นายกวิศวกรรม คาดสาเหตุหอพักทรุด เช็กสภาพแล้วต้องทุบทิ้ง
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/08/หอพัก-1-3-1024x512.jpg)
advertisement
จากกรณีที่เกิดเหตุ หอพัก 3 ชั้น ทรุดตัว จำนวน 30 ห้อง ใน ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร จนทำให้ผู้พักอาศัยในหอพักนั้นต้องหนีเพื่อเอาชีวิตรอด และทาง อบต.พันท้ายนรสิงห์ ได้ปิดพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อันตราย
advertisement
![หอพัก-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/08/หอพัก-1-2.jpg)
โดยล่าสุด ผู้รับเหมาก่อสร้าง ชี้แจงว่า อาคารก่อสร้าง 3 ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้เสาเข็มไอ 26 ยาว 21 เมตร คานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กตามแบบ ซึ่งทำตามแบบทุกอย่าง คาดว่าสาเหตุเกิดจากด้านหลังอาคารเป็นบ่อน้ำ ทำให้โครงการเกิดการบิดตัวช่วงมุมอาคาร จนอาคารหลุดจากหัวเสาเข็มทุกอัน ผู้รับเหมายืนยันว่า ที่ผ่านมาก่อสร้างอาคารลักษณะนี้มาแล้วหลายร้อยหลัง แต่ไม่มีหลังไหนชิดริมน้ำเหมือนหลังนี้
สอดคล้องกับนายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ตรวจสอบแล้วสันนิษฐานว่า เกิดจากการที่อยู่ริมน้ำ เมื่อน้ำลดน้ำเพิ่ม ทำให้ดินเกิดการเลื่อนไหล จนถึงจุดวิกฤติที่เกิดการทรุดตัว และจากการติดแถบวัดระดับที่ตัวอาคาร และตั้งกล้องวัดค่าการเคลื่อนตัว พบว่า ยังอยู่ในระยะปลอดภัย จึงอนุญาตให้เจ้าของห้องเข้าไปเก็บทรัพย์สินในห้องได้ โดยมีทีมกู้ภัยเข้าไปด้วย [ads]
นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ลงพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อตรวจสอบและหารือกับนายก อบต.พันท้ายนรสิงห์ ถึงแนวทางแก้ไข และเยียวยาผู้เข้าพักกว่า 50 คน ที่เดือดร้อน หากมีการฟ้องร้อง ระหว่างเจ้าของหอพักผู้เช่า รวมถึงผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละฝ่าย
advertisement
![หอพัก-2](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/08/หอพัก-2.jpg)
ขณะที่ รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจาย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก อธิบายไว้เพิ่มเติม เมื่อวิเคราะห์จาก Google Earth เเละรูปถ่าย พบว่า พื้นที่เดิมก่อนจะมีหอพักคือ นากุ้ง น่าจะมีการถมดินลงไปในบ่อ แล้วตอกเสาเข็ม สร้างเป็นหอพัก ซึ่งชั้นดินที่ตั้งหอ อยู่ในพื้นที่ดินอ่อนที่มีความหนามาก
ถ้าเสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ เพราะปลายไม่ถึงชั้นดินเเข็ง หอพักต้องมีอาการทรุดตัว ตั้งเเต่หลังการก่อสร้าง แต่ผ่านมา 5 ปีแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเกิดจากการกัดกร่อนใต้อาคาร เเละค่อยๆ ลดความสามารถในการรับน้ำหนักลง จนถึงจุดวิบัติ หรือว่าเสาเข็มเยื้องศูนย์ทั้งเเถว แต่ตอม่อยังรับน้ำหนักได้ เเต่ก็เริ่มเเตกร้าวจนทรุด
นอกจากนี้ อีกกรณีนี้หนึ่งอาจเกิดจากพื้นที่เป็นดินอ่อนมาก เเบบชายเลน หรือนากุ้งเก่า พอถมดินเเล้วตอกเข็มเลย ดินจะทรุดตัวเเล้วฉุดเข็มลง หรือดินที่ถมหลังหอด้านที่ติดกับบ่อ เกิดการสไลด์ทำให้เข็มหลุดฐาน ซึ่งกรณีนี้ต้องเกิดจากการสั่นสะเทือน หรือน้ำในบ่อลดลง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งหมด
ขอขอบคุณที่มาจาก : thaipbs.or.th