อ.จุฬาฯ ชี้เด็กไทยกำลังแย่ หลังเด็ก ม.6 สอบมาราธอน 25 วิชา
advertisement
ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้ออกมาเผยให้เห็นถึงปัญหาของการสอบ Gat Pat ครั้งล่าสุด ที่ตอนนี้ เด็ก ๆ ที่ต้องการจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2564 ต้องสอบแบบยาวนานมาราธอนเป็นสัปดาห์ ไล่ตั้งแต่สอบปลายภาค Gat Pat กสพท. และสอบ 9 วิชาสามัญ รวมแล้วกินเวลายาวนานเป็นสัปดาห์ โดยจากโพสต์นั้นได้ระบุว่า
advertisement
มีผู้ใหญ่จำนวนมากไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าเด็ก ๆ ม.๖ ที่กำลังออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้เลื่อนสอบนี่ต้องสอบอะไรบ้าง
– สัปดาห์นี้ (๑๕-๑๙ มี.ค.) สอบปลายภาคของ รร. ๘ สาระการเรียนรู้ ทั้งวิชาหลัก วิชาเพิ่มเติม ขั้นต่ำก็ ๑๒-๑๕ รายวิชา
– เสาร์ที่ ๒๐ ถึงอังคารที่ ๒๓ มี.ค. สอบ GAT ที่มีส่วนที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และสอบ PAT สำหรับการยื่นเข้าคณะต่าง ๆ ขั้นต่ำสอบกันอย่างน้อยคนละ ๒-๓ วิชา ขึ้นอยู่กับคณะที่เลือกจะยื่นว่าต้องใช้วิชาอะไรบ้าง
– เสาร์ที่ ๒๗ และจันทร์ที่ ๒๙ มี.ค. สอบวัดผลระดับชาติ O-Net ๕ รายวิชา เพื่อนำผลไปใช้ยื่น TCAS 4 ที่ตอนนี้เอามารวบกับ TCAS 3
– เสาร์ที่ ๓ และอาทิตย์ที่ ๔ เม.ย. สอบ ๙ วิชาสามัญ ขั้นต่ำก็ราว ๔-๕ วิชา เพื่อนำคะแนนส่วนนี้ไปประกอบกับ GAT/PAT ยื่นรับ TCAS 3
– สำหรับคนที่จะเข้าคณะแพทยศาสตร์ และสายวิทยาศาสตร์สุขภาพอีกจำนวนหนึ่ง ยังมีสอบ กสพท. วันที่ ๑๐ เม.ย.[ads]
– ในกรณียื่นตรงบางมหาวิทยาลัยมีกำหนดให้สอบวิชาเฉพาะต่างหากอีกในช่วงโค้งสุดท้าย ระหว่าง ๖-๑๐ เม.ย.
ในปีการศึกษาทั่วไป จะมีการจัดสอบทยอยไล่ไปตั้งแต่ช่วงปลาย ก.พ.ไปสิ้นสุดราว ต้น เม.ย. แต่ปีนี้ที่มีการเลื่อนเปิดเทอม แต่กลับไม่ขยับกรอบเวลาสอบให้เด็ก ๆ ทุกอย่างจึงมากระจุกกันอยู่ที่ระหว่างวันที่ ๑๕ มี.ค. (รร.ส่วนใหญ่สอบปลายภาคกันในสัปดาห์นี้) จนถึง ๑๐ เม.ย. ผู้ใหญ่ทุกคนที่เคยผ่านการเป็นเด็ก เคยเป็นนักเรียน เคยสอบ ลองถามตัวเองดูว่า การที่ต้องตะลุยสอบ ๒๕-๓๕ วิชาในช่วงเวลายาวนาน ๑๙-๒๖ วันนี่คืออะไร ที่สำคัญ การสอบ O-Net GAT/PAT ๙วิชาสามัญ และข้อสอบรับตรงนี่คือการกำหนดตัดสินไปเลยว่าจะได้เรียนคณะ/สาขาอะไรต่อ มีเหตุผลอะไรที่ผู้ใหญ่ที่กำหนดนโยบายจะดื้อดึงไม่รับฟังเสียงสะท้อนของเด็ก ๆ ที่เรียกร้องมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา จนวันนี้ต้องลุยสอบปลายภาคของโรงเรียน และ อีก ๔ วันจะต้องตะลุยสอบ GAT/PAT ไม่มีลูกมีหลาน หรือน้องที่กำลังเรียน ม.๖ อย่างน้อยก็ให้นึกถึงว่าตัวเองเคยเป็นเด็ก ม.๖ มา มันเป็นเรื่องที่ make sense แล้วหรือที่ผู้ใหญ่จะดึงดันจะใช้กรอบเวลาและแผนที่ปรับไว้เมื่อหลายเดือนก่อน โดยไม่ได้คำนึงเลยว่า ธ.ค.๖๓ จนถึงปลาย ก.พ.๖๔ นี่ มี COVID-19 ระบาดระลอก ๒ รร.ต้องปิดฉุกเฉิน เด็กทุกคนต้องเจอเรียนออนไลน์ เรียนได้กะพร่องกะแพร่ง ปั่นงานส่งครูกันทุกวัน ไม่เป็นอันอ่านหนังสือสอบ และสองวันมานี้ก็มีสัญญานการระบาดคลัสเตอร์ใหม่ที่มีแนวโน้มจะเป็นวงกว้าง ๓-๕ จังหวัด
advertisement
ท่านก็ยังดึงดันจะจัดการสอบที่นักเรียนราว ๒๐๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ คนต้องเดินทางเคลื่อนย้ายข้ามเขตพื้นที่ และจังหวัดเพื่อไปสนามสอบที่ไม่ได้กระจายตัวใกล้บ้านที่เด็ก ๆ อยู่ อะไรคือเหตุผลที่รับฟังได้บ้างสำหรับการนี้? คุณครู พ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้ใหญ่ทุกคน ท่านจะไม่เคียงข้างเด็ก ๆ จะปล่อยให้พวกเขาอ่านหนังสือสอบ ๒๕-๓๕ วิชาไป เรียกร้องไปกันลำพังได้เชียวหรือ น้องนุ่งลูกหลานผู้เป็นอนาคตของพวกเราทั้งนั้นมิใช่หรือ #เลื่อนสอบให้อนาคตของชาติday4
จากความคิดเห็น
advertisement
สงสารเด็ก
advertisement
ทั้งนี้ ได้มีคนเข้ามาคอมเมนต์กันมากมาย หลายคนรู้สึกเห็นใจกับสถานการณ์ที่นักเรียน ม.6 ต้องเผชิญในตอนนี้ รวมทั้งหลายคนบอกว่ามันเป็นการกดดันเกินไปหรือเปล่า
ขอขอบคุณที่มาจาก : Athapol Anunthavorasakul