หญ้าหวาน..พืชมหัศจรรย์ รักษาโรค!!
advertisement
หญ้าหวานมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า Stevia อยู่ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลและปารากวัย
เป็นพืชที่ให้ความหวานโดยธรรมชาติ ใบหญ้าหวานสด สกัดด้วยน้ำได้สารหวานแห้งประมาณร้อยละหนึ่ง ซึ่งสารหวานนี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 150 – 300 เท่า แต่เป็นความหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส จึงไม่สลายตัวหรือเปลี่ยนสภาพจากความร้อนในการปรุงอาหาร และด้วยความที่มันมีคุณสมบัติพิเศษอย่างนี้ หญ้าหวานจึงเป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้รักสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยได้มีการนำไปใช้ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างเครื่องดื่ม ยาสมุนไพร และในด้านการแพทย์
[ads]
สำหรับในประเทศไทย มีการนำมาปลูกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมคือทางภาคเหนือ และบริเวณเขาใหญ่ หญ้าหวานเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ 30 – 90 เซนติเมตร ใบเดี่ยว รูปใบหอกกลับ ขอบใบหยัก มีดอกช่อสีขาว ลักษณะคล้ายต้นโหระพา หากมีการปลูกไว้ในบริเวณบ้านเป็นพืชผักสวนครัวจะมีประโยชน์มาก เพราะใบสดหรือตากแห้งต้มกับน้ำก็จะให้สารหวานใช้ปรุงอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างดี
advertisement
สรรพคุณของหญ้าหวาน
– ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 200-300 เท่าแต่ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ไม่ทำให้อ้วน
– ลดน้ำหนักในผู้ที่ต้องการลดความอ้วน เพราะหญ้าหวานไม่มีไขมัน และ 0 แคลลอรี่
– ลดไขมันในร่างกายและเส้นเลือด
– ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคววามดัน โรคไขมันในเส้นเลือดและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
– ใช้ในการทำขนม อาหาร แทนน้ำตาล
– เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจากธรรมชาติที่ไม่มีแคลลอรี่และพลังงานหรือน้ำตาล
– ช่วยบำรุงตับอ่อน
– ช่วยเพิ่มกำลัง
– สมานแผลทั้งภายในและภายนอก
– ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมอง
– ใช้ทดแทนเกลือแร่ในผู้ที่ขาดน้ำ
– รักษาอาการท้องร่วง
– ลดอาการบวมน้ำ
– ใช้ผสมกับเครื่องดื่มอื่นๆเพื่อทดแทนน้ำตาลและเพิ่มความหวานได้
advertisement
หญ้าหวาน สมุนไพรพิชิตเบาหวาน
แม้ว่าหญ้าหวานจะเป็นสมุนไพรที่ให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาล 300 เท่า แต่ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์เพราะระดับความหวานเหล่านั้นไม่ได้ทำให้ระดับน้ำตาลในเพิ่มสูงขึ้น แถมยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และบำรุงตับอ่อนได้อีกต่างหาก ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานไม่ต้องกลัวถึงผลข้างเคียงของหญ้าหวานกันแล้วล่ะค่ะ สามารถบริโภคหญ้าหวานได้อย่างแน่นอนค่ะ
หญ้าหวาน อันตรายหรือไม่ กินแล้วเป็นหมันจริงหรือ
มีรายงานระบุถึงความหน้าเป็นห่วงว่า ชาวปารากวัยกินหญ้าหวานทำให้คุมกำเนิดหรือลดอสุจิลง เป็นเรื่องที่สงสัย ทำให้ประเทศไทยใช้ประเด็นนี้อ้างไม่อนุญาตหญ้าหวานให้คนกิน จากรายงานต่างๆ ที่ประชุมได้สรุปข้อมูลจากรายงานต่างๆ แล้วยืนยันสารสกัดจากหญ้าหวาน คือสตีวิโอไซด์ เมื่อป้อนหนูถึง 3 ชั่วอายุ 3 รุ่น ไม่พบการก่อกลายพันธุ์, แต่อย่างใดยังคงขยายพันธุ์ได้ตามปกติ ญี่ปุ่นกลับไม่กลัวประเด็นนี้ใช้กันมา 17 ปี ไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดพิษแต่อย่างใด
advertisement
หญ้าหวานที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่น่าอัศจรรย์ คงจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับใครหลายๆคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย โรคเบาหวานหรือใครที่กำลังหนักใจเพราะชอบรสหวานแต่กลัวอ้วน ไข่เจียวแนะนำให้ใช้บริการหญ้าหวานได้เลยค่ะ เพราะมีจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายแล้วในประเทศไทย
เรียบเรียงโดย Kaijeaw.com , ไข่เจียว.com