ใช้หูฟังแบบผิดๆ ..เสี่ยงหูหนวกได้!!
advertisement
การใช้หูฟังเพื่อให้ได้ฟังเสียงเพลงดนตรีอย่างชัดเจน เป็นส่วนตัว และหูฟังก็มีมากมายหลายชนิด หลายแบบให้เลือกใช้งาน มีทั้งแบบสอดเข้าในหู (In-Ear), แบบครอบหู (Around-Ears) และแบบสวมแนบพอดีหู (On-Ear) และวันนี้ Kaijeaw.com ขอพูดถึงหูฟังแบบ In-Ear ที่นิยมใช้กันมากที่สุด นั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อหูได้ อย่างไรนั้น ตามมาดูเลยค่ะ
advertisement
สาเหตุที่หูฟังเป็นอันตรายต่อหู
การฟังเพลงติดต่อกันในระดับที่ดังมากเกินไปก็มีผลให้ประสาทหูเสื่อมได้ ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถในการรับรู้ไม่เท่ากัน และที่สำคัญกว่านั้นคือ เสียงที่ก่อให้เกิดอันตรายมากที่สุดคือ “เสียงย่านสูง” และเสียงที่ก่อให้เกิดอันตรายได้น้อยที่สุดคือ “เสียงย่านต่ำ” ดังนั้นในความเป็นจริง เราสามารถฟังเสียงย่านต่ำได้ดังกว่าและต่อเนื่องกว่าเสียงย่านสูงโดยที่มีอันตรายน้อยกว่า
[ads]
advertisement
อาการของประสาทหูผิดปกติที่พบบ่อย
– มีเสียงดังในหูซึ่งมักจะเป็นเสียงที่มีระดับความถี่สูง เช่น เสียงจิ้งหรีด เสียงจักจั่น
– อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย
– มีอาการมึนงง หรือยืนทรงตัวไม่ได้ เมื่อตื่นนอน
– หูอื้อจนทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร
*หากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกัน 2-3 วัน ขอแนะนำให้ไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาโดยด่วนที่สุด
ข้อควรปฏิบัติในการใช้หูฟังอย่างถูกวิธี
1. หลีกเลี่ยงการใช้หูฟัง ฟังเพลงในที่ที่มีเสียงดัง
2. ไม่ควรเสียบหูฟังฟังเพลงตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาเข้านอน
3. ควรเปิดเสียงที่ระดับไม่เกิน 40 -50 % หรือในระดับที่คิดว่าเสียงนั้นเบาพอดีและได้ยินชัดเจนแล้ว
4. ควรที่จะเปิดฟังเป็นเวลาที่ไม่นานเกิน 1 ชั่วโมงต่อครั้ง
5. การใช้หูฟังนั้นควรมีการหยุดพักบ้าง เพื่อให้ประสาทรับรับเสียงของหูได้หยุดพัก
6. ควรใช้หูฟังที่มีลักษณะที่ไม่ได้สอดเข้าในรูหูและแบบครอบทั้งใบหูก็ได้จะช่วยให้ลดอาการหูอื้อและหูตึงได้
7. งดการใช้หูฟังร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจติดเชื้อโรคได้
8. หมั่นทำความสะอาดหูฟังเป็นประจำเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคต่างๆ
advertisement
[yengo]
เทคนิคการดูแลหูให้มีสุขภาพดี
1. ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดบริเวณใบหูและรูหูเท่าที่นิ้วจะเช็ดเข้าไปได้
2. ไม่จำเป็นต้องปั่นหรือแคะขี้หูเพราะโดยธรรมหากขี้หูมีจำนวนมากจะเคลื่อนตัวหรือร่วงออกมาเอง แต่หากต้องการทำความสะอาดอาจใช้สำลีพันปลายไม้เช็ดเพียงหูชั้นนอกเท่านั้น และไม่ควรเช็ดเข้าไปลึกเกินครึ่งเซ็นติเมตร
3. ไม่ควรใช้ของมีคมหรือของแข็งจำพวกที่แคะหู หรือกิ๊บเสียบผมแคะหูหรือเขี่ยรูหู เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหู
4. ระวังอย่าให้หูถูกกระแทกอย่างรุนแรงเพราะอาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้
เพราะหูเป็นอวัยวะที่สำคัญ หากว่าได้รับอันตราย หูมีปัญหา ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธภาพ ดังนั้นจึงควรใส่ใจดูแลอย่างดี หากจำเป็นต้องใช้งานหูฟังก็ควรใช้อย่างพอเหมาะ ไม่ฟังเพลงที่ดังเกินไป นานเกินไป หลักการที่ง่ายๆ คือเสียงที่พอดี ฟังแล้วไม่รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ เพื่อสุขภาพหูของคุณที่ดีค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com