อาจารย์เจษฎ์ เฉลยแล้ว!! ดื่มชาเย็นมากๆ มีความเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไตจริงหรือไม่..? ฟังให้กระจ่าง!!
advertisement
อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาเปิเผยความจริงเรื่องที่มีการแชร์ในโลกออนไลน์ เกี่ยวกับเรื่องของ ดื่มชาเย็น แล้วเป็นโรคนิ่วในไต ซึ่งอาจารย์ได้ออกมาโพสต์ระบุว่า…
advertisement
"ดื่มชาเย็น แล้วเป็นโรคนิ่วในไต จริงเหรอ ??"
มีภาพแชร์กันจากเพจหนึ่งบอกว่า มหาวิทยาลัยลาโยล่า เตือน "ชาเย็นมีปริมาณของกรดออกซาลิกอยู่มาก เป็นสารที่ให้เป็นนิ่วในไต ควรดื่มแต่พอดี " … ความจริงนั้น ถ้าคุณเป็นคนปรกติ ไม่ได้เป็นโรคนิ่วในไตอยู่แล้ว และกินตามปรกติ ก็ไม่ต้องกังวลอะไรครับ … แถมกินชาไทยใส่นมเนี่ย ยิ่งช่วยลดความเสี่ยงลงด้วยนะ [ads]
จริงๆ แล้ว คำเตือนที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงแค่ "ชาไทยเย็น" แบบในรูปประกอบ แต่รวมถึงชาดำและชาเขียวทั้งหมด ทั้งชาเย็นและชาร้อน (พอดีมันเป็นเอกสารคำเตือนที่ออกมาช่วงฤดูร้อน เลยกลายเป็นว่าพูดถึง ชาเย็น) โดยระบุว่าในน้ำชานั้น จะมีสารออกซาเลต (oxalate) หรือกรดออกซาลิก (oxalic acid) อยู่สูง ซึ่งออกซาเลตสามารถรวมตัวกับแคลเซี่ยมให้กลายเป็นแคลเซี่ยมออกซาเลต ซึ่งเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายและทำให้เกิดนิ่วในไตได้ … คนที่มีปริมาณของออกซาเลตในปัสสาวะสูง ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการเป็นนิ่ว
advertisement
แต่จริงๆ แล้ว ออกซาเลตส่วนมากที่ร่างกายของเราขับออกไปกับปัสสาวะนั้น ไม่ได้มาจากอาหารที่เรากินเข้าไป แต่มาจากกระบวนการย่อยสลายสารต่างๆ ในร่างกายที่ตับ … มีงานวิจัยที่ระบุว่า น้ำชานั้น ไปเพิ่มระดับของออกซาเลตในปัสสาวะของคนปรกติที่ร่างกายแข็งแรง ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะถึงแม้ว่าน้ำชาจะมีออกซาเลตอยู่สูง แต่ก็ถูกดูดซึมได้เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น … หรืออาจจะบอกได้ว่า มีอาหารอย่างอื่นอีกมาก (เช่น ผักโขม) ที่ยังน่ากังวลมากกว่าชา เพราะมีออกซาเลตสูง และร่างกายสามารถดูดซึมได้ด้วย [ads]
ดังนั้น สำหรับคนปรกติแล้ว การดื่มน้ำชาจึงไม่ได้จะไปเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นนิ่วในไต แถมยังพบว่า มีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่ระบุว่า น้ำชาอาจจะช่วยลดการเกิดนิ่วด้วยซ้ำ ที่เป็นเช่นนั้น เป็นไปได้ว่า 1) แม้จะมีปริมาณมาก แต่ออกซาเลตในน้ำชาก็ไม่ได้ถูกร่างกายดูดซึมเข้าไปนัก 2) ปริมาณของน้ำในน้ำชา ช่วยทำให้ปัสสาวะเจือจางลง เลยไปลดปริมาณออกซาเลตในปัสสาวะลงไป 3) คาเฟอีนในน้ำชาไปช่วยขับปัสสาวะ ทำให้ปริมาณของออกซาเลตลดลงเช่นกัน 4) ถ้าคุณดื่มชาใส่นม (แบบฝรั่งชอบกิน … หรือแบบชาไทยเย็น) แคลเซี่ยมในนมก็จะไปจับกับออกซาเลต ทำให้ยิ่งลดปริมาณของออกซาเลตลงเข้าไปใหญ่
advertisement
แล้วในกรณีของคนที่มีนิ่วในไตล่ะ จะกินชาได้หรือไม่ … คำตอบตามเหตุผลข้างต้น ก็คือ ได้ครับ … แต่กระนั้น มีงานวิจัยที่ระบุว่าประมาณ 20% ของคนที่เป็นโรคนิ่วนั้นเกิดจากการที่ร่างกายดูดซึมออกซาเลตได้มากกว่าคนอื่น ดังนั้น ถ้าชอบน้ำชา ก็ควรจะดื่มแค่พอดีๆ ไม่มากเกินไป
สรุปก็คือ ดื่มชาเย็น ไม่น่าจะทำให้เป็นนิ่วครับ และคนที่เป็นนิ่วแล้ว ก็ไม่ได้จะหายจากนิ่วเพียงแค่เลิกกินชาเย็น … แต่ถ้าใครมีค่าออกซาเลตในปัสสาวะสูง ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ด้วยว่าจะควบคุมปริมาณออกซาเลตในอาหารทั้งหมดอย่างไร
ขอขอบคุณที่มาจาก : อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์