แนะ!!วิธีสังเกตอาการ อัมพาต-หลอดเลือดสมอง
advertisement
สคร.12สงขลา แนะวิธีสังเกตอาการ โรคอัมพาต-โรคหลอดเลือดสมอง หากใบหน้าอ่อนแรง หรือหน้าเบี้ยว สับสน พูดลำบาก พูดไม่ชัด ควรนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดภายใน 3 ชั่วโมง
ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.) ที่ 12 จ.สงขลา กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือภาวะที่สมอง ขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เกิดอาการชาที่ใบหน้า ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่ง อ่อนแอ เคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวลำบากอย่างทันทีทันใด เป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการเกิดคือโรคหลอดเลือดสมองตีบตันและโรคหลอดเลือดสมองแตก[ads]
ซึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองมีทั้งที่สามารถป้องกันได้และไม่สามารถป้องกันได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถป้องกันได้คือ อายุ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่เมื่อเข้าสู่วัยทองโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองใน ผู้หญิงจะเพิ่มขึ้น เชื้อชาติ พบว่าคนผิวดำมีอัตราการเกิดและการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนผิวขาว ในขณะที่ชาวเอเชียพบการตีบตันที่หลอดเลือดสมองบ่อยกว่า และพันธุกรรม พบว่าผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ ได้แก่ ภาวะความดันเลือด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา หากสามารถลดพฤติกรรมหรือภาวะเสี่ยงเหล่านี้ได้ ก็จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต น้อยลง
advertisement
สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตนั้น ประชาชนควรเรียนรู้สัญญาณเตือนของโรคนี้ ซึ่งอาจพบอาการเพียง 1 อาการ หรือมากกว่า 1 อาการ คือใบหน้าอ่อนแรง หรือหน้าเบี้ยว สับสน พูดลำบาก พูดไม่ชัด ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็น มีอาการมึนงง เดินเซเสียศูนย์ ผู้มีอาการดังกล่าวต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดหรือภายใน 3 ชั่วโมง เพราะการรักษาที่ทันท่วงทีจะช่วยลดความเสี่ยงของความพิการที่อาจจะเกิดขึ้นและรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้ [ads]
ท่านที่มีอาการดังกล่าว สามารถโทร.สายด่วน 1669 โดยจะมีให้บริการ รับส่งโรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : thaihealth.or.th, Prawpan Suriwong, หนังสือพิมพ์แนวหน้า