‘จอก’ วัชพืชมากคุณค่า!!
advertisement
เมื่อพูดถึง “จอก”หลายคนคงจะคิดว่าเป็นแค่พืชไร้ค่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแถมยังรกแม่น้ำ หนองคลองบึง หารู้ไม่ว่า “จอก” นำมาปลูกเป็นไม้ประดับสวยงามได้ บางคนนำมาประดับบ่อปลา เพราะจอกเป็นพืชที่มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีใบเรียงกันเป็นระเบียบดูสวยงาม แต่เดี๋ยวนี้มีข้อห้าม ห้ามปล่อยจอกลงแม่น้ำ หนอง คลองบึง เด็ดขาด เนื่องจาก จอกมีการขยายพันธ์อย่างรวดเร็ว เพราะอาจจะทำลายความสมดุลของแหล่งน้ำและสิ่งมีชีวิตในน้ำได้ค่ะ
วันนี้ ไข่เจียว จะพาทุกคนไปรู้จัก สรรพคุณของ"จอก"ที่บางคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อนค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามารู้จัก"จอก"กันค่ะ
advertisement
จอก ( PISTIA STRATIOTES L)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pistia stratiotes L.
ชื่อวงศ์ : ARACEAE
ชื่ออื่นๆ : ผักกอก (เชียงใหม่) กากอก (ภาคเหนือ) ไต่ผู้เฟี้ย (จีน-แต้จิ๋ว) ต้าฝูผิง (จีนกลาง)
ลักษณะของจอก
ต้น : จอกเป็นพืชน้ำ เจริญเติบโตอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นอวบ มีรากเป็นกระจุก ใบเดี่ยวสีเขียวสด บางครั้งมีสีออกเหลือง
ใบ : เรียงเป็นวงเหมือนรูปถ้วย โคนใบนูนออกทางด้านหลัง ปลายใบมนและบานออกคล้ายใบพัดยาว มีขนนุ่มปกคลุมใบทั้งสองด้าน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ส่วนกลางของต้นหรือที่โคนต้น มีกาบห่อหุ้มดอกอยู่ 2-3 อัน มีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน
ผล : ลักษณะผลเป็นแผ่นบาง ภายในมี 2-3 เมล็ด เปลือกเมล็ดมีรอยย่น
การเพาะปลูก : นิยมเอาจอกมาปลูกในกระถางน้ำ โอ่งน้ำ พร้อมกับเลี้ยงปลาเพื่อให้กินลูกน้ำ ตกแต่งในบริเวณบ้านให้สวยงาม มีบรรยากาศธรรมชาติ เชื่อว่าน้ำในกระถางจะช่วยให้บ้านเย็น
ขยายพันธุ์ : ด้วยไหล หรือแตกต้นอ่อนตามใบ รวมทั้งอาศัยเมล็ด พบในนาข้าว ทางระบายน้ำ คลอง และที่น้ำขังโดยทั่วไป
advertisement
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ
สรรพคุณทางสมุนไพร
ตามตำรายาไทย
-นำใบสดผสมกับน้ำตาลกรวดดำ อุ่นให้ร้อนใช้พอกบริเวณที่ได้รับการกระทบกระเทือน หรือฟกช้ำ
– ใช้ทั้งต้นรวมรากแบบสดหรือตากแห้ง จำนวนตามต้องการ ต้มกับน้ำท่วมยามากหน่อยจนเดือด 10-15 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้เป็นยาขับปัสสาวะดีมาก
ตำรายาพื้นบ้านภาคอีสาน
– ใช้ทั้งต้นรวมรากแบบสดหรือตากแห้ง จำนวนตามต้องการ ต้มกับน้ำท่วมยามากหน่อยจนเดือด 10-15 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้เป็นยาขับปัสสาวะดีมาก
advertisement
ข้อควรระวัง
-รากมีพิษเล็กน้อย เวลาที่เรานำใบมาต้มควรจะล้างให้สะอาดและตัดรากออกให้หมด
-สตรีที่ตั้งครรภ์ห้ามรับประทาน
-จอกเป็นพรรณไม้ที่ดูดสารมีพิษได้ดีมาก ฉะนั้น–ถ้าขึ้นอยู่ในท้องน้ำที่เป็นพิษ หรือต้นมีรสขมอย่านำมารับประทานเป็นอันขาด
-น้ำยางจากต้นและใบ มีสารแคลเซียม ออกซาเลต ทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง อักเสบ ปวด เป็นปื้นแดง
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com
อ้างอิงข้อมูลจาก/ References:
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “จอก” (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 220-221.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (ออนไลน์ ) เข้าถึงได้จาก thairath.co.th
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์(ออนไลน์ ) เข้าถึงได้จาก qsbg.org