ขมิ้นชัน..สมุนไพรเป็นยาดี ต้านสารพัดโรค!!
advertisement
ขมิ้นชันสีเหลือง ๆ เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยรู้จักนำมาใช้ประโยชน์กันนานแล้ว นอกจากเราจะรู้จักมันดีในฐานะสมุนไพรไทยใกล้ครัวแล้ว เจ้าขมิ้นสีเหลืองสดนี้ยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคมายาวนานกว่า 5,000 ปี และที่สำคัญการบริโภคขมิ้นชันก็ยังส่งผลดีกับสุขภาพของเราอีกด้วยล่ะ สงสัยกันแล้วใช่ไหมคะว่ามันมีประโยชน์อย่างไรกับสุขภาพของเราบ้าง
วันนี้ ไข่เจียว.com จะมาพูดถึงสรรพคุณทางยาเด็ด ๆ ของขมิ้นชันกัน พอจะรู้กันไหมเอ่ย ว่าขมิ้นชัน ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยอะไรได้บ้าง ถ้ายังนึกไม่ออก ตามไปรู้จักขมิ้นชันให้มากขึ้นกันดีกว่า
advertisement
[ads]
ชื่อเครื่องยา : ขมิ้นชัน
ชื่ออื่นๆของเครื่องยาได้จาก : เหง้าสด เหง้าแห้ง
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา : ขมิ้นชัน
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) : ขมิ้น(ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขี้มิ้น ตายอ สะยอ หมิ้น(ภาคใต้) ขมิ้นหัว(เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อพ้อง : Curcuma domestica Valeton
ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เหง้ารูปไข่ มีแง่งแขนงรูปทรงกระบอก หรือคล้ายนิ้วมือ ตรงหรือโค้งเล็กน้อย ยาว 4-7 เซนติเมตร กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร หนาประมาณ 1-1.8 เซนติเมตร ปลายทั้งสองข้างตัด สีภายนอกสีน้ำตาลถึงเหลืองเข้มๆ มีรอยย่นๆตามความยาวของแง่ง มีวงแหวนตามขวาง (leaf scars) บางทีมีแขนงเป็นปุ่มเล็กๆสั้นๆ หรือเห็นเป็นรอยแผลเป็นวงกลมที่ปุ่มนั้นถูกหักออกไป ผิวนอกสีเหลืองถึงสีเหลืองน้ำตาล สีภายในสีเหลืองเข้มหรือสีส้มปนน้ำตาล เป็นมัน แข็งและเหนียว เมื่อบดเป็นผงมีสีเหลืองทองหรือสีเหลืองส้มปนน้ำตาล กลิ่นหอมเฉพาะตัว รสขม ฝาด เฝื่อน เผ็ดเล็กน้อย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
advertisement
ใช้ภายใน(ยารับประทาน):
– ยาแคปซูลที่มีผงเหง้าขมิ้นชันแห้ง 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน อาจปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง
– เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว ขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาดตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง
ใช้ภายนอก:
– ใช้เหง้าขมิ้นชันแก่สดฝนกับน้ำสุก หรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรืออักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
– เหง้าแก่แห้ง บดเป็นผงละเอียด ทาบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน
– เหง้าแห้งบดเป็นผง นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด
– เหง้าแก่ 1 หัวแม่มือ ล้างสะอาดบดละเอียด เติมสารส้มเล็กน้อย และน้ำมันมะพร้าวพอแฉะๆใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลพุพอง ที่หนังศีรษะ
องค์ประกอบทางเคมี:
สารกลุ่มเคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) ประกอบด้วย เคอร์คิวมิน (curcumin), monodesmethoxycurcumin, bisdesmethoxycurcumin
น้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) มีสีเหลืองอ่อน สารหลักคือเทอร์เมอโรน (turmerone) 60%, ซิงจิเบอรีน (zingiberene) 25%, borneol, camphene, 1, 8 ciniole , sabinene, phellandrene
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
มีฤทธิ์ขับลม ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ กระตุ้นการหลั่งสารเมือกมาเคลือบ และยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยต่างๆ สมานแผลในกระเพาะอาหาร ต้านการอักเสบของลำไส้ใหญ่ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อบิดมีตัว ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อHelicobacter pylori ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ขับน้ำดี แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม รักษาอาการอุจจาระร่วง ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้และมดลูก ป้องกันการเกิดมะเร็งและต้านมะเร็ง ปกป้องตับ ต้านออกซิเดชั่น มีฤทธิ์ต้านการเกิดโรคความจำเสื่อม โดยมีผลป้องกันการถูกทำลายของเซลล์สมอง
การศึกษาทางคลินิก:
รักษาอาการท้องเสีย อาการแน่นจุกเสียด อาหารไม่ย่อย และลดกรด รักษาแผลในทางเดินอาหาร บรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากกระเพาะอาหารเป็นแผลได้ ลดการบีบตัวของลำไส้ รักษาสิว
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การศึกษาพิษเฉียบพลันของเหง้าขมิ้นชันในหนูถีบจักร พบว่าหนูที่ได้รับผงขมิ้นขันทางปากในขนาด 10กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่แสดงอาการพิษ และเมื่อให้สารสกัดของเหง้าขมิ้นชันด้วย 50%แอลกอฮอล์ โดยวิธีป้อนทางปาก ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และทางช่องท้องในขนาด 15 กรัม/กิโลกรัม พบว่าไม่ทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลันและหนูถีบจักรไม่ตาย ขนาดของสารสกัดทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เมื่อให้โดยวิธีดังกล่าว จึงมีค่ามากกว่า 15กรัม/กิโลกรัม
ข้อควรระวัง:
1. การใช้ขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไป จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
2. คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยา
3.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี และห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
วิธีนำขมิ้นชันไปใช้รักษาโรค
หากจะนำขมิ้นชันไปรับประทาน ให้นำขมิ้นชันไปล้างน้ำให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก แล้วหั่นเป็นแว่นชิ้นบาง ๆ นำไปตากแดดจัด ๆ 1-2 วัน แล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ ขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย นำมารับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน จะช่วยแก้อาการดังกล่าวได้ แต่หากใครรับประทานแล้วท้องเสีย หรือมีอาการจุกเสียดแน่นท้องให้หยุดยาทันที
นอกจากนี้ ยังสามารถนำเหง้าแก่สด ยาวประมาณ 2 นิ้ว มาขูดเปลือกออก นำไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำมารับประทาน ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง
สำหรับคนที่ซื้อขมิ้นชันแบบผงมารับประทานเอง ให้ใช้สูตรคือ ขมิ้นชันผง 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 แก้ว (ไม่เต็ม) แล้วรับประทาน ขมิ้นชันที่ไหลผ่านอวัยวะภายในต่าง ๆ สามารถบำรุงอวัยวะส่วนนั้นได้ด้วย คือ ผ่านลำคอ จะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ลำคอ, ผ่านปอดจะช่วยดูแลปอดให้หายใจได้ดีขึ้น, ผ่านม้ามจะช่วยลดไขมัน ไม่ให้น้ำเหลืองเสีย, ผ่านกระเพาะอาหารจะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร, ผ่านลำไส้จะช่วยสมานแผลในลำไส้ และผ่านตับก็จะช่วยบำรุงตับ ล้างไขมันในตับ
การใช้ขมิ้นชันเป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาอาการแพ้ แก้อักเสบ ผื่นแดง แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเหง้าขมิ้นยาวประมาณ 2 นิ้ว มาฝนกับน้ำต้มสุก แล้วทาในบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือจะใช้ผงขมิ้นโรยทาบริเวณที่มีอาการผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยก็ช่วยได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เคยมีการศึกษาพบว่า หากรับประทานขมิ้นชันตามเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ เปิดการทำงาน จะเกิดประสิทธิผลมากขึ้น เราก็เลยขอนำวิธีการรับประทานขมิ้นชันให้ได้ผลดีมาฝากกัน โดยควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้
-เวลา 03.00-05.00 น. เป็นเวลาของปอด การรับประทานขมิ้นชันในช่วงเวลานี้จะช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเร็งปอด ทำให้ปอดแข็งแรง และช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง
-เวลา 05.00-07.00 น. เป็นเวลาของลำไส้ใหญ่ จะช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ ซึ่งถ้าหากคุณเคยรับประทานยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้รับประทานขมิ้นชันเวลานี้ เพราะขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ แต่ต้องรับประทานเป็นประจำจึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้เป็นปกติ
นอกจากนี้ขมิ้นชันยังช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก และปัญหาลำไส้ใหญ่ขับถ่ายน้อยหรือมากจนเกินไปได้เช่นกัน แต่ถ้าหากลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้รับประทานขมิ้นชันพร้อมกับสูตรโยเกิร์ต นมสด น้ำผึ้ง มะนาวหรือน้ำอุ่นก็ได้ เพื่อช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็ก ๆ จำนวนกว่าล้านเส้น ซึ่งขมิ้นชันจะช่วยล้างบริเวณขนนี้ให้สะอาดโดยไม่ให้มีขยะตกค้างอยู่ที่ขน และเมื่อขนสะอาดจะทำให้ไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว ป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวารและโรคมะเร็งลำไส้ได้เช่นกัน
-เวลา 07.00-09.00 น. เป็นเวลาของกระเพาะอาหาร จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และยังลดอาการท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมองและป้องกันความจำเสื่อมได้
-เวลา 09.00-11.00 น. เป็นเวลาของม้าม ขมิ้นชันจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลที่ปาก อ้วนเกินไป และผอมเกินไปซึ่งเกี่ยวข้องกับม้าม นอกจากนี้ยังลดอาการของโรคเกาต์ ลดอาการเบาหวาน
-เวลา 11.00-13.00 น. เป็นเวลาของหัวใจ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หากทานขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง แต่ถ้าหากรับประทานขมิ้นชันเลยเวลา 11.00 น. ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับแล้วตับจะส่งมาที่ปอด ปอดจะส่งไปยังผิวหนัง (แต่ส่วนมากมักไปไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป อวัยวะส่วนอื่นจะดึงไปใช้งานก่อนเลยมาไม่ถึงผิวหนัง) จึงต้องลงขมิ้นชันทางผิวหนังช่วยอีกทางหนึ่ง
-เวลา 15.00-17.00 น. เป็นเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ขมิ้นชันจะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรรับประทานน้ำกระชายเวลานี้ จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้
นอกจากนี้ หากรับประทานขมิ้นชันเลยจากช่วงเวลานี้ไปจนถึงเวลานอน จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และเมื่อตื่นนอนตอนเช้าก็จะไม่ค่อยอ่อนเพลีย ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้นด้วย
ขมิ้นชัน กับการบำรุงผิวพรรณ
รู้จักสรรพคุณทางยากันไปแล้ว คราวนี้ขอเอาใจคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามกันบ้าง เชื่อว่า สาว ๆ ต้องเคยเห็นคนนำขมิ้นมาทาใบหน้า หรือตามผิวหนังหลังอาบน้ำแน่ ๆ เลย ซึ่งนั่นเป็นวิธีการบำรุงผิวอย่างหนึ่งค่ะ เพราะขมิ้นจะช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวลผ่องใสขึ้น แถมยังมีสรรพคุณป้องกันการงอกของขน ทำให้ผิวพรรณดูเกลี้ยงเกลาละเอียดเชียวล่ะ
สูตรพอกผิวด้วยขมิ้น
advertisement
[yengo]
ให้นำขมิ้นสดเล็กน้อยมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปปั่นรวมกับดินสอพอง 2-3 เม็ด ผสมกับน้ำมะนาว 1 ผล ปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำมาพอกหน้าที่ล้างสะอาดแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทันที่ที่ใช้จะรู้สึกได้เลยว่า ใบหน้าเต่งตึงขึ้น และถ้าใครทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง รับรองว่า ผิวหน้าจะสดใส ดูดีขึ้นแน่นอน
และนี่ก็คือสรรพคุณเด็ด ๆ ของขมิ้นชัน ที่จัดว่าเป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิด ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากเลยทีเดียว หวังว่าวันนนี้เพื่อนๆจะได้รับความรู้เรื่องขมิ้น กันไม่มากก็น้อยนะคะ แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำมาใช้เราควรศึกษาผลข้างเคียงให้ดี เพราะบางทีการนำสมุนไพรมาใช้โดยไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบของมันต่อสุขภาพก่อน แทนที่มันจะช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ หรือรักษาโรคได้ ก็อาจจะทำให้สุขภาพของเราแย่ลงได้ค่ะ
เรียบเรียงโดย : Kaijeaw.com