ลูกพูดช้า..รับมืออย่างไร?
advertisement
พัฒนาการทุกอย่างของลูกน้อยนั้นสำคัญต่อพ่อแม่ ที่จำเป็นต้องใส่ใจดูแลให้ลูกมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย ในเรื่องของการพูด การออกเสียงก็เช่นเดียวกัน หลายบ้านต้องพบกับ “ปัญหาเด็กพูดช้า” ในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องมาจากปัจจัยด้านการเลี้ยงดูด้วย รวมไปถึงพัฒนาการเรื่องการพูดของเด็กแต่ละคนแตกต่างกันออกไป เพราะการรับรู้ การเรียนรู้ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น พ่อแม่ที่กังวลกับปัญหาลูกพูดช้า มีวิธีการรับมือได้ดังนี้ค่ะ[ads]
> พัฒนาการด้านการพูดของเด็กเล็ก
ทางการแพทย์ระบุว่า พัฒนาการด้านการพูดของเด็กเริ่มตั้งแต่แรกคลอด นั่นก็คือเสียงร้องของเด็กในวินาทีที่ออกมาจากท้องแม่
advertisement
– ช่วงอายุ 2- 3 เดือน พัฒนาการด้านการพูดของลูกจะเริ่มชัดเจน ขึ้น ด้วยการส่งเสียง อ้อแอ้ เป็นโอกาสดีที่พ่อแม่ควรพูดโต้ตอบกับเสียงอ้อแอ้นั้นในทุกครั้ง
– ช่วงอายุ 5- 6 เดือน พัฒนาการในช่วงนี้ เด็กจะเริ่มเล่นน้ำลาย เป่าปาก มีเสียงจากลำคอให้ได้ยินอยู่บ่อยๆ
– ช่วงอายุ 10 -15 เดือน หรือ 1 ขวบโดยประมาณ เสียงในลำคอจะเปลี่ยนมาเป็น คำพูด เป็นคำๆ เป็นคำที่มีความหมาย พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกได้รู้จักคำศัพท์ง่ายๆ และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประมาณ 2 ขวบ
– ช่วงอายุ 2 ขวบ ขึ้นไป เด็กจะก็จะเริ่มพูดคำที่มีความหมาย 2 คำ ติดกัน เป็นวลีสั้นๆ เช่น “ไปไหน” “ไม่เอา” แล้วก็จะเริ่มขึ้นเป็นประโยคยาวๆ ได้ประมาณ 3-4 ขวบ
– ช่วงอายุ 3-4 ขวบ เด็กจะสามารถเข้าใจการสื่อสารได้พอๆ กับวัยผู้ใหญ่ สามารถพูดประโยคตอบโต้ได้ แต่อาจพูดไม่ได้ในประโยคใหม่ๆ ที่เขายังไม่เคยได้ยินมาก่อน เมื่อเข้าอนุบาล จะพูดเก่งขึ้นตามเพื่อนและตามวัย
advertisement
> ความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องการพูด
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเด็กอายุ 2 ขวบ ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้เลย หรือ พูดได้แค่คำศัพท์คำเดียว หรือสื่อสารกับคนอื่นๆ ไม่ได้ ก็ถือว่าผิดปกติอย่างแน่นอน สังเกตได้จากการพูดสื่อสารให้เราเข้าใจได้หรือไม่ เราสามารถดูจากการพูดหรือสั่ง ว่าเด็กเข้าใจหรือไม่ สามารถทำตามคำสั่งได้หรือไม่ ซึ่งเด็กอายุ 1 ขวบนั้นสามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เข้าใจได้ว่าพ่อแม่พูดว่าอะไร เด็กมีความสนใจหรือไม่ เรียกชื่อแล้วเด็กหันมารับทราบหรือตอบรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถนำมาประกอบกันดูว่า เด็กผิดปกติหรือไม่โดยการพัฒนาทางภาษา นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ทาง คือ การพูด และการรับฟัง ซึ่งจะต้องพัฒนาการควบคู่กันไป
> เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
ซึ่งถ้าหากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นถึงพัฒนาการทางภาษาของลูกที่ไม่ปกติ ไม่เหมือนเด็กคนอื่นๆ อย่ารอจนลูกอายุครบ 2 ขวบหรือมากกว่า ควรจะไปขอคำปรึกษากับแพทย์นะคะ เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยและหาทางรักษาแก้ไขอย่างทันท่วงที
advertisement
> สาเหตุที่เด็กพูดช้า
1. เด็กมีความผิดปกติของหูหรือไม่ เช่น การได้ยินไม่ได้ หูดับ หูหนวก หรือไม่
2. มีการพัฒนาล่าช้าไปทุกๆ ด้าน หรือมีภาวะปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มนี้พัฒนาการด้านอื่นๆ จะช้า แต่ก็จะไปพร้อมๆ กัน
3. ภาวะออทิสติก เด็กกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องในเรื่องของการใช้ภาษาการสื่อสารกับผู้อื่น ทางการพูด หรือการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด เช่น การใช้ท่าทาง การสบตา ในด้านสังคมก็จะเสียไปด้วย
4. พบว่ามีประวัติในครอบครัวมีญาติที่เคยพูดช้า สาเหตุหนึ่งที่ส่วนใหญ่มักพบไม่บ่อยนั้น กลุ่มนี้เราเรียกว่ามีความบกพร่องเฉพาะด้าน เฉพาะการพูดอย่างเดียว พอเริ่มพูดได้ก็จะพูดเป็นปกติ
5. เด็กที่พูดช้า แต่ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น ผู้ปกครองไม่มีเวลา ก็มักจะเปิดโทรทัศน์ไว้ให้เด็กดู แต่ไม่มีติดต่อสื่อสารโต้ตอบ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการสื่อสารเพียงอย่างเดียว ทำให้การพัฒนาทางภาษาของเด็กหยุดชะงัก
advertisement
> แก้ปัญหา รับมือลูกพูดช้า
กระตุ้นการพูดของลูก
1. หมั่นพูดกับลูก
พ่อแม่ ผู้ปกครอง คนในบ้าน ควรให้ความเอาใจใส่ พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ ตั้งแต่ยังเล็กให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
2. เลียนเสียงโต้ตอบ
เมื่อลูกเริ่มเปล่งเสียง เล่นเสียง ให้พ่อแม่เลียนเสียงโต้ตอบกับลูก พยายามกระตุ้นและจูงใจให้ลูกพูดด้วย
3. สร้างสถานการณ์ผ่อนคลาย
ในกรณีที่ลูกยังไม่พูด คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดคั้นหรือลงโทษลูก เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเครียด และไม่ยอมพูดมากขื้น
advertisement
4. ให้กำลังใจ
ช่วงที่ลูกพยายามพูด แม้ในระยะแรกจะพูดไม่ชัด ไม่ควรตำหนิเด็ก แต่ควรพูดคำที่ถูกต้องให้เด็กฟัง อาจเลือกคำสั้นๆ ง่ายๆ ก่อน และเมื่อเด็กพูดได้ก็ควรให้คำชม หรือรางวัล
5. กระตุ้นอยู่เสมอ
คุณแม่สามารถกระตุ้นการพูดของลูกได้โดย เริ่มจากสิ่งที่เด็กกำลังสนใจอยู่ เช่น อ่านนิทานที่ลูกชอบให้ฟัง ชี้ชวนให้ดูภาพและพูดภาพนั้นออกมาให้ลูกได้ยิน
6. อย่าละเลย
ควรหมั่นกระตุ้นส่งเสริมและเช็กอาการผิดปกติ ด้านการพูดของลูกน้อย ไม่ควรชะล่าใจ เพื่อจะได้รับมือกับอาการที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยค่ะ[ads]
ครอบครัวและสังคมเป็นปัจจัยที่สำคัญ ส่งผลต่อการพูดโดยตรงของลูกน้อย หากลูกได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม และถ้าคุณพ่อคุณแม่หมั่นพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ ก็จะเป็นการส่งเสริมให้ลูกของคุณมีพัฒนาทักษะทางภาษา และการพูดที่ดีไปด้วยค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com