือ
8. ถ้าเป็นรถเกียร์แมนนวล เมื่อความเร็วลดลงในระดับที่พอควบคุมได้ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงและหยุดรถ โดยการยกสัญญาณไฟเลี้ยว แล้วนำรถจอดทางซ้ายมือเช่นกัน
advertisement
ข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือ ไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิด ล้อหน้าหรือล้อหลังก็ตาม เมื่อระเบิดด้านซ้ายรถจะแฉลบไปด้านซ้าย แล้วจะสะบัดกลับและสะบัดไปด้านซ้ายอีกสลับกันไป และในทำนองตรงกันข้าม หากระเบิดด้านขวาอาการจะกลับเป็นตรงกันข้าม อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดจากกรณีนี้ และมีผลเสียหายที่รุนแรง ส่วนมากเป็นเพราะขณะยางระเบิดรถวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงมากๆ พอยางระเบิดขึ้นมารถก็จะกลิ้งทันที ผู้ขับจึงไม่มีเวลาและโอกาสที่จะทำอะไรได้เลย ดังนั้นการขับรถที่ใช้ความเร็วสูงๆ จึงมักจะแก้ไขอะไรในเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น จึงไม่ควรขับรถเร็วเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ปัญหายางระเบิดนี้เป็นเรื่องที่สามารถป้องกันได้ หากคุณมีการใส่ใจดูแลตรวจสภาพยางรถอย่างสม่ำเสมอ และฝึกฝนวิธีการขับรถที่ถูกต้องควบคู่ไปด้วย
การหมั่นดูแลตรวจสภาพยางรถทุกเส้นทาง ตามระยะเวลาใช้งานที่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการตรวจสภาพยางรถแต่ละครั้งใช้เวลาไม่มาก อาการเบื้องต้นของยางที่เสื่อมสภาพมีดังนี้
– ลมอ่อนบ่อยๆ โดยไม่พบรอยรั่ว
– มีอาการบวมที่แก้มยางหรือหน้ายาง
– เบรกรถที่ความเร็วต่ำ ยางมีเสียงดังคล้ายการเบรกอย่างรุนแรง
– ขณะเลี้ยวโค้งที่มีความเร็วต่ำ ยางมีเสียงดัง
– พวงมาลัยหรือตัวรถมีอาการสั่น ทั้งๆ ที่ได้ทำการถ่วงล้อมาแล้ว และโช้กอัพไม่เสีย
ถ้าพบว่ามีความผิดปกติตามอาการดังกล่าว สิ่งที่ควรทำคือเปลี่ยนยางใหม่จะปลอดภัยกว่า [ads]
สาเหตุที่ทำให้ยางระเบิดขณะขับรถ อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1) ยางหมดอายุการใช้งาน เช่น แก้มยางมีรอยแตกลายงา บวม ฉีกขาด ดอกยางหมดสภาพ เป็นต้น
2) ยางเก่าเก็บ
3) ขับรถโดยใช้ความเร็วเกินพิกัดยางที่กำหนดไว้
4) บรรทุกน้ำหนักเกินค่ากำหนด
5) สูบลมยางไม่ถูกต้อง
6) เปลี่ยนยางใหม่แต่ใช้จุ๊บเติมลมอันเก่า
กรณีของยางร้อนจัดเนื่องมาจากเบรกติดที่ล้อใดล้อหนึ่ง กรณีนี้อาจทำให้เกิดไฟไหม้รถได้ สาเหตุที่เกิดคือ เลือกใช้ยางไม่ถูกขนาด เช่น เอายางรถเก๋งไปใส่รถปิกอัพ เป็นต้น หรือแก้มยางเสียดสีกับขอบถนน
เพราะยางรถยนต์เป็นอะไหล่ อุปกรณ์การใช้งานอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ไม่แพ้อุปกรณ์อื่นใดเลยนะคะ หากเกิดชำรุดหรือเสื่อมสภาพก็จะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ อันตรายร้ายแรงอย่างมากเลยทีเดียวนะคะ ดังนั้นถ้าหากไม่อยากให้เกิดยางระเบิดขึ้นแล้วล่ะก็ ควรที่จะใส่ใจในการดูแลรักษาและหมั่นตรวจสอบให้อยู่ในสภาพการใช้งานที่พร้อมอยู่เสมอ และหากว่าเกิดยางระเบิดขึ้นแล้วก็อย่าลืมว่าต้องมีสติและทำตามทักษะที่เรามีมาแนะนำกันด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com