โรคคางทูมและวิธีป้องกัน
advertisement
โรคคางทูม เป็นโรคติดต่อ สาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อมัมส์ (Mumps) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus ทำให้ผู้ติดเชื้อมีการอักเสบของต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณขากรรไกรทั้งสองข้าง และหน้าใบหู ทำให้บริเวณคางบวม จึงได้ชื่อว่า “คางทูม” ส่วนใหญ่พบในเด็ก ถ้าเป็นผู้ชายอาจมีการอักเสบของอัณฑะ ในบางรายอาจทำให้เป็นหมันได้ ซึ่งอาจทำให้ลูกอัณฑะฝ่อ และมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งอัณฑะมากขึ้น
advertisement
การติดต่อของโรค
โรคนี้ติดต่อกันได้โดยตรงทางการหายใจและสัมผัสกับน้ำลายของผู้ป่วย เช่น การกินน้ำและอาหารโดยใช้ภาชนะร่วมกัน พบในเด็กได้ทุกอายุ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนได้บ่อยกว่าในเด็ก ระยะที่ติดต่อกันได้ง่ายคือ จาก 1-2 วัน (หรือถึง 7 วัน) ก่อนมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ไปจนถึง 5-9 วัน หลังจากมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ระยะฟักตัวของโรคคือ 16-18 วัน แต่อาจสั้นเพียง 12 วัน และนานถึง 25 วัน หลังสัมผัสโรค [ads]
advertisement
อาการของโรค
ส่วนมากจะเป็นในเด็กวัยเรียน ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ และอ่อนเพลียภายใน 12-24 ชั่วโมงต่อมา จะมีอาการปวดบริเวณข้างแก้มและใบหู อาการปวดเป็นมากขึ้นเวลาขยับขากรรไกร หรือเวลาที่รับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว ต่อมน้ำลายบริเวณขากรรไกรบวมและลามไปยังหลังใบหู ต่อมน้ำลายจะบวมมากขึ้นในเวลา 1-3 วัน ส่วนใหญ่มักเริ่มข้างเดียวก่อน แล้วเป็นที่ต่อมน้ำลายอีกข้างตามมา หลังจากนั้นอาการบวมจะค่อย ๆ ลดลงภายใน 3-7 วัน อาการต่าง ๆ จะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน [ads2]
advertisement
นอกจากนี้อาจพบอาการอักเสบของต่อมชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น ตับอ่อน เต้านม ต่อมธัยรอยด์ ท่อน้ำตา เส้นประสาทตา เป็นต้น มารดาที่ติดเชื้อในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะมีโอกาสแท้งมากขึ้น [ads3]
การรักษา
รักษาตามอาการ ให้ยาแก้ปวดเป็นครั้งคราว แยกผู้ป่วยจนถึง 9 วัน หลังเริ่มมีอาการบวมของต่อมน้ำลายการป้องกันและควบคุมโรคฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม ในรูปของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัต คางทูม หัดเยอรมัน (วัคซีน MMR) อย่างน้อย 2 ครั้ง กำหนดให้ฉัดครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน ส่วนเข็มที่สองให้ฉีดที่อายุ 2 ปีครึ่ง หลังได้รับวัคซีนดังกล่าว เด็กจะมีภูมิคุ้มคันต่อเชื้อไวรัสคางทูม หรือฉีดให้แก่เด็กวัยเรียนหรือวัยรุ่นที่ยังไม่เคยเป็นโรคคางทูม โรคนี้เป็นแล้วมักจะไม่เป็นอีกหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย Porraphat Jutrakul ขอขอบคุณที่มาจาก : คู่มือรู้ทันโรคและภัยสุขภาพสำหรับประชาชน โดยสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข