ยอบ้าน.. เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร !!
advertisement
ยอ เป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณทางยามากมาย สามารถบรรเทาและรักษาอาการของโรคต่างๆได้ ซึ่งอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการรักษาโรคต่างๆได้นะค่ะ เพราะยอมีสรรพคุณทางยาตั้งแต่รากยันใบเลยล่ะค่ะ และนอกจากมีสรรพคุณทางยาแล้ว ยังมีคุณค่าทางโภชนาการทางอาหารด้วยนะค่ะ ซึ่งได้มีผลวิจัยกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ ไข่เจียว.com จึงได้นำข้อมูลทั้งหมด มาให้ได้อ่านกันค่ะ
[ads]
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.
ชื่อสามัญ : Indian Mulberry
วงศ์ : Rubiaceae
ชื่ออื่น : ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ผลดิบ ผลสุก
advertisement
การใช้ประโยชน์ยอ
ต้นยอใช้ประโยชนได้ทั้งต้น ไม่ว่า ใบ ผล ลำต้น ดอก เมล็ด หรือราก แต่ดั้งเดิมมามีผู้นำยอไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ใบยอ
-ใบสด ใช้ห่อเนื้อและทำให้เนื้อมีรสยอ ใช้ทำอาหาร เช่น ห่อหมก ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงตัวหนอนไหม แก้แผลพุพอง รักษาอาการปวดศีรษะ หรือไข้
-ใบทำยาพอก รักษาโรคมาลาเรีย แก้ไข้ แก้ปวด รักษาวัณโรค อาการเคล็ดยอก แผลถลอกลึกๆ อาการปวดในข้อ แก้ไข้ แก้พิษจากการถูกปลาหินต่อย แก้กระดูกแตก กล้ามเนื้อแพลง
-น้ำสกัดใบยอ รักษาความดันโลหิตสูง เลือดออกที่เกิดจากกระดูกร้าว แก้ปวดท้อง เบาหวาน เบื้ออาหาร ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่องท้องบวม ไส้เลื่อน อาการขาดวิตามินเอ
advertisement
1.2 ผลยอ
-ไอระเหยจากลูกยอ ใช้รักษากุ้งยิง
-ลูกยอดิบ ใช้รักษาอาการเจ็บ หรือแผลตกสะเก็ดรอบปากหรือข้างในปาก
-ลูกยอสุก ใช้รับประทาน ลูกยอบดละเอียดใช้กลั้วคอแก้คอเจ็บ ลูกยอบดใช้ทาเท้าแก้เท้าแตก ใช้ทาผิวฆ่าเชื้อโรค หรือรับประทานเพื่อฆ่าพยาธิในร่างกาย รักษาบาดแผลและอาการบวม แก้ปากและเหงือกอักเสบ แก้ปวดฟัน กระตุ้นความอยากอาหารและสมอง ใช้ทำอาหารหมู
-ผลทำยาพอก ใช้แก้หัวสิว ตุ่ม ฝีฝักบัว แก้วัณโรค อาการเคล็ด แผลถลอกลึก โรคปวดในข้อ
-น้ำมัน น้ำมันสกัดจากลูกยอใช้แก้ปวดกระเพาะ
-น้ำสกัดลูกยอ แก้ความดันโลหิตสูง
advertisement
1.3 ลำต้นยอ
-เปลือกต้ม แก้โรคดีซ่าน
-น้ำสกัดต้นยอ แก้โรคความดันโลหิตสูง
1.4 เมล็ดยอ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดยอใช้รักษาเหาและป้องกันแมลง
1.5 ดอกยอ ใช้รักษากุ้งยิง
advertisement
1.6 รากยอ
-นำมาใช้แกะสลัก
-ทำรงควัตถุสีเหลือง
-น้ำคั้นจากราก ใช้แก้แผลที่อักเสบรุนแรง
1.7 ทุกส่วนของต้นยอ สามารถใช้ทำยาระบายท้อง
คุณค่าทางด้านอาหาร
ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงให้เห็นคุณค่าทางอาหารของลูกยอ (ในรูปผง) ดังตารางข้างล่างนี้
advertisement
advertisement
สารที่พบในลูกยอ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1.สารโพรเซอร์โคมี (Proxeronine) เมื่อรวมตัวกับเอนไซม์โพรเซอร์โอ เนส จะได้เป็นสารเซอร์โอนีน ที่ลำไส้ใหญ่และเมื่อดูดซึมกลับสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย จะช่วยปรับสภาพเซลล์ให้มีความสมดุล แข็งแรง และมีภูมิต้านทานที่ดีอีกทั้งยังช่วยซ่อมแซมและ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ และกระตุ้นให้เซลล์ใหม่เติบโตและทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดีซึ่งสารสำคัญนี้มี คุณสมบัติในการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและเนื้องอกได้
2.สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)มีหลากหลายชนิดซึ่งมีผลเสริมฤทธิ์กันในการขจัดอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
-สารไบโอฟลาโวนอยด์ มีประโยชน์ในการบรรเทาปวด และต้านอักเสบ ทำให้หลอดเลือด มีความแข็งแกร่งขึ้น เพิ่มการไหลเวียนของเลือด เสริมภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ช่วยให้ตับทำงาน มีประสิทธิภาพขึ้น ลดระดับโคเลสเตอรอล และบำรุงสายตา
-คาโรทีนอยด์ (Carotenoid) มีบทบาทสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ และพบว่าได้ประโยชน์ ใกล้เคียงกับสารไบโอฟลาโวนอยด์
advertisement
-วิตามินซี เป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการต้านการติดเชื้อไวรัส ช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งเป็นโครงสร้างของผิวหนัง กระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีผลลดระดับฮิสตามีน ซึ่งเป็นเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้
-วิตามินอี มีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะอุดตันของหลอดเลือดและช่วยบรรเทาอาการปวด ชา ลดความอันเลือดสูง ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
-ซีสเตอีน (Cysteine) ซึ่งมีบทบาทในการขจัดอนุมูลอิสระ และยังมีผลในการขจัดสารพิษ จากแอลกอฮอล์ บุหรี่ และมลพิษในอากาศต่างๆ
-ซีลีเนียม (Selenium) มีความสำคัญในการป้องกันความเสื่อมที่พบในเบาหวาน และมีบทบาทสูง ในการเสริมภูมิต้านทานโรค
3.สารสโคโปเลติน (Scopoletin) สาร ชนิดนี้จะมีคุณสมบัติช่วยให้เส้นเลือดขยายตัวจึงสามารถ ลดความดันโลหิตสูงกลับเป็นปกติได้และมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบประสาท อัตโนมัติรวมทั้งยังช่วยให้มี พลังงานและขจัดความรู้สึกอ่อนเพลียลง และยังช่วยต้านการอักเสบที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อช่วยให้อาการอักเสบ ดีขึ้น มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีนมีฤทธิ์รักษาโรคภูมิแพ้ ยอยังช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์ในร่างกายให้เป็นปกติ และสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลที่เสื่อมแล้ว
4.กรดอะมิโน เป็น สารสำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างร่างกาย มนุษย์ เพราะโปรตีนมีหน้าที่ในการสร้างกล้ามเนื้อ ผิวหนัง เอ็น เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ต่อมไร้ท่อ เล็บ ผม และกระดูก นอกจากนี้ ยังมีส่วนในการสังเคราะห์ฮอร์โมน เอนไซม์ และยีนส์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของพันธุกรรม
5.วิตามินและเกลือแร่ มีหลากหลาย ชนิด เช่น แมกนีเซียมมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของ เอนไซม์ และช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมและโพแทสเซียม และยังพบธาตุเหล็กซึ่งจะช่วยในการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงทั่วร่าง กาย
6.สารอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ลูกยอยังประกอบด้วยสารสำคัญอีกกว่า 100 ชนิด เช่น แอนทราควิโนน (Antraquinone) ที่ช่วยควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบและฆ่าเชื้อโรคต่างๆ อีกทั้งยังมี การวิจัยพบว่า สามารถป้องกันโรคหัวใจและโรคบิดได้
advertisement
อาหารจานอร่อยจากใบยอ
ส่วนของต้นยอที่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารก็คือใบอ่อน โดยอาจลวกใบหรือต้มให้สุก แล้วกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือใช้ใบยอเป็นผักรองก้นกระทงห่อหมก ทำเป็นแกง อ่อม แกงเผ็ด ร่วมกับเนื้อสัตว์ต่างๆ ส่วนผลห่ามหรือผลแก่จัดสีเขียว ชาวอีสานจะนำมาทำเป็นส้มตำแทนมะละกอ ว่ากันว่าอร่อยไม่แพ้ "ตำบักหุ่ง" เลยทีเดียว
ยอเป็นไม้ที่ขึ้นและเติบโตได้เองตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น การนำใบและผลยอมาปรุงเป็นอาหารจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค ที่สามารถกินได้อย่างสนิทใจ ขณะเดียวกัน ยอก็มีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายหลายชนิด อาทิเช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี ๑ วิตามินบี ๒ วิตามินซี ไนอาซีน และโปรตีน เป็นต้น
โดยเฉพาะแคลเซียมมีมากถึง๔๖๙ มิลลิกรัม ในใบยอ ๑๐๐ กรัมเรียกว่ากินใบยอสุกประมาณ ๒ ช้อน กินข้าวพูนๆ ร่างกายก็ได้รับแคลเซียม ถึงครึ่งหนึ่งของความต้องการ ในแต่ละวันแล้ว (คนทั่วไปควรได้รับแคลเซียมวันละ๘๐๐ มิลลิกรัม) และถึงแม้ว่าแคลเซียมในผักจะถูกดูดซึมไปใช้ได้ไม่ดีเท่ากับแคลเซียมจากเนื้อสัตว์ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้น้อยไปกว่ากันมากนัก แถมราคายังถูกกว่าด้วย ส่วนที่เหลือก็เก็บเล็กผสมน้อยเอาจากอาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งถ้าหากเลือกกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ทุกมื้อ รับรองว่าจะไม่ขาดแคลเซียม (ไปบำรุงกระดูก) แน่นอน
ข้อควรระวังในการใช้ยอ
น้ำลูกยอนั้นมี ธาตุโพแทสเซียมสูงมากประมาณ 56 meq/L เช่นเดียวกับน้ำมะเขือเทศ และน้ำส้ม ผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง จึงไม่ควรรับประทาน เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์เพราะจะมีผลโดยตรงต่อระบบการหมุนเวียน โลหิตในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้แท้งได้ และจากผลการทดสอบความเป็นพิษ ดังนั้นในการเลือกใช้สมุนไพรที่เหมาะสม และหากใช้ในรูปแบบของยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ควรพิจารณาถึงผู้ผลิตว่าจะมีมาตรฐานพอเพียงหรือไม่ และควรใช้ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมแก่ร่างกาย
[yengo]
advertisement
โดยสรุปแล้ว ลูกยอ เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ มีวิตามินซี โปตัสเซียม วิตามิน เอ สูง มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยชะลอการแก่และต้านมะเร็ง โดยหลักการแล้วน่าจะป้องกันมะเร็งได้บ้าง เหมือนกับการทานผักผลไม้สดทั้งหลาย ตัวน้ำลูกยอมีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งชนิด Lewis lung carcinoma แต่มะเร็งชนิดนี้พบได้น้อยมาก การทานน้ำลูกยอไม่มีอันตรายเว้นผู้ป่วยโรคไต และเป็นไปได้ว่าลูกยอไทย อาจจะไม่ต่างหรืออาจะดีกว่าหรือด้อยกว่าของต่างประเทศก็ได้ แต่เป็นพันธ์เดียวกัน
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ ได้รู้จักกับประวัติอันยาวนานของยอในการรักษาโรคแล้ว ก็น่าจะเป็นเหตุผลว่ายอสามารถรักษาโรคบางโรคได้ แต่ความแน่ชัดในเชิงวิทยาศาสตร์ก็ยังต้องรอการพิสูจน์ในวันข้างหน้านะค่ะ ยอจึงเป็นทางหนึ่งของการรักษาโรค ดังคำโบราณว่า “ลางเนื้อชอบลางยา” ซึ่งขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของหมอผู้รักษาและคนไข้ด้วยนะค่ะ
เรียบเรียงโดย:kaijeaw.com