ผักเบี้ยใหญ่..วัชพืชเป็นยาดี!!
advertisement
พืชหลายชนิดที่เราไม่รู้ว่านำมาใช้รับประทาน หรือช่วยในการรักษาโรคได้ เราจึงมองว่าพืชเหล่านั้นเป็นวัชพืชที่ควรกำจัดทิ้ง แต่วันนี้ kaijeaw.com จะพาไปรู้จักพืชอีกชนิดหนึ่งนั้นคือ ผักเบี้ยใหญ่ ซึ่งหลายคนที่ไม่รู้จักผักชนิดนี้อาจจะเคยกำจัดทิ้งมาแล้วก็เป็นได้ งั้นเรามาดูถึงสรรพคุณของผักชนิดนี้กันเลยค่ะ
ผักเบี้ยใหญ่
ผักเบี้ยใหญ่ ชื่อสามัญ Purslane, Common purslane, Common garden purslane, Pigweed purslane
ผักเบี้ยใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Portulaca oleracea L. จัดอยู่ในวงศ์ผักเบี้ย (PORTULACACEAE)
สมุนไพรผักเบี้ยใหญ่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักตาโค้ง (นครราชสีมา), ผักอีหลู ตะก้ง (อุบลราชธานี), ผักเบี้ยดอกเหลือง (ภาคกลาง), ผักอีหลู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), แบขี่เกี่ยง ตือบ้อฉ่าย (จีนแต้จิ๋ว)
advertisement
ลักษณะของผักเบี้ยใหญ่
ลำต้น : เป็นพืชล้มลุกลำต้นเตี้ย อวบน้ำ เลื้อยทอดไปตามดิน มีสีเขียวหรือม่วงแดง ปลายตั้งชูขึ้นแผ่เป็นผืนใหญ่สูงราว ๆ 5-10 เซนติเมตร
ใบ : ใบเดี่ยว ออกตรงกลาง มีลักษณะรูปไข่กลับ หรือคล้ายลิ้น ปลายมน โคนเรียวเล็ก ใบหนาเป็นมัน สีเขียว
ดอก : มีทั้งดอกเดี่ยว หรืออาจออกเป็นช่อแต่ไม่มีก้านดอก ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองสดก้านสั้น มีขนหรือเยื่อบาง ๆ รอบที่โคนดอก
ผล : มีลักษณะกลมรี เมื่อสุกจะมีสีเหลืองเข้ม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล
เมล็ด : มีลักษณะกลมหรือรูปไตสีดำเป็นเงา มีจำนวนมาก
ทั้งนี้ ผักเบี้ยใหญ่ขึ้นง่ายตามธรรมชาติ มักพบตามซอกหินซอกกำแพง พื้นดิน
advertisement
ประโยชน์ของผักเบี้ยใหญ่
1. ใช้รับประทานเป็นผักสด ผักสลัดได้ หรือนำมาต้ม ลวก รับประทานร่วมกับน้ำพริก ใช้ใส่ในแกงจืด ซึ่งจะออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ชาวยุโรปจึงนำมาดองใส่เกลือและน้ำส้ม เพื่อเก็บเอาไว้รับประทานในช่วงฤดูหนาวหรือยามขาดแคลน
2. ในทวีปยุโรปบางประเทศจะปลูกต้นผักเบี้ยใหญ่เป็นไม้ประดับ
คุณค่าทางอาหารของผักเบี้ยใหญ่
คุณค่าทางโภชนาการของผักเบี้ยใหญ่100 กรัม ให้คุณค่าทางอาหารดังนี้
จะประกอบไปด้วยโปรตีน 2.2 กรัม, ไขมัน 0.3 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 7.9 กรัม, ใยอาหาร 1.1 กรัม, น้ำ 87.5%, แคลเซียม 115 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม, วิตามินเอ 2,200 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.14 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 0.8 มิลลิกรัม, วิตามินซี 21 มิลลิกรัม[ads]
advertisement
สรรพคุณของผักเบี้ยใหญ่
1. น้ำคั้นจากใบสดใช้ผสมกับน้ำผึ้งและน้ำตาล ใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการกระหายน้ำ แก้ไอแห้ง (ใบ) ส่วนอีกตำราระบุให้ใช้เมล็ดเป็นยาแก้กระหายน้ำและแก้อาการไอ (เมล็ด)
2. เนื่องจากพืชชนิดนี้จะมีสารที่เป็นเมือกอยู่ภายในต้น ใช้ทาภายนอกเป็นยาแก้อาการอักเสบและแผลต่าง ๆ ได้ (ใบ)
3. แก้บิดถ่ายเป็นเลือด ใช้ต้นนี้สด 550 กรัม ล้างสะอาดเอาไปนึ่ง 3-4 นาที แล้วตำคั้นเอาน้ำมาประมาณ 150 ซี.ซี. ให้กินครั้งละ 50 ซี.ซี. วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ยานี้สด 1 กำมือผสมปลายข้าว 3 ถ้วย ต้มเป็นข้าวต้มเละๆ กินจืดๆ ตอนท้องว่างก็ได้ (ต้น)
4. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ บางท้องถิ่นจะนำเมล็ดมาตำแล้วต้มกับเหล้าไวน์ ให้เด็กรับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด)
5. ใช้รักษาฝีประคำร้อย ด้วยการใช้ยานี้ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เผาให้เป็นถ่าน บดให้เป็นผงผสมกับไขหมู แล้วชะล้างบาดแผลให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง แล้วเอายานี้มาพอกวันละ 3 ครั้ง (ต้น)
6.ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
7.ใช้แก้เด็กไอกรน ด้วยการใช้ยานี้ปรุง 50% โดยใช้ยานี้สด 250 กรัม ใส่น้ำ 1.5 ลิตร แล้วต้มให้เหลือ 100 ซี.ซี. แล้วแบ่งกิน 3 วัน วันละ 4 ครั้ง โดยทั่วไปแล้วหลังจาก 3 วันจะเห็นผล เด็กจะมีอาการไอลดลงและมีอาการดีขึ้น (ต้น)
8.ช่วยแก้อาการปวดหู ปวดฟัน (น้ำคั้นของต้น)
9.ช่วยหล่อลื่นลำไส้ (ทั้งต้น)
advertisement
10.ใช้แก้เด็กเป็นไข้สูง ด้วยการใช้ต้นสดตำพอกวันละ 2 ครั้ง (เข้าใจว่าตำพอกบริเวณศีรษะ)
11.ใช้แก้เด็กท้องร่วง ด้วยการใช้ยานี้สด 250-500 กรัม นำมาต้มกับน้ำใส่น้ำตาลพอประมาณ แล้วนำมาให้เด็กกินเรื่อย ๆ จนหมดใน 1 วัน โดยให้กินติดต่อกัน 2-3 วัน หรืออาจจะใช้ต้นสดนำมาล้างให้สะอาดผิงไฟให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผงกินครั้งละ 3 กรัม กับน้ำอุ่นก็ได้ วันละ 3 ครั้ง (ต้น)[ads]
12.ช่วยแก้บวมและรักษาแผลเน่าเปื่อยเป็นหนองเรื้อรัง ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำคั้นเอาน้ำมาต้ม เมื่อเย็นแล้วนำมาใช้ทาหรือใช้ยานี้นำมานึ่งแล้วตำพอกบริเวณที่เป็น (ต้น)
13.ใช้แก้ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ด้วยการใช้ต้นนี้ 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด เอาน้ำประมาณ 30 ซี.ซี. ผสมกับน้ำเย็นจนเป็น 100 ซี.ซี. ใส่น้ำตาลพอประมาณ ใช้รับประทานครั้งละ 100 ซี.ซี. วันละ 3 ครั้ง (ต้น)
14.เมล็ดใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (เมล็ด)
15.ใบใช้ตำพอกทาแก้ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อักเสบบวม ไฟลามทุ่ง (ใบ)
การเก็บมาใช้
ให้เก็บในระยะที่ใบและต้นเจริญงอกงามดีและกำลังออกดอก เช่น ในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว และให้เก็บในวันที่ไม่มีฝน โดยตัดมาทั้งต้น ล้างน้ำให้สะอาด ลวกน้ำร้อนแล้วรีบเอาขึ้นมาแช่ในน้ำเย็น เอาขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำไปตากแห้งบนเสื่อเก็บเอาไว้ใช้ หรือนำมานึ่งแล้วใช้ได้เลย หรือจะใช้สดเลยก็ได้
advertisement
วิธีและขนาดที่ใช้
ใช้ต้นแห้งหนัก 10-15 กรัม (ต้นสดหนัก 60-120 กรัม) ต้มเอาน้ำ หรือคั้นเอาน้ำกิน ใช้ภายนอก ผิงไฟให้แห้งแล้วบดเป็นผงผสมน้ำทา หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็นหรือจะต้มเอาน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นก็ได้
ข้อควรระวัง
– ผู้ป่วยโรคไตควรระมัดระวังในการใช้ เพราะใบสดของผักเบี้ยใหญ่มีกรดออกซาลิกสูง อีกทั้งยังมีปริมาณโพแทสเซียมสูง จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน
– สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
– คนธาตุอ่อนท้องเสียง่ายไม่ควรรับประทาน
– ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้ร่วมกับกระดองตะพาบน้ำ
ผักเบี้ยใหญ่ที่หลายๆคนคิดว่าเป็นวัชพืชนั้นมีประโยชน์และเป็นยาดีใกล้ตัวเลยก็ว่าได้เลยนะคะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com