ไข้มาลาเลียมีอาการแบบไหน..มีวิธีป้องกันอย่างไร!!

advertisement
ไข้มาลาเรีย ติดต่อได้อย่างไร
วงจรการติดต่อของไข้มาลาเรีย
advertisement

ไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น เป็นโรคติดต่อที่มีอันตรายร้ายแรง ได้ทำลายชีวิตมนุษย์ บั่นทอนสุขภาพอนามัย และเศรษฐกิจของประชาชนมาแล้วนับจำนวนมหาศาล ติดต่อได้โดยยุงก้นปล่องบางชนิดไปกัดคนที่เป็นไข้มาลาเรีย แล้วรับเชื้อไข้มาลาเรียจากคนที่เป็น เชื้อจะเจริญอยู่ในตัวยุงประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นเมื่อยุงมีเชื้อไข้มาลาเรียไปกัดบุคคลอื่น หลังจากบุคคลนั้นรับเชื้อแล้วประมาณ 10 – 14 วัน บุคคลนั้น ก็จะมีอาการเป็นไข้มาลาเรีย
[ads]
มีอาการอย่างไร
-ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัวปวดเมื่อยตามร่างกาย
-จับไข้หนาวสั่น อาจจับทุกวันหรือวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวันแล้วแต่ชนิดของเชื้อ
-เมื่อลดไข้ เหงื่อจะออกหลังจากนั้นจะมีอาการปกติ
-รู้สึกอ่อนเพลีย ทำงานไม่ไหวเมื่อเป็นนานๆ ร่างกายจะซูบซีดและในรายที่เป็นชนิดร้ายแรงอาจถึงตายได้ในเวลาอันรวดเร็ว
การควบคุมไข้มาลาเรีย
-ยินยอมให้พ่นสารเคมีในบ้านอย่างทั่วถึง เพื่อทำให้ยุงนำชื้อไข้มาลาเรียอายุสั้นลง
-นำมุ้งไปชุบน้ำยา ที่สำนักงานควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงทุกแห่งหรือที่เจ้าหน้าที่ไปให้บริการถึงหมู่บ้าน
-รับการเจาะเลือด เพื่อนำไปตรวจหาเชื้อไข้มาลาเรีย
-กินยารักษาไข้มาลาเรียตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
-เลี้ยงและปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่นปลาหางนกยูง ในใน้ำใช้และแหล่งน้ำไหลภายในหมู่บ้าน
advertisement

การป้องกัน
-นอนในมุ้งหรือมุ้งชุบน้ำยา
-ใช้ยาทากันยุง
[yengo]
สถานที่ตรวจและรักษาไข้มาลาเรีย
เมื่อมีอาการปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัวหรือจับไข้หนาวสั่น ควรรีบไปตรวจและรักษา ที่
-มาลาเรียคลินิก
-สถานีอนามัย
-โรงพยาบาล
-อาสาสมัครมาลาเรีย หรืออาสาสมัครสาธารณสุข ได้ทุกแห่ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่7 อุบลราชธานี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข