นั่ง-ยืนนาน ผิดท่า..เป็นเหตุทำให้ปวดหลัง!!
advertisement
ปัญหาที่บรรดาคนออฟฟิศต้องเจอกันอยู่บ่อยๆ ก็คือเรื่องอาการปวดหลังนั่นเองค่ะ หรืออาจเรียกได้ว่า อาการหนึ่งของโรค "ออฟฟิศซินโดรม" (Office Syndrome) มักมีอาการปวดหลัง รวมไปถึงปวดไหล่ ปวดคอ สาเหตุหลักๆ ก็คือการที่เรานั่งนานๆ เกินไปบวกกับนั่งผิดท่า ทำให้เกิดอาการปวดตามมา ใครที่กำลังพบเจอกับปัญหานี้อยู่ ห้ามพลาดค่ะ Kaijeaw.com มีบทความเรื่องของ นั่ง-ยืนนาน ผิดท่า..เป็นเหตุทำให้ปวดหลัง!! มาฝากกันค่ะ
advertisement
การที่นั่งผิดท่า ยืนผิดท่า
รวมไปทั้งการมีบุคลิกที่ไม่ถูกต้อง เข้าข่ายเสี่ยงต่อโรค จะเป็นการเพิ่มภาระให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักมากขึ้น กล้ามเนื้อบางมัดจะตึงและไม่ยืดหยุ่น จนกระทั่งทำงานได้น้อยลง จนนานๆ เข้าก็อาจปรับตัวให้เข้ากับแรงเครียดของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นไม่ไหว การสะสมท่าทางหรือบุคลิกที่ไม่ดีเหล่านี้จึงทำให้เสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บของเอ็น ข้อ และกระดูกมากขึ้นได้ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง ลามมายังสุขภาพของปอด และอวัยวะภายในอื่นๆ ได้
ทั้งนี้นักวิจัยยังพบความเชื่อมโยงระหว่างการมีบุคลิกที่ไม่ดีกับโรคกระดูกสันหลังคด อาการปวดศีรษะจากความเครียด รวมทั้งอาการปวดหลัง ซึ่งแม้บุคลิกภาพจะไม่ใช่สาเหตุเดียวของโรคเหล่านี้ ทว่าอย่างน้อยการมีบุคลิกภาพไม่ดีก็สามารถส่งผลมาถึงอารมณ์ของเราได้ อย่างที่มีงานวิจัยเคยว่าไว้ บุคลิกภาพไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว
การที่กระดูกยึดหรือกดทับเส้นประสาท นั้นก็เพราะว่าเมื่อเรานั่งยาวนานเกินไปบวกกับนั่งผิดท่า ร่างกายก็จะทำงานผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ อาทิ โรคหัวใจ เป็นโรคที่เสี่ยงมากกว่าคนปกติที่ไม่ได้นั่งนานติดต่อกันเป็นชั่วโมงๆ ถึง 2 เท่า ซึ่งสาเหตุเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้อัตราการเผาผลาญไขมันต่ำ ทำให้ไขมันไปเกาะหลอดเลือดและเกิดเส้นเลือดหัวใจอุดตันรวมไปถึงความดันสูง โรคเบาหวาน เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ได้ขยับจึงทำให้อินซูลินที่ตับอ่อนผลิตออกมาไม่เกิดการตอบรับ ตับอ่อนก็จะสร้างอินซูลินขึ้นมาเรื่อยๆ จนทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานและโรคอื่นๆ ที่เกิดจากตับอ่อน มะเร็ง โรคอ้วนและอีกหลายต่อหลายโรคแทรกซ้อนได้
[ads]
การนั่งที่ดี
คือ ระยะเวลาที่พอเหมาะของการนั่ง ไม่ควรจะเกิน 1 ชั่วโมง โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถหรือเคลื่อนไหวร่างกายไปกับกิจกรรมอื่นๆ ใดทั้งสิน ซึ่งเราควรจะปรับเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ หรือขยับร่างกาย ทุกๆ 10-15 นาที โดยพยายามเดินบ้างเพื่อยืดเส้นสายและกล้ามเนื้อบ่อยๆ แต่นอกจากจะส่งผลต่อร่างกายแล้ว การนั่งนานๆ ยังทำให้สมองทำงานได้ช้าลงอีกด้วย เพราะการขยับร่างกายทำให้เลือดไหลเวียนผ่านสมองได้มากและดีขึ้น ช่วยให้สมองปลอดโปร่งกว่าคนที่นั่งเป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกันหลายชั่วโมง
ลักษณะท่านั่งที่ถูกต้องนั้น ควรนั่งให้ถูกท่า หลังตรง ใบหน้าลำคอตั้งตรง แต่ไม่ใช่ว่าเกร็งจนเกินไป ให้ทำตัวทำไหล่ให้สบายๆ ธรรมชาติ ตั้งศอกและแขนให้ตรง 90 องศา สะโพกและขาต้องตั้งฉากกัน มีที่วางพักเท้าเวลานั่งทำงานนาน เพื่อไม่ให้เท้าลอยขึ้นมาเหนือพื้น เพราะถ้านั่งผิดจะมีผลต่อการถ่ายเทน้ำหนักได้ สังเกตได้หากคุณต้องโน้มตัวหรือก้มคอลงทำงาน สิ่งที่จะตามมาหลังการทำงานแล้วเสร็จคืออาการปวด เมื่อย ของร่างกาย และอาจจะเหนื่อยล้าหนักกว่าปกติร่วมด้วย แต่ถ้านั่งถูกวิธีถูกท่า น้ำหนักจะถูกถ่ายเทไปที่เก้าอี้และขาแทน
นอกจากเก้าอี้นั่งทำงานแล้ว ยังสามารถนั่งบน Exercise Ball ได้ ที่นอกจากเอาไว้ออกกำลังกาย การนั่งบนลูกบอลยังจะช่วยในการบังคับให้กล้ามเนื้อส่วนที่ไม่ทำงานตอนนั่งบนเก้าอี้ธรรมดาปกติได้ทำงานด้วย เป็นการรักษาสมดุลของกล้ามเนื้อได้
advertisement
–
[ads]
ข้อแนะนำในการนั่งทำงานอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง
มีคำแนะนำจากแพทย์ 7 วิธีที่ควรปฏิบัติในการทำงานแก้อาการปวดหลัง ดังนี้
1) การเลือกขนาดของโต๊ะ เก้าอี้ให้เหมาะสมพอดีกับสรีระ
2) ไม่ควรใช้เก้าอี้สปริงที่เอนได้ เพราะไม่มีการรองรับหลังเท่าที่ควร ควรเลือกเก้าอี้ที่เอนได้และมีความสูงของเก้าอี้และโต๊ะได้ระดับและ มีหมอนหนุนหลัง
3) คอมพิวเตอร์ที่ใช้ต้องปรับให้จออยู่ในระดับสายตา คือกึ่งกลางของจออยู่ระดับสายตา การพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ด ควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ จะได้ไม่ต้องยกแขนขึ้นมาพิมพ์
4) ใช้เมาส์ ควรเป็นแทรกกิ้งบอล หรือไร้สาย ที่นำมาใกล้ตัวได้ ใช้ถนัดไม่ต้องยื่นแขน
5) ไม่ควรนั่งหน้าจอเป็นเวลานานๆ ควรพักทุก 45 นาที เพื่อจะได้พักผ่อนอิริยาบถและควรนั่งให้ตรงกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะได้ไม่ต้องบิดตัวไปมา
6) ควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น
7) ควรบริหารร่างกายอยู่สม่ำเสมอ ท่าง่ายๆ คือการเดินไปมา บีบนวดต้นคอบ้าง และทำการยืดกล้ามเนื้อยืดเส้นเป็นประจำ เช่น ยืดกล้ามเนื้อคอ เอียงไปซ้ายและขวา ก้มหน้าเงยหน้า โดยแต่ละท่าค้างไว้ 10 วินาที ต่อมาเป็นการยืดกล้ามเนื้อหลังโดยการก้มตัว หน้าอกประชิดหัวเข่า การยืดและคลายกล้ามเนื้อควรทำช้าๆ และค้างไว้ 10 วินาทีเช่นกัน เพื่อให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นยืดตัว ถ้าก้มแรงๆ หรือกระแทกแรงๆ จะทำกล้ามเนื้อฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้
การนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้นทางที่ดีคือหมั่นฝึกฝนให้ตนเองมีลักษณะนิสัยที่ดีในการนั่ง-ยืน สร้างบุคลิกภาพในการนั่งการยืนให้คุ้นเคยชินเป็นนิสัย เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอาการปวดหลังเรื้อรังได้ดีทีเดียว และอย่าลืมที่จะออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพื่อร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com