หมากเม่า ผลไม้พื้นบ้าน..เป็นยาระบาย บำรุงสายตา ต้านอนุมูลอิสระ!
advertisement
หมากเม่า เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งในเขตภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากที่อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร เชื่อบางท่านอาจจะไม่รู้จัก และว่า หมากเม่า ผลไม้ป่านี้จะมีประโยชน์มากมาย และเพื่อให้หายข้องใจ เรามารู้จัก หมากเม่า และประโยชน์ของหมากเม่า พร้อมๆกันเลยค่ะ
advertisement
หมากเม่า
ชื่อท้องถิ่น : ต้นเม่า (ภาคกลาง), หมากเม่า (ภาคอีสาน), หมากเม้า, บ่าเหม้า (ภาคเหนือ), เม่า, หมากเม่าหลวง, มัดเซ และ เม่าเสี้ยน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma ghaesembilla Gaertn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
[ads]
advertisement
—
advertisement
ลำต้น : หมากเม่าเป็นไม้พุ่มต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร เป็นไม้พื้นเมืองเนื้อแข็ง แตกกิ่งก้านเป็นจำนวนมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม
ใบ : เป็นใบเดี่ยว สีเขียวสด ปลายและโคนมนกลมถึงหยักเว้า ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบมันทั้ง 2 ด้าน แผ่นใบกว้าง 3.5-4.5 ซม. ยาว 5-7 ซม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ มักออกใบหนาแน่นเป็นร่มเงาได้อย่างดี
ดอก : ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด คล้ายช่อพริกไทย จะออกตามซอกใบใกล้ยอดและปลายกิ่ง แยกเพศกันอยู่คนละต้น ยาว 1-2 ซม. ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมเหลือง มักจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
ผล : ผลหมากเม่ามีขนาดเล็กเป็นพวง ภายใน 1 ผลประกอบด้วย 1 เมล็ด ผลดิบสีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม มีรสเปรี้ยว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วงดำในที่สุด ผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยวปนฝาดเล็กน้อย
ระยะเวลาออกดอกและติดผล : ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลสุกช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
advertisement
advertisement
advertisement
1. ผลดิบสีเขียวอ่อน ประกอบอาหารคล้ายส้มตำเม่า
2. ผลแก่สีแดงมีรสเปรี้ยว ส่วนผลแก่จัดสีดำม่วง จะมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้สด
3. ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบายและบำรุงสายตา ใบสดนำมาอังไฟเพื่อใช้ประคบแก้อาการฟกช้ำดำเขียว เปลือกต้นเม่าใช้เป็นส่วนประกอบของลูกประคบ
4. ผลหมากเม่าสุก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด แคลเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามิน B1 B2 C และ E
5. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่น น้ำผลไม้ ไวน์เม่า แยม กวน สีธรรมชาติผสมอาหาร ฯลฯ
6. น้ำเม่าสกัดเข้มข้น 100% มีสารอาหาร วิตามินหลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายรวมทั้ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ
7.ไวน์หมากเม่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
8.กัม มาลและคณะ (2546) ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียของสมุนไพรไทย 5 ชนิด คือ มะเม่า ฟ้าทลายโจร หญ้าแห้วหมู ผักเป็ดแดง และสายน้ำผึ้ง พบว่า มะเม่า สายน้ำผึ้ง และหญ้าแห้วหมู มีศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ได้
advertisement
– พลังงาน 75.2 กิโลแคลอรี
– โปรตีน 0.63 กรัม
– เส้นใย 0.79 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 17.96 กรัมมะเม่า
– กรดแอสพาร์ติก 559.43 มิลลิกรัม
– ทรีโอนีน 227.47 มิลลิกรัม
– ซีรีน 285.75 มิลลิกรัม
– กรดกลูตามิก 618,62 มิลลิกรัม
– โพรลีน 234.94
– ไกลซีน 250.23 มิลลิกรัม
– อะลานีน 255.17 มิลลิกรัม
– วาลีน 57.36 มิลลิกรัม
– ซีสทีน 274.60 มิลลิกรัม
– เมทไธโอนีน 22.87 มิลลิกรัม
– ไอโซลิวซีน 226.78 มิลลิกรัม
– ลิวซีน 392.53 มิลลิกรัม
– ไทโรซีน 175.17 มิลลิกรัม
– ฟีนิลอะลานีน 317.70 มิลลิกรัม
– ฮีสติดีน 129.43 มิลลิกรัม
– ไลซีน 389.08 มิลลิกรัม
– อาร์จินีน 213.33 มิลลิกรัม
– ทริปโตเฟน 189.00 มิลลิกรัม
– วิตามินบี1 4.50 ไมโครกรัม
– วิตามินบี2 0.03 ไมโครกรัม
– วิตามินซี 8.97 มิลลิกรัม
– วิตามินอี 0.38 ไมโครกรัม
– ธาตุแคลเซียม 13.30 มิลลิกรัม
– ธาตุเหล็ก 1.44 มิลลิกรัม
จะเห็นได้ว่า หมากเม่า เป็นผลไม้พื้นบ้าน แต่สรรพคุณเพียบเลยใช่ไหมค่ะ คนรักสุขภาพคงไม่พลาดที่จะหา หมากเม่า มาทานกันนะคะ ทานแล้วรับรองว่า สุขภาพดี ห่างไกลโรคภัยอย่างแน่นอนค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com
อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมการเกษตร ,สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร ,กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสานสกลนคร