ว่านหอม บำรุงหัวใจ คลายเครียด
advertisement
"ว่านหอม" พืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่ยังมีอีกหลายๆ ชื่อเรียกกัน ไม่ว่าจะเป็น ว่านหอมมงคล เปราะหอม เสน่ห์จันทน์ หรือว่านอูด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Kaemferia galangal L. โดยทั่วไปจะพบได้มากในแภบทางภาคอีสาน เพราะเชื่อว่าเป็นว่านศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตามหานิยม เป็นพืชมงคล ถือกันว่าว่านหอมเป็นว่านมหาเสน่ห์ ที่ใช้ในการปลุกเสก และนิยมใช้ในงานมงคลต่างๆ โดยเฉพาะงานแต่งงานอีกด้วย ในส่วนของประโยชน์ทางด้านสมุนไพรนั้น Kaijeaw.com ก็มีมาบอกกันด้วยค่ะ
สรรพคุณยาสมุนไพร “ว่านหอม”
advertisement
1. แก้ปวด บวม แก้อักเสบ
นำว่านหอมมาโขลกหรือทุบ ใส่น้ำพอชุ่ม แล้วเอาใส่ผ้าพันไว้บริเวณที่ปวด บวม ซึ่งการวิจัยในปัจจุบันพบว่า ว่านหอมมีฤทธิ์ลดการอักเสบ จึงนิยมใช้ทำลูกประคบ หรือเคี่ยวกับน้ำมันไว้ทาแก้ปวดเมื่อย โดยอาจใช้ว่านหอมอย่างเดียว หรือผสมสมุนไพรอื่นๆ เป็นต้น[ads]
2. แก้ปวดหัว บำรุงหัวใจ
อาการปวดหัวดิบ (การปวดหัวตึ้บๆ โดยทราบสาเหตุ) หรือมีความเครียด ให้โขลกว่านหอมทั้งหัวและใบ ใส่น้ำพอชุ่ม แล้วเอาไปชุบมาคลุมไว้บนหัว หรืออาจจะใช้เฉพาะหัว ตำ คั้นเอาน้ำไปผสมกับแป้ง หรือว่านหูเสือ ก็จะได้แป้งดินสอพองไว้ทาที่ขมับแก้ปวดหัว นอกจากนี้ยังมีการผสมลงในยาหอม เพื่อบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท
advertisement
3. แก้ท้องอืด แก้ปวดท้อง
ว่านหอมมีสรรพคุณเป็นยาขับลม และแก้ปวดท้อง โดยการใช้หัวสดๆ คั้นน้ำหรือต้มกินก็ได้ สอดคล้องกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า สารสกัดจากว่านหอม ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กคลายตัว และบรรเทาอาการปวดท้องได้
4. แก้หวัดคัดจมูก สำหรับเด็กเล็ก
ใช้เปราะหอม โขลกสุมหัว(เอาไว้บนกระหม่อมเด็ก) แก้หวัด คัดจมูก และเชื่อว่าจะช่วยให้กระหม่อมเด็กปิดเร็วขึ้น
advertisement
5. ต้านอนุมูลอิสระ
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่า ว่านหอม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการอักเสบ แก้ปวด ดูดกลืนแสงยูวี ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและรา เป็นต้น
6. ช่วยให้นอนหลับและคลายเครียด
ในยาที่มีส่วนผสมของว่านหอม แหน่งหอม อุปากะสะ (รากตำยาน) และดอกไม้ไหว โดยจะบดส่วนผสมนี้ให้เป็นผงแล้วโรยเข้าไปในไฟ เมื่อได้กลิ่นไอของควันจะช่วยทำให้นอนหลับและคลายเครียดได้ดี และมีการแนะนำให้ใช้หัวว่านหอมต้มหรือชงกิน เพื่อช่วยในการนอนหลับคลายเครียดได้[ads]
advertisement
ประโยชน์ของว่านหอม
ใบว่านหอมนั้น สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ ผักแกล้มมีกลิ่นหอม หรือหั่นฝอยใส่ผัดเผ็ดปลา ปลาไหล หัวนำมาตำใส่เครื่องแกง หรือนำมาหั่นเหมือนกระชายใส่ผัดเผ็ดต่างๆ ฯลฯ
*** บทความมุ่งให้ทราบสรรพคุณของสมุนไพรเท่านั้น ควรใช้ด้วยความรอบคอบ
ด้วยสรรพคุณมากมายของว่านหอม ทำให้ในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของว่านหอม ซึ่งก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ใดก็ควรตรวจสอบความปลอดภัยอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com