ผู้สูงอายุ ใช้ชีวิตอย่างไรให้ห่างไกลโรคภัย!!
advertisement
เมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ นอกจากจำนวนตัวเลขของอายุที่มากขึ้นแล้ว ยังมาพร้อมความร่วงโรยของสุขภาพด้วย ทั้งร่างกายและจิตใจด้วย ผู้สูงอายุมักมีอาการเจ็บป่วยบ่อย และมีสุขภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง รวมถึงอาจมีอาการทางอารมณ์และความคิดวิตกกังวลในหลายๆ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรใส่ใจในการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น เพื่อจะได้มีชีวิตที่ยืนยาว ห่างไกลโรคภัยได้ค่ะ
[ads]
ข้อควรปฏิบัติของผู้สูงอายุ มีดังนี้
1.เลือกกินอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม
ผู้สูงอายไม่จำเป็นที่จะต้องเน้นกินอาหารประเภทแป้ง น้ำตาลและไขมันมากเกินไปอีกแล้ว แต่ควรเน้นอาหารที่ให้โปรตีนแทน เลือกชนิดที่ย่อยง่ายอย่างเนื้อปลา เพิ่มปริมาณแร่ธาตุให้มากเพียงพอ ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก โดยสามารถกินได้จากนมถั่วเหลือง อาหารธัญพืช ผักและผลไม้ต่างๆ หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นหวานจัดหรือเค็มจัด และควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้วเป็นอย่างน้อย
advertisement
2. ออกกำลังกายอยู่เสมอ
วัยสูงอายุ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสร้างความกระฉับกระเฉง สดชื่นให้กับร่างกาย การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนั้น ให้หลีกเลี่ยงประเภทที่ต้องลงแรงกระแทก เริ่มจากการวอร์มอัพ ยืดเส้นยืดสายก่อนออก แล้วจากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มระดับความหนักขึ้นจนถึงในระดับที่ต้องการ และควรออกอย่างต่อเนื่องจนครบระยะเวลาที่กำหนด จากนั้นจึงค่อยๆ ลดจังหวะการออกให้ลงมาในระดับช้าๆ และค่อยๆ หยุดออก ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการปรับสภาพร่างกายและหัวใจให้เกิดความสมดุลไปพร้อมๆ กัน แนะนำเป็นการเดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ หรือการปั่นจักรยาน ซึ่งควรออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้งต่อสัปดาห์
advertisement
3. สูดอากาศบริสุทธิ์เป็นประจำ
เมื่อได้สูดดมอากาศที่บริสุทธิ์เข้าปอดเป็นประจำแล้ว มันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดี ผู้สูงวัยควรไปพักผ่อนที่สวนสาธารณะ หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอากาศดีๆ นอกจากนี้ ควรปรับสภาพบรรยากาศภายในบ้านให้ปลอดโปร่งโล่งสบาย ดูแลบ้านช่องให้สะอาด เปิดหน้าต่าง-ประตูเพื่อรับอากาศดีๆ ให้พัดผ่านเข้ามาถ่ายเท หากรอบบ้านพอมีพื้นที่ก็ควรปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างร่มไม้สีเขียว ให้ความร่มรื่นแก่บ้าน และควรจัดเก็บสิ่งสกปรก หรือสิ่งปฏิกูลอย่างเหมาะสมเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
advertisement
4. งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มสุราและสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ควรงดโดยเด็ดขาดเพื่อช่วยลดโอกาสในการเกิดโรค และอย่างน้อยก็ยังช่วยลดความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ได้ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และป้องกันการประสบอุบัติเหตุ หรือปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ได้อีกด้วย
advertisement
5. ระวังตนจากอุบัติเหตุอยู่เสมอ
วัยสูงอายุมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้น แนะนำให้เลือกทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่อำนวยไหว คำนึงถึงโรคประจำตัว และการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมยังช่วยสร้างเสริมกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง รวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมของบ้าน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การลื่นหรือหกล้มที่มักเกิดขึ้นง่ายดาย
advertisement
6. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
อายุมากขึ้นแล้ว ระบบเผาผลาญย่อมทำงานเสื่อมประสิทธิภาพ หากมีพฤติกรรมการกินแบบผิดๆ ก็ย่อมเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วน ตามมาด้วยปัญหาไขมันอุดตันเส้นเลือด เบาหวาน โรคไต ความดันโลหิตสูง เป็นต้นและหากว่าผอมเกินไปก็อาจทำให้ขาดสารอาหารได้
advertisement
7. ระวังในใช้ยารักษาโรค
ไม่ควรซื้อยากินเอง และไม่กินยารักษาอาการเดิมๆ ที่เก็บเอาไว้นานแล้วมากินใหม่ หรือรับยาจากคนอื่นมากินต่อ เพราะว่า การทำงานของตับและไตในร่างกายผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพต่อการกำจัดยาน้อยลง อาจทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการได้รับพิษจากยา หรือผลข้างเคียงจากยาที่อาจมีแนวโน้มที่รุนแรง และยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ด้วย
advertisement
8. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติในร่างกาย
ความผิดปกติแม้เพียงเล็กๆ อาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายได้ ดังนั้นควรหมั่นตรวจสอบสภาพร่างกาย เช่น การหมั่นคลำหาก้อนที่ผิดปกติตามตัว เพราะอาจเป็นก้อนเนื้อมะเร็งได้ รวมไปถึงปัญหาแผลเรื้อรัง การกลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร ท้องอืดเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ไอเรื้อรัง เหนื่อยง่าย เป็นไข้เรื้อรัง แน่นหน้าอก ท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับกับท้องเสีย และมีอาการขับถ่ายอุจจาระแบบผิดปกติ ไม่ควรปล่อยไว้อย่างนิ่งนอนใจ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับมือรักษาโดยเร็วจะดีที่สุด
9. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
ความดันโลหิตเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมาก ซึ่งความจริงแล้ว ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ก็ควรตรวจวัดความดันสม่ำเสมอได้แล้ว และวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะทำให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการหมั่นทำอารมณ์ให้แจ่มใส มีภาวะทางอารมณ์ที่คงที่ และมองโลกในแง่บวก
advertisement
10. ตรวจสุขภาพประจำปี
ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอทุกปี หรืออย่างน้อยอาจตรวจทุก 3 ปีก็ได้ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือดสูง และควรเข้ารับการตรวจหาโรคมะเร็งด้วยเช่นเดียวกัน โดยโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยก็ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ นอกจากนี้ ยังตรวจสุขภาพดวงตา ตรวจการมองเห็น และการได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย
[ads]
ต้องยอมรับกันแล้วนะคะ ว่าผู้สูงอายุนั้นเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากมาย แต่หากคุณหมั่นดูแลสุขภาพให้มากขึ้น ไม่เครียด ทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ เพียงเท่านี้คุณก็จะมีอายุยืนยาว ไร้โรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพที่ดี อยู่กับลูกหลานได้อย่างยาวนานขึ้นแล้วค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com